เมื่อวันที่ 21 มี.ค. ที่บ้านเลขที่ 333 ถนนราชวิถี 20 พรรคชาติพัฒนา (ชพน.) มีการประชุมคณะกรรมการบริหารของพรรค โดยมีนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภประธานที่ปรึกษาพรรค นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรค นายดล เหตระกูล เลขาธิการพรรค เข้าร่วมประชุม ซึ่งมีกรรมการบริการพรรคเข้าร่วมประชุมจำนวน 10 คน โดยรูปแบบการประชุมวันนี้ ได้จัดให้กรรมการบริหารพรรค นั่งห่างกัน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ด้วย ซึ่งการประชุมใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมง

จากนั้น นายสุวัจน์ ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติพัฒนา แถลงผลการประชุม โดยแสดงความเป็นห่วงต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด -19 โดยพรรคชาติพัฒนา เห็นด้วยกับมาตรการที่รัฐบาลประกาศเพื่อแก้ปัญหา แต่สถานการณ์การยับยั้งหรือรักษาโรคมีความไม่ชัดเจน อาทิ ยารักษาโรค ดังนั้นทุกฝ่าควรปฏิบัติตามคำแนะนำและมาตรการด้านสาธารณสุข ขณะที่ปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกันโรคอาทิ ชุดป้องกันทางการแพทย์ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรเร่งรัดผลิต หรือ จัดหา หรือ นำเข้าจากต่างประเทศให้เพียงพอ รวมถึงควบคุมด้านราคา เข้มงวดเรื่องการกักตุนสินค้าขณะเดียวกันเพื่อลดความตื่นตระหนกของประชาชน ควรจัดบริการทางการแพทย์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ให้กับบุคคลที่ต้องการตรวจหาเชื้อ

นายสุวัจน์ กล่าวด้วยว่า เพื่อลดความวิตก รัฐบาลควรตั้งศูนย์คอลเซ็นเตอร์เพื่อให้คำปรึกษาและข้อมูลที่ถูกต้องกับประชาชน ขณะที่การผลิตวัคซีนจากทางการแพทย์ประเทศจีน ที่นำเข้ามายังประเทศไทย หากหน่วยงานทางการแพทย์ใช้ความร่วมมือผลิตยาภายในประเทศได้ เชื่อว่าจะสร้างความมั่นใจและสบายใจต่อประชาชนได้
………………………

ข้อเสนอแนะพรรคชาติพัฒนาต่อสถานการณ์ COVID-19
ตามที่ได้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ตลอดระยะเวลาสองสามเดือนที่ผ่านมา มีผลให้ขณะนี้ (20 มีนาคม) มียอดผู้ติดเชื้อสะสมของไทยเพิ่มเป็น 322 ราย และมีผู้เสียชีวิต 1 รายนั้น

รัฐบาลได้ออกมาตรการเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวม 6 มาตรการหลัก คือ
1. ด้านสาธารณสุข คือการป้องกันและสกัดกั้นติดเชื้อเข้าไทยของชาวต่างชาติ ต้องมีใบรับรองแพทย์ มีประกันสุขภาพ การใช้ Application ติดตามตัว การยกเลิก Free Visa และ Visa on Arrival การกักตัวเพื่อสังเกตอาการ ไม่ให้ข้าราชการของรัฐไปต่างประเทศ การจัดหาบุคลากรทางการแพทย์ อุปกรณ์เครื่องมือที่จาเป็น สถานพยาบาล อาสาสมัคร ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือ และชุดป้องกันโรคต้องที่เพียงพอ (ปัจจุบันได้จัดเตรียมเตียงรักษาพยาบาลไว้สูงสุด 10,000 เตียง และยาที่ใช้รักษา 200,000 เม็ด)
2. ด้านเวชภัณฑ์ป้องกัน คือการเร่งผลิตหน้ากากอนามัย เจล แอลกอฮอล์ และชุดป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ (PPE)
3. ด้านการสื่อสารข้อมูล ตั้งศูนย์ข้อมูลโควิด-19 และกระทรวงสาธารณสุข
4. ด้านการต่างประเทศ คือจัดตั้งทีมไทยแลนด์เพื่อดูแลคนไทย
5. ด้านการลดโอกาสการแพร่ระบาดของโรคในสถานที่ต่างๆที่มีความเสี่ยง
– ปิดสถานที่ที่มีความเสี่ยง มหาวิทยาลัย โรงเรียนนานาชาติ สถาบันกวดวิชา 2 อาทิตย์
– ปิดชั่วคราวสนามมวย สนามกีฬา สนามม้า ในกทม.และปริมณฑล
– ปิดผับ สถานบันเทิง สถานบริการ นวดแผนโบราณ โรงมหรสพ ในกทม.และปริมณฑล
– งดจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูงต่อการแพร่ระบาด เช่น คอนเสิร์ต การแสดงสินค้า กิจกรรมทางศาสนา กีฬา และวัฒนธรรม
– ยับยั้งการแพร่ระบาดในประเทศ ได้แก่ งดวันหยุดสงกรานต์ 13 – 15 เม.ย. 63
– งดกิจกรรมที่มีการเคลื่อนย้ายข้ามจังหวัด
6. มาตรการช่วยเหลือเยียวยา
– ให้ส่วนราชการไปวางมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัย เช่น ผู้ประกอบการ ผู้ใช้แรงงาน เป็นต้น
– ให้กระทรวงการคลังพิจารณามาตรการช่วยเหลือประชาชน ผู้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ และมีภาระในการผ่อนชาระต่างๆ
– และเมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 บรรเทาลงแล้ว รัฐบาลจะได้ดาเนินการฟื้นฟูผลกระทบด้านเศรษฐกิจต่อไป

พรรคชาติพัฒนามีความเห็นและข้อเสนอแนะต่อสถานการณ์โควิด-19 ดังกล่าวข้างต้น คือ
1. พรรคชาติพัฒนาขอขอบคุณ และเป็นกาลังใจ ให้กับผู้ที่ได้ทุ่มเทต่อการแก้ไขสถานการณ์โควิด-19 ที่เป็นภัยด้านสาธารณสุข ที่กระทบต่อความมั่นคงด้านสุขภาพ และเศรษฐกิจของประเทศอย่างรุนแรง
– ขอขอบคุณทีมแพทย์อาวุโส และคณะแพทย์ผู้ชานาญการทั้งหลาย ที่ได้ช่วยการระดมสมอง ด้วยประสบการณ์ ความสาเร็จในการแก้ปัญหาโรคระบาดในอดีตที่ผ่านมา อาทิเช่น โรคซาร์ โรคไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ 2009 และสามารถนาเสนอแนวทาง และมาตรการด้านสาธารณสุขให้กับฝ่ายบริหาร คือรัฐบาลและกระทรวงต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อนาไปกาหนดมาตรการรองรับ ที่ก่อให้เกิดความมั่นใจกับพี่น้องประชาชน และเกิดประสิทธิภาพในการยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19
– ขอขอบคุณท่านนายกรัฐมนตรีและครม.ทั้งคณะ ที่ได้ทุ่มเทการทางานอย่างเต็มความสามารถตลอดระยะเวลา 2 เดือนที่ผ่านมา
– ขอขอบคุณคณะแพทย์และพยาบาล และบุคลากรในทุกโรงพยาบาล ที่ทุ่มเทการทางาน ที่เต็มไปด้วยความเสี่ยงต่อสุขภาพ แม้จะมีปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ เครื่องมือ ยา เวชภัณฑ์ต่างๆ แต่ทุกท่านก็เสียสละให้กับประเทศ
– ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่จากทุกส่วนราชการที่ได้ร่วมกันปฏิบัติงาน ตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย
– และขอขอบคุณพี่น้องประชาชนทุกท่าน และผู้ประกอบการทุกฝ่าย แม้ว่าจะได้รับผลกระทบตามมาตรการต่างๆ ที่จะต้องยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ทุกท่านก็เสียสละให้ความร่วมมือกับมาตรการด้านสาธารณสุขของรัฐบาล เพื่อให้ประเทศชาติและประชาชนใหญ่ปลอดภัย
2. แม้ว่าขณะนี้จะมีแนวโน้มที่ดีในการพัฒนายารักษาและวัคซีน สาหรับโควิด-19 แต่สถานการณ์การแพร่ระบาดได้คุกคามไปแล้วกว่า 173 ประเทศ มีผู้ป่วยมากกว่า 246,577 ราย และผู้เสียชีวิตมากกว่า 10,050 คน และยังไม่แน่นอนว่าการระบาดจะสิ้นสุดลงเมื่อใด ฉะนั้น สิ่งที่ดีที่สุด ที่เราทาได้ในขณะนี้ คือการร่วมมือในการปฏิบัติการหยุดยั้งการแพร่ระบาดและการดูแลตัวเอง โดยปฏิบัติตามคาแนะนาของแพทย์ และมาตรการด้านสาธารณสุขของรัฐบาลที่ได้ประกาศอย่างเคร่งครัด คือ ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ เจล หรือแอลกอฮอล์ ใช้ช้อนกลาง รับประทานอาหารสุก ใส่หน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แออัด การมี Social Distancing ในระยะห่าง 2 เมตร ดูแลตัวเอง ออกกาลังกายสม่าเสมอ เมื่อมีอาการก็รีบไปพบแพทย์ และถ้าเราจะช่วยกันให้คาแนะนาและสร้างแนวร่วมในการปฏิบัติให้เพื่อนหรือญาติพี่น้อง ก็จะเป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น รวมทั้งการให้ข้อมูลข้อเท็จจริงต่อกัน
3. ขณะนี้ยังมีความต้องการเพิ่มขึ้นของอุปกรณ์ และเครื่องมือทางการแพทย์ ชุดป้องกันโรคสาหรับบุคลากรทางการแพทย์ หน้ากากอนามัย ยา และเวชภัณฑ์ รัฐบาลควรเร่งรัดการผลิตภายในประเทศ และการจัดหาและนาเข้าจากมิตรประเทศ เพื่อให้เพียงพอ รวมทั้งการควบคุมราคาให้เหมาะสม ไม่มีการฉวยโอกาสกักตุนและขายในราคาแพง
4. ขณะนี้ประชาชนมีความกังวลกับการติดเชื้อโควิด-19 รัฐบาลควรจัดให้มีชุดตรวจทดสอบการติดเชื้อโควิด-19 เพื่อเป็นบริการให้แก่ประชาชน โดยไม่คิดมูลค่าและทั่วถึงในการเข้าถึงบริการ ก็จะเป็นช่องทางในการลดการตื่นตระหนก และสร้างความร่วมมือในการยับยั้งการระบาดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
5. ในวิกฤตเรื่องโควิด-19 ครั้งนี้ ได้ก่อให้เกิดผลกระทบด้านความเครียด และก่อให้เกิดภาวะความกังวล และโรคซึมเศร้า รัฐบาลควรมีมาตรการช่วยเหลือเยียวยา โดยการให้มีศูนย์ให้คาปรึกษาด้านจิตวิทยา ในลักษณะ CALL CENTER ก็จะบรรเทาปัญหาความเครียดได้

6. ในเรื่องของการผลิตยารักษานั้น สานักงานบริหารผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ของจีน ได้ให้การรับรองยาต้านไวรัสโควิด-19 คือยาชื่อฟาวิพิราเวียร์ (FAVIPIRAVIR) หรือ T-705 หรือ AVIGAN และองค์การเภสัชกรรมได้มีการจัดหาไว้บ้างแล้ว (40,000 เม็ด) แต่อาจมีจานวนจากัด ถ้าองค์การเภสัชกรรมจะมีความร่วมมือกับผู้ผลิตยา และสามารถผลิตได้ในประเทศ ก็จะเป็นประโยชน์ และสร้างความมั่นใจกับประชาชนได้มากขึ้น
ในขณะที่ยังไม่มียารักษา หรือวัคซีนที่จะต่อสู้กับโควิด-19 อย่างชัดเจน มาตรการด้านสาธารณสุขของรัฐบาลที่ประกาศใช้ในขณะนี้ ก็เพื่อยับยั้ง ชะลอการระบาดของไวรัส พวกเราต้องใช้เวลา ใช้ความอดทน และความความเข้มแข็งร่วมกันในการเอาชนะ มาตรการ SOCIAL DISTANCING ที่จะต้องมีระยะห่าง การเก็บตัวอยู่บ้าน ไปข้างนอกเท่าที่จาเป็น อาจทาให้ห่างไกลกันมากขึ้น แต่ความห่างไกลจะกลายเป็นความห่วงใยต่อกัน ความเข้าใจซึ่งกันและกัน และความเข้มแข็งร่วมกัน ที่จะระงับยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ พรรคชาติพัฒนาขอเป็นกาลังใจกับพี่น้องประชาชน ขอให้พวกเราร่วมมือกันฟันฝ่าวิกฤตชาติครั้งนี้ไปให้ได้
พรรคชาติพัฒนามีความเห็นต่อการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ นอกจากการแก้ไขปัญหาเรื่อโควิด-19 แล้ว รัฐบาลยังได้มีมาตรการช่วยเหลือเยียวยา (มาตรการที่ 6) ที่จะทาคู่ขนานเพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับผู้ประกอบการ และผู้ใช้แรงงาน และประชาชนโดยทั่วไป ซึ่งได้รับผลกระทบจากปัญหาการว่างงาน การเลิกจ้าง ภาระการผ่อน หนี้สิน ฯลฯ โดยมอบให้หน่วยงานต่างๆไปดาเนินการ พรรคชาติพัฒนาเห็นว่าเป็นนโยบายที่ถูกต้องที่รัฐบาลจะต้องเร่งดาเนินการ เยียวยาแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชนโดยด่วน คู่ขนานกับการจัดการปัญหาโควิด-19 แม้กระทั่งสหรัฐอเมริกาเองก็ได้กาหนดมาตรการทางเศรษฐกิจในวงเงินประมาณ 1 ล้านล้าน ดอลล่าร์ (ประมาณ 30 ล้านล้าน บาท) เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ ผู้ว่างงาน รวมทั้งมาตรการเลื่อนชาระภาษี เพื่อพยุงเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา
พรรคชาติพัฒนาใคร่ขอเสนอแนะข้อคิดเห็นให้รัฐบาลรับไปพิจารณา คือ
ควรกาหนดมาตรการทางการคลัง และมาตรการทางการเงินที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มรายได้ เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง และลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ประกอบการ และประชาชน ผู้เดือดร้อนในขณะนี้ คือ
1. สาหรับประชาชนทั่วไป ควรพิจารณาลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจาปี 2562 ที่กาหนดจากเดิมชาระในเดือน มิ.ย.63 นี้ (หลังจากที่รัฐบาลได้เลื่อนให้แล้ว 3 เดือน) จากอัตราก้าวหน้า 10-35% เป็น 5-35% และเลื่อนการชาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมจากเดือน มิ.ย. 2563 เป็น ก.ย. 2563 รวมทั้งการยกเว้นการหักภาษี ณ ที่จ่ายในแต่ละเดือน ของเงินได้ประเภทจ้างแรงงานหรือรับจ้าง ออกไป 6 เดือน โดยให้ไปชาระคราวเดียวกันในเดือนมีนาคม 2564 ก็จะเป็นการเสริมสภาพคล่องให้กับประชาชนโดยตรง ในภาวะวิกฤตปัจจุบัน
2. เลื่อนการจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคล (อัตรา 20% ของกาไร) สาหรับรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุด 31 ธ.ค. 2562 ที่จะต้องจ่ายในเดือน พ.ค. 2563 เป็น ส.ค. 2563 และเลื่อนการยื่นเสียภาษีกลางปีของปี 2563 ที่จะครบกาหนดเดือน ส.ค. 2563 ออกไปเป็น พ.ย. 2563 และลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล จาก 20% ลงเหลือ 10% สาหรับปี 2563 ผู้ประกอบธุรกิจก็จะมีสภาพคล่องมากขึ้น
3. เพื่อลดภาระค่าครองชีพของประชาชนด้านราคาสินค้าและบริการในช่วงวิกฤต เห็นสมควรพิจารณาลดภาษี VAT จาก 7% เป็น 5% ให้มีผลโดยเร็วถึงสิ้นปี 2563 นี้ เพื่อให้สินค้าราคาถูกลง เป็นการช่วยแบ่งเบาภาระของประชาชน
4. เลื่อนการมีผลบังคับใช้ของกฎหมายใหม่ คือ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างออกไป 1 ปี ในช่วงวิกฤต ซึ่งยังไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ณ ขณะนี้
5. ขอความร่วมมือจากธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ ในการลดอัตราดอกเบี้ย และผ่อนผันการชาระคืนเงินต้นต่างๆ ของผู้ประกอบการ SME และประชาชนทั่วไป ให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบ สอดคล้องกับการลดดอกเบี้ยนโยบายของ กบง. จาก 1% เหลือ 0.75%
6. เสริมสร้างการจ้างงานในชนบทให้ถึงมือประชาชน และผู้ใช้แรงงาน เกษตรกรโดยตรง ผ่านกลไกกองทุนหมู่บ้าน หรือกองทุนพัฒนาชุมชนเมือง ในลักษณะคล้ายโครงการเงินผันในอดีต เพื่อแก้ไขปัญหาการว่างงาน และสร้างรายได้ให้รากหญ้า
7. รัฐบาลต้องเตรียมตั้งรับกับภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนอย่างรุนแรงจากเดิมที่โลกเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากสงครามการค้า และเมื่อมีเหตุการณ์โควิด-19 ที่แพร่ขยายไปทั่วโลก และยังไม่สามารถประเมินสถานการณ์ที่ชัดเจนได้ว่าจะยุติเมื่อไหร่ แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นแน่นอนก็คือ การขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกจะติดลบ (Negative Growth) คือ การว่างงานจะเพิ่มขึ้น การผลิตและบริการจะลดลง GDP ของประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะติดลบ ราคาน้ามันที่ถูกลง จะเกิดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมน้ามันของประเทศ ราคาสินค้าเกษตรที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องในรอบ 4-5 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นรายได้หลักของประเทศ พรรคชาติพัฒนาใคร่ขอเสนอให้มีการปรับแผนการใช้จ่ายเงินของประเทศภายใต้งบประมาณปี 2563 (ประมาณ 3.2 ล้านล้าน บาท) และปรับปรุงงบประมาณปี 2564 ที่อยู่ระหว่างการจัดทาและยังไม่ได้เสนอสภา (ประมาณ 3.3 ล้านล้าน บาท) ให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจโลก ราคาน้ามัน และสถานการณ์โควิด-19 ในด้านการแก้ปัญหาโควิด-19 จะต้องมีการจัดสรรงบประมาณด้านสาธารณสุขที่เพียงพอกับการแก้ไขปัญหาการขาดแคลน แพทย์ โรงพยาบาล อุปกรณ์ ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ และส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาด้านการแพทย์อย่างจริงจัง เพื่อระงับยับยั้งโควิด-19 ให้ทันกับสถานการณ์ และเป็นบรรทัดฐานในการสร้างความมั่นคงด้านสุขภาพของประชาชนให้กับประเทศ ขณะเดียวกันภาวะเศรษฐกิจโลกที่ถดถอยและติดลบ รวมถึง GDP ของประเทศที่มีแนวโน้มติดลบ อาจนาไปสู่ DEMAND ด้านต่างๆ ที่ลดลงอย่างมาก ควรทบทวนงบประมาณด้านการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ให้เหมาะสมกับระยะเวลา ขนาดการลงทุน และความต้องการ และให้ลาดับความสาคัญของการจัดสรรงบประมาณประเทศให้กับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ การว่างงาน และการเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขัน และพัฒนาศักยภาพ ด้านการเกษตร และการท่องเที่ยวอย่างจริงจัง โดยเฉพาะด้านการเกษตรที่ประเทศไทยเป็นครัวของโลก ซึ่งหลังจากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย เรื่องอาหาร กับการเกษตร จะเป็นสินค้าที่มีความต้องการอย่างมากในตลาดโลก ซึ่งวิกฤตที่เกิดขึ้น ก็อาจสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยได้