รัฐบาล ยก แคมเปญ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” ลดภาระบุคลากรทางการแพทย์ ขอประชาชนฟังข่าวจากศูนย์ ข้อมูลโควิด – 19 ช่องทางเดียวป้องกันการสับสน
นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลโควิด – 19 แถลงสถาการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสประจำวันที่ 20 มีนาคม 2563 กล่าวว่า สถาการณ์ล่าสุดมีผู้ป่วยยืนยันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยอดสะสมปัจจุบันอยู่ที่ 322 ราย โดยเน้นย้ำว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมขอให้ประชาชนพักอยู่ที่บ้าน ช่วยกันงดการเดินทางไปยังพื้นที่ต่างจังหวัดหรือเลื่อนการเดินทางออกไปก่อน ด้านเวชภัณฑ์ตัวเลขการผลิตหน้ากากอนามัยทางการแพทย์เพิ่มขึ้น 2 ล้าน 2 แสน 8 หมื่นชิ้น ส่วนหน้ากากอนามัยทางเลือกเป็นอีกมียอดสะสม 12 ล้าน 8 แสนชิ้น พร้อมขอประชาชนอย่ากักตุนหน้ากากอนามัยไปขายเกินราคา เนื่องจากจะถูกดำเนินการทางกฎหมาย
ด้านนางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผย ว่า นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำในเรื่องมาตรการต่างๆ โดยขอให้ประชาชนอย่ายึดติดกับคำว่าปิดประเทศ ขอให้มองที่มาตรการที่ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง ซึ่งแม้ว่าจะมีความไม่สะดวกสำหรับคนไทยที่จะเดินทางดลับมายังประเทศไทย จะมีทีมไทยแลนด์แต่ละประเทศเป็นผู้ให้การช่วยเหลือ ยืนยันไม่ได้เป็นการปิดกั้นการเดินเข้าประเทศของคนไทย ซึ่งอาจลำบากไปบ้างแต่ขอให้ดทร ส่วนคำว่าปิดกรุงเทพมหานคร มีผลกระทบจำนวนมาก และเป็นเรื่องที่ยาก จึงเลือกใช้วิธีที่สามารถควบคุมเชื้อทั้งกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลได้ พร้อมกับรณรงค์ อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ นอกจากนั้นยังมีการวางแผนตามขั้นตอนในการลำเลียงอาหารไปให้ผู้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ถือเป็นด่านหน้าในการปะทะเชื้อ การอยู่บ้านถือเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยแบ่งเบาภารของบุคลากรทางการแพทย์ และขอให้ฟังการประชาสัมพันธ์จากทางศูนย์แถลงข่าวเพียงช่องทางเดียวเพื่อป้องกันการสับสน
ในส่วนของ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย กล่าวว่า โรคดังกล่าวเป็นโรคอุบัติใหม่ และมีการกระจายทั่วโลกซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะกวาดล้างในระยะเวลาอันสั้น มากกว่า 150 ประเทศมีการคิดเชื้อ ซึ่งถือว่าปัจจุบันเป็นโรคนำเข้าและติดต่อภายในประเทศ และจะยังคงอยู่ในระยะยาว โดยต้องวางกลยุทธ์ในการต่อสู้ระยะยาว การมีจำนวนผู้ป่วยจำนวนมากพร้อมๆกัน ระบบสาธารณสุขตั้งรับไม่ทัน โดยมีความพยายามยืดระยะเวลาให้ได้นานที่สุดเพื่อ รอองค์ความรู้ใหม่ที่นำมารักษา ลดความสูญเสีย