ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด การบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 17)

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด การบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 17) โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

ใจความว่า ตามที่ขยายเวลา ประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ออกไป ถึง 26 มีนาคม 2564 จึงออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19

เพื่อกำหนดมาตรการต่าง ๆ ที่จำเป็นในการระงับยับยั้งการระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งระบาดแบบกลุ่มก้อนในเขตหลายเขตพื้นที่ของประเทศ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ ควบคุมสูงสุดที่จำเป็นต้องมีมาตรการที่เข้มงวดเพื่อการสกัดและยับยั้งการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว และเด็ดขาด ทั้งๆ ที่ประชาชนส่วนใหญ่ได้ให้ความร่วมมือร่วมใจปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคมาโดยตลอด

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลาย ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 การยกระดับการบังคับใช้มาตรการป้องกันโรค

ข้อ 2 การยกระดับพื้นที่ควบคุมสูงสุดที่จำเป็นต้องมีมาตรการเข้มงวดอย่างยิ่ง

ข้อ 3การปราบปรามและลงโทษผู้กระทำผิดอันเป็นเหตุให้เกิดการระบาดของโรค ลงโทษข้าราชการ เจ้าหน้าที่ บุคคล ที่ละเลย หรือสนับสนุนการนำพาแรงงานต่างด้าวลอบเข้าเมืองอันเป็นเหตุให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ข้อ 4 โทษ

ผู้ฝ่าฝืนข้อกำหนดซึ่งออกตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ย่อมเป็นความผิดซึ่งอาจต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ผู้ติดเชื้อที่จงใจปกปิดข้อมูลการเดินทางหรือแจ้งข้อมูลเท็จต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนและควบคุมโรคเป็นผลให้เชื้อโรคแพร่ออกไป อาจเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ด้วย

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป