สัมมนา นโยบายเศรษฐกิจและตลาดทุนไทยภายใต้รัฐบาลหลังเลือกตั้ง
เมื่อวันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2562 เวลา 13.30-16.30 น.
ณ หอประชุมศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย ชั้น 7 อาคาร B
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
จัดโดย สภาธุรกิจ ตลาดทุนไทย
…………………………………………………..
แถวหน้าจาก 7 พรรคการเมือง ขึ้นเวทีโชว์วิสัยทัศน์นำนาวาเศรษฐกิจและตลาดทุนไทยไปทิศทางใดหลังเลือกตั้ง ในเวลาที่เศรษฐกิจและตลาดทุนไทยกำลังเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจโลกผันผวน สังคมไทยเดินหน้าสู่สังคมสูงวัย และคนไทยมีเงินออมน้อย
หลังมีการประกาศวันเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ ก็ถึงเวลาที่แต่ละพรรคการเมืองจะต้องออกมาแสดงวิสัยทัศน์และนโยบายของพรรคเพื่อหาเสียงอย่างเต็มตัว ในงานสัมมนาหัวข้อง ‘นโยบายเศรษฐกิจและตลาดทุนไทยภายใต้รัฐบาลหลังการเลือกตั้ง’ จัดโดยสภาธุรกิจตลาดทุนไทย หรือ FETCO
นับเป็นครั้งแรกๆ ที่ตัวแทนจาก 7 พรรคการเมือง หัวขบวนด้านเศรษฐกิจมานั่งอยู่ร่วมกัน และโชว์วิสัยทัศน์ด้านเศรษฐกิจ-ตลาดทุน โดยมี ‘ไพบูลย์ นลินทรางกูร’ ประธานกรรมการ FETCO เป็นผู้ดำเนินรายการ
ส่วนตัวแทนจาก 7 พรรคการเมือง ประกอบด้วย สัมพันธ์ แป้นพัฒน์ รองหัวหน้า พรรคชาติไทยพัฒนา, สุวัจน์ ลิปตพัลลภ ประธานที่ปรึกษา พรรคชาติพัฒนา, พิชัย นริพทะพันธุ์ คณะทำงานเศรษฐกิจ พรรคไทยรักษาชาติ, กรณ์ จาติกวณิช ประธานกรรมการคณะนโยบายพรรคประชาธิปัตย์, อุตตม สาวนายน หัวหน้า พรรคพลังประชารัฐ, กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองหัวหน้า พรรคเพื่อไทย และ อนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย
เศรษฐกิจไทยใน 4 ปีข้างหน้า หากอนาคตตกอยู่ในมือแต่ละพรรค
เมื่อแต่ละพรรคต้องตอบว่าพรรคของตนมองอนาคตเศรษฐกิจและตลาดทุนประเทศไทยในอีก 4 ปีข้างหน้าอย่างไรบ้าง พร้อมนำเสนอนโยบายที่จะมาช่วยสนับสนุนภาพการคาดการณ์เหล่านั้น คำตอบจากทั้ง 7 พรรคมีทั้งความเหมือนที่ทับซ้อนกันและความต่างที่ห่างไกลกัน
สำหรับพรรคชาติไทยพัฒนา ‘สัมพันธ์ แป้นพัฒน์’ กล่าวว่า ประเด็นที่มองเห็นเป็นหลักชัยว่าต้องเอาชนะให้ได้คือการลดความเหลื่อมล้ำ สำหรับผู้ที่มีรายได้ปานกลางจนถึงต่ำและผู้ที่มีรายได้สูง ในสัดส่วนของผู้ที่ประสบปัญหากับความเหลื่อมล้ำนั้น แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ เกษตรกร มนุษย์เงินเดือน และผู้สูงอายุ
จึงต้องการย้ำว่า อยากให้ตลาดทุนกลายเป็นแหล่งทุนของประชาชนทุกภาคส่วน ไม่ใช่ติดกับแนวคิดเดิมว่าตลาดทุนเป็นของคนรวยเท่านั้น
….
-
มพันธ์ แป้นพัฒน์ รองหัวหน้า พรรคชาติไทยพัฒนา
ด้านนโยบายที่มาสอดรับสนับสนุนกับภาพในอนาคตสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนมหภาค โดยเน้นที่ 3 ปัจจัยคือ (1) ลดต้นทุนการผลิต (2) กระตุ้นภาคการท่องเที่ยว (3) แก้ปัญหาความล้มเหลวของระบบการศึกษาไทย
ขณะที่ส่วนจุลภาค จะเน้นไปที่การสนับสนุนให้ตลาดทุนเปิดรับธุรกิจเกษตรให้เข้ามาระดมทุนในระบบ รวมถึงการเพิ่มการสนับสนุนผู้ประกอบการโรงแรมเดี่ยวๆ ที่มีคนไทยเป็นเจ้าของ
….
-
สุวัจน์ ลิปตพัลลภ ประธานที่ปรึกษา พรรคชาติพัฒนา
ขณะที่ ‘สุวัจน์ ลิปตพัลลภ’ ประธานที่ปรึกษา พรรคชาติพัฒนา บอกว่าแนวทางด้านเศรษฐกิจและตลาดทุนของพรรคมี 3 ประการคือ (1) ด้านมหภาค เน้นการสร้างภูมิคุ้มกันจากปัจจัยทั้งภายนอกและภายในประเทศ (2) แก้ปัญหาคาราคาซังของรากหญ้าไทย โดยเฉพาะในภาคเกษตรกรรมรวมถึงภาควิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (3) ขยายตลาดทุนทั้งในแง่ของปริมาณและคุณภาพ
ส่วนนโยบายก็มี 3 ประการหลักเช่นกัน สำหรับประการแรกในการช่วยเหลือรากหญ้า จะให้ความสำคัญแก่ภาคเกษตรโดยนำเสนอการจัดโซนทำเกษตรกรรม ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน และพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรให้มีมูลค่าสูงขึ้น ด้วยงานวิจัยและเทคโนโลยี อีกด้านหนึ่งคือภาคการท่องเที่ยวที่พรรคมองว่าจะเข้ามามีส่วนสำคัญในการกระจายรายได้ของประชาชนอย่างทั่วถึง
ประการที่สองคือการแก้ปัญหาความยากจนในภาคอีสาน โดยพรรคมองว่าด้วยปัจจัยทางภูมิศาสตร์ แท้จริงแล้วภาคอีสานมีศักยภาพในการเชื่อมต่อกับต่างประเทศอีกมากเช่น การเชื่อมต่ออินโดจีน หรือ เส้นทางสายไหมใหม่ หากมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมต่อระบบการขนส่งเหล่านี้ ภาคอีสานจะกลายเป็นแหล่งพัฒนาเศรษฐกิจไทยใหม่
ประการสุดท้ายคือการก้าวให้ทันเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาชาติ สุวัจน์ทิ้งทายว่าสำหรับตลาดทุน ธรรมาภิบาล การเข้าถึง และการเปิดกว้างคือคำตอบสำหรับการพัฒนา
….
-
ชัย นริพทะพันธุ์ คณะทำงานเศรษฐกิจ พรรคไทยรักษาชาติ
‘พิชัย นริพทะพันธุ์’ คณะทำงานเศรษฐกิจ พรรคไทยรักษาชาติ กล่าวว่า การรับมือกับปัญหาต่างๆ ทั้งการเข้ามาแทรกแซงของเทคโนโลยี ปัญหาภายใน และความฝันที่จะเป็นศูนย์กลางของอาเซียนคือสิ่งที่พรรคไทยรักษาชาติอยากจะนำพาประเทศไทยไป สำหรับแนวทางการดำเนินนโยบายจะเน้นไปที่ภาคบริการ โดยมีความพยายามในการถ่ายคนจากภาคเกษตรและอุตสาหกรรมมายังภาคบริการมากขึ้น และเตรียมพร้อมในการเจรจากับต่างประเทศในด้านการค้า รวมทั้งเข้ามาดูแลนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย
“ประเทศไทยยังปรับตัวเรื่อง(เทคโนโลยี)น้อย เห็นเป็นเรื่องไกลตัว ถ้าเราไม่สามารถปรับตัวรับทัน ก็จะเป็นปัญหาของประเทศได้ ผมอยากเห็นการปรับตัวเพราะไทยเราล่าช้ามานาน” พิชัยกล่าว
ส่วน ‘กรณ์ จาติกวณิช’ ประธานกรรมการคณะนโยบายพรรคประชาธิปัตย์ นำเสนอ 5 ประเด็นที่พรรคประชาธิปัตย์ มองสำหรับตลาดทุนคือ (1) เพิ่มดัชนีตลาดหุ้นให้ขึ้นมาอยู่ที่ 2,500 จุด (2) เพิ่มสัดส่วนบริษัทจดทะเบียนที่มีการค้ากับต่างประเทศ (3) เพิ่มสัดส่วนบริษัทด้านเทคโนโลยี (4) เพิ่มศักยภาพบริษัททั่วไปที่ไม่ได้มีการผูกขาดตลาด (5) สนับสนุนเทคโนโลยีด้านฟินเทค
สำหรับมุมมองต่อเศรษฐกิจไทยในอีก 4 ปีข้างหน้า เขาย้ำว่า ต้องขยายตัวดี มีกฏกติกาชัดเจน การพัฒนาลงไปถึงระดับครัวเรือน และย้ำถึงการทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม)
…..
“ในภาพรวม เราจะต้องเป็นเศรษฐกิจที่ทำตัวให้เป็นศูนย์กลางของซีแอลเอ็มวีให้ได้ เพราะนั่นคือโอกาสและจุดแข็งของประเทศ” กรณ์ กล่าว
ดังนั้น พรรคประชาธิปัตย์จึงเลือกใช้สโลแกน ‘แก้จน สร้างคน สร้างชาติ’ เป็นแนวทางหลักในการดำเนินนโยบาย โดยเริ่มจากการประกันรายได้ทั้งในภาคเกษตรที่ประชาธิปัตย์เคยทำสมัยเป็นรัฐบาล แต่ครั้งนี้จะเพิ่มการประกันรายได้เข้าไปสำหรับผู้ใช้แรงงานด้วย โดยตั้งตัวเลขรายได้ไว้ที่ 120,000 บาทต่อปี
อีกทั้งยังมีนโยบายสนับสนุนการผลิตในส่วนของที่ทำกินและแหล่งน้ำ
ด้านการสร้างคน กรณ์กล่าวว่าจะต้องเน้นไปที่การเพิ่มทักษะที่จำเป็นโดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะภาษาอังกฤษรวมถึงการแก้ปัญหายาเสพติด ประเด็นสุดท้ายการกระจายอำนาจทั้งปกครองและบริหาร คือหัวใจของการสร้างชาติสำหรับพรรคประชาธิปัตย์
….
แล้วดูเหมือนว่าพรรคพลังประชารัฐจะให้ความสำคัญกับตลาดทุนค่อนข้างมาก โดยเน้นไปที่การทำให้ตลาดทุนเป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ของทุกคน รวมไปถึงการทำให้ตลาดทุนสามารถต้านทานการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้ และมีการเติบโตอย่าง ‘ยั่งยืน’
-
อุตตม สาวนายน หัวหน้า พรรคพลังประชารัฐ
‘อุตตม สาวนายน’ หัวหน้า พรรคพลังประชารัฐ ชี้ว่า เป็นเรื่องยากที่จะมากล่าวเดี่ยวๆ เพราะนโยบายเศรษฐกิจควรยึดโยงกับภาคต่างๆ โดยแบ่งพันธกิจออกเป็น 3 ส่วนคือ สวัสดิการประชารัฐ เศรษฐกิจประชารัฐ และสังคมประชารัฐ
เขาย้ำว่าสวัสดิการไม่ใช่การแจกเงิน แต่เป็นการให้สิ่งที่ประชาชนควรได้รับอยู่แล้ว อาทิ หลักประกันรายได้ การเข้าถึงสาธารณสุข และการศึกษา สำหรับเศรษฐกิจประชารัฐคือการสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศ ให้ก้าวทันโลกภายนอก โดยการใช้เทคโนโลยีและความรู้ต่างๆ เข้ามาเสริม รวมถึงการกระจายความเจริญสู่ทุกภูมิภาคและจังหวัดทั่วไทย โดยยกตัวอย่างว่า ประเทศไทยไม่จำเป็นต้องมีแค่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ อีอีซี จะมีที่ภาคไหนหรือจังหวัดไหนก็ย่อมได้
ท้ายสุดคือเรื่องสังคมประชารัฐที่มีความคล้ายคลึงกับของพรรคประชาธิปัตย์ในการสนับสนุนทักษะของประชาชน
….
-
ตติรัตน์ ณ ระนอง รองหัวหน้า พรรคเพื่อไทย
ส่วนพรรคเพื่อไทยมองอนาคตเศรษฐกิจและประเทศตั้งอยู่บนความสมดุลของการเติบโต เสถียรภาพ และการกระจายรายได้
‘กิตติรัตน์ ณ ระนอง’ รองหัวหน้า พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ขณะที่วางนโยบายการแก้ไขปัญหาเป็น 4 ด้านคือ (1) ด้านการส่งออกและการท่องเที่ยว โดยชี้ว่าควรมีการจัดการกับกระทรวงที่จะมาดูแลอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างเต็มตัว เพราะมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงถึงร้อยละ 22 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ จีดีพี (2) การลงทุนภาคเอกชน โดยการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนชาวต่างชาติและสนับสนุนอุตสาหกรรมที่ใช้ผลผลิตภายในประเทศเป็นหลัก (3) อุดหนุนการบริโภคของประชาชนด้วยการเปิดรับข้อเท็จจริงว่าการที่ประเทศไทยยังมีค่าแรงถูกนั้นทำให้ความสามารถในการบริโภคของประชาชนมีน้อย (4) ควบคุมการใช้จ่ายของรัฐบาลโดยเรียงจากเรื่องที่มีความสำคัญก่อน
“ขณะนี้ดูเหมือนเราจะเสียสมดุลในเรื่องของการบริหารเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการกระจายรายได้ จนทำให้เราต้องแก้ไขอย่างจริงจัง” กิตติรัตน์ กล่าว
….
-
อนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย