ชพก. ชี้บุหรี่ไฟฟ้า มหันตภัยใหม่ สังคมโลก

วันที่ 27 กันยายน 2566 นายแพทย์ วรรณรัตน์ ชาญนุกูล ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคชาติพัฒนากล้า (ชพก.) ได้อภิปรายในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 17 ในประเด็น บุหรี่ไฟฟ้ามหันตภัยใหม่ สังคมโลก ซึ่งเราต้องต่อสู้กับการแพร่ระบาดของบุหรี่ไฟฟ้า แม้จะมีกฎหมายห้ามนําเข้า และห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้า ตั้งแต่ พ. ศ. 2557 เป็นต้นมา แต่ก็ยังมีการสูบบุหรี่ในวงกว้าง โดยเฉพาะเด็กนักเรียนและเยาวชน

ดังนั้น จะต้องมีการบังคับใช้กฎหมายกันอย่างจริงจัง ต่อเนื่องรวมทั้งการให้ความรู้ของประชาชนที่ถูกต้องแก่เด็กเยาวชนและประชาชนทั่วไป ถึงพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้าอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะในสถานศึกษาการยกเลิกกฎหมายห้ามนําเข้า ห้ามขาย แล้วออกกฎหมายใหม่มาควบคุมจะสามารถแก้ปัญหาการระบาดของบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กเยาวชนได้เป็นผลสําเร็จอย่างแน่นอน

นายแพทย์วรรณรัตน์ กล่าวว่า
บุหรี่ไฟฟ้าจะมี นิโคติน (Nicotine) ซึ่งเป็นสารเสพติดแล้วยังมีสารที่ทําให้เกิดละอองไอน้ํา คือ โพรไพลีน ไกลคอล (Propylene Glycol) และกลีเซอรีน (Glycerin) ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกาย รวมทั้งมีสารปรุงแต่งกลิ่นที่เด็กและเยาวชนชื่นชอบอีก ได้แก่ ไดอะซิทิล (Diacetyl) และสารอื่นๆอีกมากกว่า 16,000 ชนิด เป็นสารที่สามารถทําให้เกิดโรคปอดร้ายแรงตามมาได้ นอกจากนี้ ผู้ผลิตยังใช้กลยุทธ์ทางการตลาดโฆษณาสินค้าไม่ตรงกับข้อเท็จจริง เช่น บุหรี่ไฟฟ้าเป็นทางเลือกใหม่ที่ปลอดภัยกว่าบุหรี่แบบเดิม 95 เปอร์เซ็นต์ หรือบุหรี่ไฟฟ้าทําให้เลิกบุหรี่ได้มากขึ้น แต่ปัจจุบันยังไม่มีประเทศไหนในโลกที่ขึ้นทะเบียนรับรองให้บุหรี่ไฟฟ้า เป็นผลิตภัณฑ์ช่วยเลิกบุหรี่ แม้แต่ประเทศเดียว

ที่สำคัญ สํานักงานอาหารและยาของสหรัฐหรือ FBA. แถลงว่า ยังไม่พบบุหรี่ไฟฟ้าที่ปลอดภัย และช่วยให้คุณเลิกบุหรี่ได้ และสหพันธ์หัวใจโลก (The World Heart Federation) ได้รายงานว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นอันตรายใหม่ ต่อหัวใจ หลอดเลือด มะเร็ง เบาหวาน และสมรรถภาพทางเพศเสื่อมได้

ฉะนั้น เมื่อถอดบทเรียนจากประเทศที่พัฒนา อย่าง สหรัฐอเมริกาจะเห็นได้ชัดเจนว่ามีอัตราการสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นจากผู้สูบบุหรี่หน้าใหม่ทั้งในผู้ใหญ่และเด็กเยาวชน การสูบบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กนักเรียนมัธยมปลายในอเมริกาเพิ่มขึ้น 18 เท่าในเวลา 8 ปี จาก 1.5 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2011 เป็น 20.5 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2018 และเด็กเหล่านี้เกิดอาการเจ็บป่วยของโรคระบบทางเดินหายใจต้องเข้าโรงพยาบาลถึง 3,000 กว่าคนเศษ และในจํานวนนี้เสียชีวิตถึง 60 กว่าคน

สําหรับประเทศไทยแม้จะมีการห้ามนําเข้าบุหรี่ไฟฟ้า แต่ก็มีการลักลอบนําเข้ามาในประเทศ และมีการสูบกันอย่างแพร่หลาย
จากการสำรวจของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข ในระหว่างวันที่ 25 เมษายนถึงวันที่ 6 มิถุนายน 2566 พบว่า วัยรุ่นเริ่มหันมาสูบบุหรี่ไฟฟ้ากันเป็นจํานวนมาก สูงถึง 61,688 คน โดยเริ่มต้นสูบบุหรี่ไฟฟ้าเมื่ออายุเฉลี่ยเพียง 12-15 ปีเท่านั้น ซึ่งถือเป็นระเบิดเป็นลูกใหม่ของอนาคตของชาติ

นายแพทย์วรรณ กล่าวว่าจากการสํารวจความคิดเห็นของมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ จากผู้ปกครองนักเรียนชั้น ป.4-ป.6 ทั่วประเทศ จํานวน 5,582 คน ระหว่างวันที่ 22 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม 2566 พบว่า 91.5 เปอร์เซ็นต์ สนับสนุนให้รัฐบาลห้ามการนําเข้า และห้ามการขายบุหรี่ไฟฟ้า 91.5 เปอร์เซ็นต์ เห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งให้ความรู้ที่ถูกต้องถึงพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้าต่อสาธารณชนอย่างกว้างขวาง และ 93.0 เปอร์เซ็นต์เห็นว่าควรเร่งปราบปรามบุหรี่ไฟฟ้าทั้งที่ขายหน้าร้านและขายออนไลน์อย่างจริงจัง

ที่สำคัญ องค์การอนามัยโลกได้สนับสนุนให้ประเทศไทย คงมาตรการแบนบุหรี่ไฟฟ้าไว้ต่อไป
หัวหน้าทุกหน่วยงานเลขาธิการกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก.