สัมภาษณ์นายกเหล่ากาชาด
“นายกเหล่ากาชาด”
เชิญร่วมรำบวงสรวงย่าโม 2564 เปิดพื้นที่ NEW NORMAL
คนที่เคารพ รักย่าโม ทั่วประเทศ 12 วัน เริ่ม 23 มีนาคม นี้
นางณัฎฐินีภรณ์ จันทรโณทัย นายกเหล่ากาชาด จังหวัดนครราชสีมา ให้สัมภาษณ์ว่า จังหวัดนครราชสีมา จะมีงาน “วันฉลองชัยชนะท้าวสุรนารี “ ในวันที่ 23 มีนาคมของทุกปี จะมีการเฉลิมฉลอง 12 วัน 12 คืน เป็นประเพณีที่ทำกันมายาวนานกว่า 20 ปี โดยทางเหล่ากาชาดจะรับผิดชอบเรื่องการรำถวายบวงสรวง ท่านท้าวสุรนารี (ท่านย่าโม) ในพิธีเปิดวันที่ 23 มีนาคมของทุกปี แต่จากสถานการณ์โควิด-19 ปีที่ผ่านมา เป็นช่วงที่โควิดกำลังมา เราต้องเลื่อนกิจกรรมนี้ออกไป จนสถานการณ์คลี่คลายลง จึงมาจัดรำในช่วงเดือนกันยายน 2563
โดยรูปแบบการรำเปลี่ยนไปจากเดิมรำรอบถนนอนุสาวรีย์คุณย่าโม จะมีสตรีรำประมาณ 4,000 – 5,000 คน แต่ปีที่ผ่านมาเราขอเปลี่ยนเป็นรำหลายวัน โดยรำบนลานอนุสาวรีย์คุณย่าโม ครั้งละ 800 คน โดยเรามีการจัด Distancing ตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข คือ กำหนดไว้ว่า ห่างกัน 1.5 – 2 เมตร ต่อคน และจัดจำนวนคนลงได้ และก่อนที่จะเข้าไปรำ เราจะมีการสแกนและติดสติกเกอร์ เข้า-ออกทางเดียว มีการกั้นบริเวณที่รำ สแกนวัดไข้ ทำให้เราบริหารจัดการในการป้องกันได้ดี ในปีที่ผ่านมา เริ่มรำวันที่ 9 เดือน 9 เดือนกันยายน ในการรำแต่ละครั้ง ก่อนพิธีรำ จะมีการบวงสรวงคุณย่าโม ทุกครั้ง โดยใช้พราหมณ์ พิธีบวงสรวงเสร็จก็เป็นการรำถวายย่าโม
“ปีนี้ก็เช่นเดียวกัน เราวางแผนกันว่า “งานฉลองชัยชนะท้าวสุรนารี” ประจำปี 2564 ในวันที่ 23 มีนาคม 2564 ซึ่งจะจัด 12 วัน เหมือนทุกปี แต่สถานการณ์โควิด-19 รอบสองยังอยู่ในช่วงต้องเฝ้าระวังแม้จะคลี่คลายลงแล้ว ถ้าไม่มีเหตุการณ์อะไรรุนแรง ขึ้น เราจะทำแบบ Distancing คือ จะไม่รำครั้งเดี่ยว 5,000 คน แต่จะเปิดรำหลายๆ วัน ยืนแบบเว้นระยะห่าง เราต้องป้องกัน เพื่อไม่ให้มีการรวมคนเป็นจำนวนมาก คือ ยึดหลักตามกระทรวงสาธารณสุขเป็นหลัก ขณะนี้มียอดสมัครเข้ามาประมาณ 3,000 คน จัดให้รำบนพื้นที่ลานอนุสาวรีย์คุณย่า เราเปิดกว้างสำหรับสตรีทุกคนที่เคารพรักย่าโม ไม่ใช่เฉพาะคนโคราช คนไทยทั้งประเทศเรารับหมดเพียงท่านมาสมัคร แจ้งชื่อ ที่เหล่ากาชาดจังหวัดนครราชสีมา เสมียนตราแดง โทร.0817533761, 0811201383 เราจะจัดจุดตำแหน่งให้ท่านมารำ เพื่อกำจัดในพื้นที่และเว้นระยะห่าง”
ทำไมสตรีทุกคนอยากรำถวายย่าโม
จากที่ตัวเองเป็นคนโคราช และในเรื่องของสตรีผู้กล้า ของประเทศไทย เราก็มีคุณย่าโม เป็นหนึ่งในนั้น แถบจะทุกคนใครที่ผ่านไปผ่านมาบริเวณอนุสาวรีย์คุณย่าโม จะต้องยกมือไหว้คุณย่าโม ทุกคนมีความรัก ความศรัทธา และเชื่อมั่น ในการที่มาขอพรให้คุณย่าโม ช่วยเกือบจะทุกคน
“ท่านเป็นสตรีที่แกร่งกล้า คนไทยทุกคนเคารพรักและศรัทธา ท่าน เป็นความภาคภูมิใจ ทุกครั้งที่เราเรียนประวัติศาสตร์ หรือมีเรื่องท่านท้าวสุรนารี เราจะภาคภูมิใจ ว่าท่านเป็นวีรสตรีของชาติจริงๆ”
รูปแบบการจัดงานวันฉลองชัยชนะท้าวสุรนารี
งานวันฉลองชัยชะท้าวสุรนารี ถือเป็นงานประจำปีของจังหวัดนครราชสีมา เป็นการบูรณาการหลายๆ ภาคส่วนจะมีหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เข้ามาร่วมในการจัดกิจกรรม เป็นการออกร้านในงาน หรือหน่วยงานมาออกบูท รวมทั้งการแสดงศิลปวัฒนธรรมต่างๆ ในหลายๆ ภาคส่วนร่วมกัน
ส่วนพิธีการบวงสรวงและรำถวาย เหล่ากาชาดจะเป็นผู้รับผิดชอบ รวมทั้งการจัด ร้านนาวากาชาด เพื่อเป็นการหางบประมาณสำหรับดูแลพี่น้องประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา เพราะว่าหน่วยงานเหล่ากาชาด จัดตั้งมาเป็นหน่วยงานอิสระ เราไม่ได้ใช้งบประมาณของสภากาชาดไทย หรือภาครัฐอะไรเลย แต่เราเป็นหน่วยงานที่ต้องหางบประมาณ มาทำงานเองอย่างเดียว เราได้รับเงินที่มาใช้งาน จากการรับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา จากการที่เราจัดร้านงาน นาวากาชาด แต่เราได้รับจากกาชาดใหญ่ ในบางเรื่อง เช่น อุปกรณ์สิ่งของ ถุงยังชีพ ในบางงาน ในเรื่องใหญ่ๆ เช่น เรื่องของโควิด-19 ซึ่งทางสภากาชาดไทยจะมีแอปพลิเคชั่น คนไทยที่สามารถจะขอเข้าไปได้ เพื่อมาขอมาดูแลพี่น้องประชาชน ที่ถูกกักตัว 14 วัน ที่จะได้ไม่ต้องออกไปไหน มีข้าวสารอาหารแห้ง เพื่อจะดูแลตัวเองได้ หรือกิจกรรมใหญ่ ๆ เรื่องอุทกภัย ที่เราสามารถขอเข้าไปได้ ในสภากาชาดไทย
แต่ถ้าดูแลพี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา เช่น ผู้ด้อยโอกาส ผู้ประสบภัยต่างๆ เป็นงบประมาณที่เราต้องหามาเองทั้งหมด ซึ่งเหล่ากาชาดก็ต้องมีกิจกรรมต่างๆ เพื่อหารายได้งบประมาณ เพื่อนำมาช่วยเหลือพี่น้องประชาชน มีการออกร้านนาวากาชาด และก็มีผู้มีจิตศรัทธา มาทำบุญวันเกิด หรือมอบเงินหรือเป็นอุปกรณ์ วิวแชร์ หรือองค์กรภาคเอกชนนำผ้าห่ม 200 ผืน มามอบที่กาชาด เพื่อนำไปช่วยเหลือ พี่น้องประชาชน ซึ่งวันที่เราไปแจกเราก็จะเชิญหน่วยงานไปร่วมแจกด้วย คือ เราเป็นสื่อกลางในการนำความช่วยเหลือให้พี่น้องประชาชน ผู้เดือดร้อน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการต่างๆ ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ด้านบริจาคโลหิต ที่ทุกคนจะรู้จัก สภากาชาด เป็นการบริจาคโลหิต เป็นส่วนใหญ่ นั้นก็คือ บทบาทเราทั้งหมด
นี่คือ บทบาทหน้าที่ของเหล่ากาชาด
ถ้าประชาชนเดือดร้อน “คิดอะไรไม่ออก บอกกาชาด” หรือจะให้ใครมาช่วย บอกเหล่ากาชาดจังหวัดนครราชสีมา เราก็จะไปดูแลเบื้องต้นให้หรือประสานงานให้ ยกตัวอย่าง มีเด็กอยู่คนหนึ่งอายุ 14 ปี เป็นโรคที่คนไม่ค่อยเป็น หมื่นคนจะเป็นสักคนหรือสองคน คือ โรคกรดอินทรีย์ คลั่งในกระแสเลือด เด็กแอดมิน ตั้งแต่แรกเกิด 7 วันแรกที่เกิดมา และอยู่ในโรงพยาบาลนานมาเป็นปี สองปี และตอนนี้เด็กอายุ 14 ปี เราไม่ทราบเลยว่าเด็กคนนี้มีปัญหา มีแพทย์จากโรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นผู้ทำหนังสือถึงเหล่ากาชาด ว่าขอให้ดูแลเด็กคนนี้ นิดหนึ่งเรื่องค่าใช้จ่าย ค่าเดินทางต่างๆ หรือการศึกษา ที่เด็กเค้าไม่ได้เรียนหนังสือ ทุกเดือนต้องไปโรงพยาบาล มีอาการกำเริบ ก็ต้องแอดมิด เหล่ากาชาดเราทราบก็ไป ก็ติดต่อพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และติดต่อการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) เพื่อให้การดูแลเด็กคนนี้ และครอบครัวอยู่อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี
นี้คือ บทบาทเหล่ากาชาด “คิดอะไรไม่ออก นึกถึงกาชาด” เราดูแลเบื้องต้น มีค่าใช้จ่ายทางกาชาดเราสนับสนุน ในครั้งที่ 1 ไปดูแลในเรื่องสิ่งอำนวยสะดวก เรื่องอาหารการกิน ในบ้าน เราก็จะมี ถุงยังชีพไปให้ มีผ้า เราก็ไปมอบให้ ในเรื่องที่เค้าต้องไปตรวจรักษาโรงพยาบาลที่กรุงเทพต่อเนื่อง ทางพัฒนาสังคมเค้าก็จะรับผิดชอบ เพราะเป็นหน่วยงานดูแล ในการไปแต่ละครั้ง จะมีรถรับส่ง และมีค่าเดินทางให้ ส่วนการศึกษาทาง กศน.จะดู การศึกษานอกโรงเรียน ทำเรื่องไปถึงเขตการศึกษา เพื่อจะอนุมัติให้ เขต กศน.เข้าไปดูแล ถ้าเด็กคนนี้ เรียนผ่าน กศน.จบ แล้วจะได้วุฒิการศึกษา คือ ทางกาชาดเป็นตัวเชื่อมต่อเครือข่ายให้ในการช่วยเหลือ
เรื่องโควิด-19 เหล่ากาชาดได้เข้าไปช่วยอะไรบ้าง
สถานการณ์โควิด-19 ส่งกระทบต่อประชาชนทั้งประเทศ จังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดที่มีประชากรมาก ในเรื่องของการถูกกักตัว ที่มาจากนอกพื้นที่ ตามหลักเกณฑ์สาธารณสุข ทางกาชาดมีหน้าที่เร่งด่วนคือ อาหา เรา ทำโรงทานทำอาหารแจก 12 วันละประมาณ 1,000 กล่องในมื้อกลางวันแจก และมีผู้ใจบุญ พอทราบว่าเหล่ากาชาดทำโรงทาน ก็นำอาหารมาสนับสนุน นำอาหารกล่อง ขนม น้ำมาร่วมแจกเยอะมาก นอกจากนี้ สภากาชาดไทยมีการใช้ แอฟพลิเคชั่น คนไทยในการช่วยเหลือพีน้อง เมื่อมีการกักตัว ก็จะลงในแอฟพลิเคชั่น คนไทย เราก็จะลงเพื่อแจ้งไป ทางสภากาชาดไทยก็จะส่งข้าวสารอาหารแห้ง เพื่อดำรงชีวิตได้ 2 อาทิตย์ เพื่อใช้ในครอบครัว สำหรับคนที่กักตัว
ทางจังหวัดนครราชสีมา เรามี local quarantine ที่เป็นหมู่คณะที่ไม่สามารถกลับหรือต้องกักตัวที่โรงพยาบาลแล้วออกมา หรือผลยัง Negative และต้องกักตัวเพิ่มเอาให้แน่นอนว่า คุณไม่เป็นและไม่ไปแพร่ได้ เหล่ากาชาดก็จะเตรียมอุปกรณ์ที่จะดูแลเค้า เช่น ถ้วย ชาม จาน ช้อน หรือสิ่งที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เพราะเค้าจะออกจากห้องไปไหนไม่ได้ ถ้วยชาม จะเป็นแบบใช้แล้วทิ้ง ซึ่งจะมีผู้จัดส่งๆ ให้ เราก็สนับสนุนไป 14 วัน ตรงนี้ก็เป็นงบของเหล่ากาชาดที่จะต้องดูแล ทางสาธารณสุขจังหวัดก็จะมาแจ้งเราว่า มีเคส local quarantine ที่จะต้องดูแลว่ามีเท่าไหร่และเบิกกับเหล่ากาชาดไป เพื่อไปดำเนินการดูแล
จังหวัดนครราชสีมา เปิดสายด่วน ศูนย์ดำรงธรรม 1567 ดูแลพี่น้องในการเรื่องผู้ประสบปัญหาโควิด-19 ทำมาหากินไม่ได้ ประสบปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ ให้มารับถุงยังชีพ เพื่อดำรงยังชีพประทังไปก่อน
เราก็จะดูแต่ละเคสไป หรือประสานงานเป็นกลาง ประสานหน่วยงานส่วนกลางให้พี่น้องประชาชน
เราก็ต้องเฝ้าระวังเรื่องโควิด 19 ปีที่แล้วก็เป็นปีที่เหล่ากาชาด มีภารกิจงานมาก ตั้งแต่แรกที่มีอย่างเหตุการณ์กราดยิงที่เทอร์มินอล กาชาดเราก็เข้าไปเยี่ยม ไปดูแล ตอนนี้เราก็ดูแลเป็นระยะ ไปดูแลที่บ้าน พอมาถึงโควิด แล้วก็มาเจอเรื่องน้ำท่วมหนักมากที่จังหวัดนครราชสีมา ทางกาชาดเราก็ลงไปเต็มที่ จากที่เห็นจากสื่อลงเดินลุยน้ำและนั่งเรือ ไปส่งเพื่อเอาของเครื่องถุงยังชีพให้ถึงพี่น้องประชาชน ที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน ของพวกนี้ก็ได้จากสภากาชาดไทย จาการลงแอฟพลิเคชั่น คนไทย และงบของสำนักงานเหล่ากาชาด
แม่เมืองก็คือ นายกเหล่ากาชาด เพียงแต่ว่า ทุกคนให้เกียรติให้ความเคารพ ว่าท่านผู้ว่าเป็นพ่อเมือง เราเป็นภรรยาก็เลยเป็นแม่เมือง จริงๆแล้วบทบาทเราก็คือนายกเหล่ากาชาด ที่เราทำงานอยู่ทั่วไป เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชน และอีกบทบาทหนึ่ง ประธานแม่บ้านมหาดไทย จังหวัด ก็คือภรรยาท่านผู้ว่าก็ถือว่าเป็นหน่วยงานมหาดไทย ก็เป็นบทบาทที่ช่วยเหลือพี่น้องประชาชน เช่นเดียวกัน เพียงแต่ว่าเราแยกงานว่า อันไหนเป็นงานของเหล่ากาชาด อันไหนเป็นงานมหาดไทย อย่างเช่น การส่งเสริมกิจกรรมสินค้าโอทอป เราไปช่วยสนับสนุน ไปช่วยชี้แนะ
และนอกจากนี้จังหวัดนครราชสีมา เราก็ยังมีสมาคมสตรี เป็นนากยกสตรี อีกตำแหน่งหนึ่ง บทบาทเราขึ้นกับสตรีกรุงเทพ เราก็จะมีกิจกรรมในวันแม่ อีกอันหนึ่งที่สมาคมสตรีจังหวัดนครราชสีมา ได้ดูแล ศูนย์บริกาลปฐมวัย น่าจะเป็นจังหวัดเดียวที่มีศูนย์เด็กที่อยู่ในความรับผิดชอบ ของสมาคมสตรีจังหวัดนครราชสีมา อยู่ข้างๆศาลากลางจังหวัด ซึ่งเป็นเด็กวัยก่อนเรียน เลี้ยงตัวเองด้วยเงินของผู้ปกครองเด็ก พาเด็กเข้ามาเรียน ค่าจ้างครู มาตรฐานของเรา ก็ต้องบอกเลยว่ามาตรฐาน แต่อาจจะไม่เท่ากับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ของกระทรวง เพระว่างบประมาณเราอาจจะน้อย แต่การดูแลเราไม่ยิ่งย้อนไปกว่า ศูนย์พัฒนาเด็กอื่นๆ ที่เราได้ดำเนินการตอนนี้
ก็เป็นความภาคภูมิใจ เหนื่อยก็เหนื่อย ก็เป็นความภาคภูมิใจอันหนึ่ง เราได้ทำงาน และได้ทำงานที่บ้านเกิดของเราเอง เต็มใจทำ และยินดีทำ และเป็นช่วงจังหวะที่ลูกโตแล้ว เข้าเรียนมหาวิทยาลัยแล้วจบแล้ว เรามีเวลา ที่จะดูแลพี่น้องประชาชนมากขึ้น