“สุวัจน์” ชี้ การเมืองมองต่างได้ แต่ต้องจบในห้องประชุม
เสียสละ ยอมรับคนรุ่นใหม่ให้เติบโต
เพราะปัญหาของประเทศต้องการทางออกทั้งการเมืองและแนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ หลังยุคโควิด-19 “สุวัจน์ ลิปตพัลลภ” ผู้คว่ำหวอดทางการเมือง มองทางออกของประเทศไทย แบบเจาะลึก ผ่านรายการคนหลังข่าว เวลา 10.30-11.30 วันที่ 30 กันยายน 2563 ทาง TNN 16 วิเคราะห์ได้อย่างชัดเจนและตรงประเด็นว่า
“การเมืองวันนี้ ต้องเอาคนรุ่นที่ 1 หรือรุ่นที่ 2 เราต้องผสมผสาน เพราะยิ่งวันนี้สงครามการค้า Globalization และยังเป็นเรื่องสงครามเทคโนโลยี การปฏิรูปอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 และเป็นยุคนิวนอร์มอล ผมว่าวันนี้เราต้องได้นักการเมืองรุ่นใหม่ ที่เข้าใจเทคโนโลยี ถ้าถามว่าวันนี้ ต่อสู้ด้วยอะไร ก็ต้องบอกว่าต่อสู้ด้วยเทคโนโลยี และต้องการนักการเมืองที่มีวิสัยทัศน์เข้าใจเรื่องเทคโนโลยี เราต้อง Moldming คือ ต้องปั้น ต้องสร้างคนรุ่นใหม่”
นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี สะท้อนมุมมองการเมืองว่าในสังคมระบอบประชาธิปไตยจะมีความเห็นแตกต่างกัน มีความขัดแย้งกัน เพียงแต่เราสามารถจะควบคุมความขัดแย้งนั้นได้มากน้อยแค่ไหน หากเรายึดหลักกติกา ยึดหลักห้องประชุมเป็นหลัก ไม่ออกนอกห้องประชุม แค่นี้จบ จะขัดแย้งกันแค่ไหน ไม่มาคุยกันบนท้องถนน ใช้กติกาอย่างนักกีฬา เรามีกฎ เรามีกติกา ความขัดแย้งเราห้ามไม่ได้มันอาจเป็นความขัดแย้งเชิงนโยบายๆ รัฐบาลมีอย่างนี้ ประชาชนมีนโยบายแบบนี้ หรือความขัดแย้งในเรื่องของอำนาจ ผมก็อยากได้อำนาจ ผมเลือกตั้งผมแพ้คุณ คุณชนะอยู่เรื่อยเลย ไม่ให้ผมชนะสักครั้งหนึ่ง หรือความขัดแย้งในเชิงอุดมการณ์
“การเลือกตั้งเมื่อมีปัญหาแล้วคืนอำนาจให้ประชาชน ถือว่าเป็นยาที่แรงที่สุดในการแก้ปัญหา ที่ผ่านมาประวัติศาสตร์การเมือง ถ้ายุบสภาก็นับ 1 ใหม่ ลบเทป ทุกเรื่องที่เกิดขึ้น ลบเทปความขัดแย้ง จบกันใหม่ แต่ตอนนี้พี่น้องประชาชนตัดสินว่าคราวที่แล้วทะเลาะกันด้วยเรื่องนี้ ขัดแย้งด้วยนโยบายเรื่องนี้ หรือมองว่าทุจริตด้วยเรื่องนี้ แล้วให้พี่น้องประชาชนตัดสิน อันนั้นเป็นทางออกที่ดีที่สุด วิธีการแก้ไขปัญหาการขัดแย้งมันมีขั้นตอนไม่ว่าจะเป็นการปรับครม. นายกฯ ลาออก หรือการยุบสภา มันเหมือนเป็นยาๆ แต่ละขั้นตอน หมอเวลาให้ยาอาการไข้เท่านั้นให้ยานี้ แต่อย่าลืมว่ายาก็มีอายุ บางทีให้ยาที่แรงที่สุดแต่บังเอิญให้ยาช้าไป ยาหมดอายุไปก่อน เอากับสถานการณ์นั้นไม่อยู่ ”นายสุวัจน์ กล่าวและย้ำว่า
ดูจากประวัติศาสตร์การเมืองหลายๆ ครั้งยุบสภาแล้วก็ยังไม่จบ เพราะให้ยาช้าไป ถ้าตัดสินใจยุบสภาเร็วกว่านี้ หรือตัดสินลาออกเร็วกว่านี้ ยกตัวอย่าง ตอนผมเป็นรัฐมนตรีในสมัย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ์ ตอนนั้นเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง เลือกตั้งกำหนด 4 ปี แต่ตอนนั้นอยู่ได้ 10 กว่าเดือน พล.อ.ชวลิต ผมถือว่าท่านเป็นนายฯ คนหนึ่งที่มีสปิริต คือ วันที่วิกฤตเศรษฐกิจรัฐบาลขอแสดงความรับผิดชอบลาออก ท่านบอกว่าลาออกเพื่อรับผิดชอบเพื่อให้คนใหม่เข้ามาแก้ไขประเทศ อันนี้มาตามระบอบประชาธิปไตย เป็นตัวอย่างที่ดี คือ เลือกพรรคการเมืองจากกลุ่มรัฐบาล แต่ปรากฏว่าลาออก เลยเกิดสุญญากาศก็เกิดการแข่งขันกันในสภา แต่ต่อมาก็มี เสธ.หนั่น “พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ รวบรวมเสียงแข่งขันกับรัฐบาลเก่าปรากฏว่าพรรคประชาธิปัตย์ชนะ ชวน หลีกภัย ได้มาเป็นนายกรัฐมนตรี ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก็เลยกลายเป็นรัฐบาลเกิดขึ้นและเป็นรัฐบาลที่สอง ได้ธารินทร์ มาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ในที่สุดเราได้ฝ่าฟันจากวิกฤตต้มยำกุ้ง โดยไม่มีการขัดแย้ง จบด้วยแนวทางหมอให้ยาถูกจังหวัด
“พล.อ.ชวลิต บอกว่าผมไม่ไหว ผมลาออก ประธานสภาประชุมโหวตเสียงได้นายกฯ คนใหม่เข้ามาแก้ไขปัญหา ก็ไม่มีม็อบ ไม่มีความขัดแย้ง บ้านเมืองกลับมาสู่ปกติ อันนี้ผมยกตัวอย่าง จริงๆ กลไกในสภามีอยู่เพียงแต่ว่าการตัดสินใจของผู้รับผิดชอบต่อสถานการณ์นั้น เป็นดุลยพินิจที่จะเรียกใช้ และหลายๆ ครั้ง ถ้ายุบสภาให้เร็วหน่อยก็อาจจะไม่มีความขัดแย้ง แล้วก็ไปเลือกตั้งกัน ผมคลุกคลีทางการเมือง เรื่องปัญหาความขัดแย้งนี้ ถ้าเรายึดหลักประชาธิปไตย เราเสียสละ การยุบสภาเป็นการล้างไพ่หมด รีเซ็ตใหม่ นับหนึ่งใหม่แล้วยังเอาไม่อยู่ก็ไปนับสองกันใหม่ แล้วไปเลือกตั้งกันใหม่ เพียงแต่ว่านักการเมืองต้องกล้าตัดสินใจ”
นายสุวัจน์ ย้ำว่า การเมืองวันนี้ เราต้องเอาคนรุ่นใหม่ ต้องเปลี่ยนตัว ผมจำได้ตอนนั้นผมเป็น ส.ส.ครั้งแรก ปี 2531 ผมอายุ 33 ปี อยู่พรรคปวงชนชาวไทยของพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ผมอยู่พรรคฝ่ายค้านได้ 17 เสียง และพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ผมแข่งกับท่านอยู่เขตเลือกตั้งเดียวกัน สู้กันแทบเป็นแทบตาย แต่รัฐบาลชาติชายอยู่ได้แค่ปีกว่า ท่านปรับ ครม. แล้วดึงพรรคของพลเอกอาทิตย์ แล้วบอกท่านอาทิตย์ ว่าผมอยากดึง คุณสุวัจน์ มาเป็นรัฐมนตรี เพราะท่านเป็นคนรุ่นใหม่ ผมยังไม่ทราบเลยว่าที่ผมได้เป็นรัฐมนตรีเพราะพลเอกชาติชาย ไม่ใช่หัวหน้าพรรค แต่ผมก็ไปกราบพลเอกอาทิตย์ที่บ้าน ผมเล่นการเมืองเป็นส.ส.ครั้งแรกก็ได้เป็นรัฐมนตรี ผมต้องขับรถจากบ้านท่านอาทิตย์ แล้วไปกราบพลเอกชาติชาย ที่บ้านท่าน ทั้งๆ ที่ผมกับท่านแข่งกันตอนเลือกตั้ง ซึ่งผมได้ที่ 1 ท่านชาติชาย มาเป็นที่ 2 แต่ท่านได้เป็นนายกฯ แต่ผมได้เป็นฝ่ายค้าน แต่วันนั้นท่านยังมีน้ำใจ นึกถึงผมที่เป็นคู่แข่งกับท่าน
“ก่อนเลือกตั้งการเมืองพอเลือกตั้งจบแล้ว บ้านเมือง” ผมถือว่านี้เป็นประโยค คำอมตะ คือ ก่อนเลือกตั้งสู้กันให้เต็มที่ เรื่องการเมืองเป็นการเอาแพ้เอาชนะ แต่พอเลือกตั้งเสร็จแล้ว หลังเลือกตั้ง เพื่อชาติ รีเซ็ตไปแล้ว บ้านเมืองที่เราต้องร่วมมือกันทำงาน ตอนนั้นท่านชาติชาย บอกว่า ผมเป็นนายกตอน 69 ปี คุณเท่าไร (สุวัจน์) ผมอายุ 34 ปี ประเทศต้องการคนรุ่นที่ 2 เราต้องสร้างคนรุ่นที่ 2 ไว้ตลอดเวลาที่จะมาแทนคนรุ่นที่ 1 ผมจำคำพูดพล.อ.ชาติชาย ได้ตลอดเลย ในช่วงนั้นผมได้รับการสนับสนุนจากพล.อ.ชาติชาย ทุกเรื่องเลย ท่านให้ผมเป็นเลขาธิการพรรค ให้ผมเป็นรัฐมนตรีคมนาคม ชีวิตนี้ผมขาดท่านพลเอกชาติชาย ไม่ได้ วันนี้ ถึงแม้ท่านไม่อยู่ก็คิดถึงตลอดเวลาว่าวันที่ท่านอยู่ผมไม่ลำบากเท่านี้ ดูสิตอนนี้ที่พรรคมีแค่ 3 เสียงเอง แต่ทำให้ผมคิดถึงคำพูดผู้ใหญ่ทางการเมือง
“ผมว่าการเมืองวันนี้ ต้องเอาคนรุ่นที่ 1 หรือรุ่นที 2 เราต้องผสมผสานเพราะยิ่งวันนี้ สงครามการค้า Globalization และยังเป็นเรื่องสงครามเทคโนโลยี การปฏิรูปอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 และเป็นยุคนิวนอร์มอล ผมว่าวันนี้เราต้องได้นักการเมืองรุ่นใหม่ ที่เข้าใจเทคโนโลยี ถ้าถามว่าวันนี้ ต่อสู้ด้วยอะไร ก็ต้องบอกว่าต่อสู้ด้วยเทคโนโลยี และต้องการนักการเมืองที่มีวิสัยทัศน์เข้าใจเรื่อเทคโนโลยี เราต้อง Moldming คือ ต้องปั้น ต้องสร้างคนรุ่นใหม่”
ส่วนประเด็นเรื่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น สุวัจน์ มองว่า เป็นรัฐธรรมนูญที่เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้เสนอ เป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นผลพวง ทุกครั้งที่เลือกตั้งกันมา ผมเลือกตั้ง 7 -8 ครั้ง เลือกตั้งแต่ละครั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ จะเป็นคนรุ่นเก่า 75-80 เปอร์เซ็นต์ จะมีหน้าใหม่ 20 เปอร์เซ็นต์ ฉะนั้น เลือกตั้งที่ไหร่จะมีลูกมีหลานเกิดขึ้นแล้วเราก็ค่อยๆ สอนเค้า แต่เที่ยวนี้ถือว่าเกินครึ่งเป็นคนหน้าใหม่หมด ดูเวลาอภิปรายในสภาจะรุนแรงหนักในเกมและเต็มไปด้วยข้อมูล แล้วการ Presentation ทำการบ้านชัดเจน ไม่น้ำเน่า ฉะนั้น ผมดูว่าการเมืองก็เปลี่ยนแปลงเพราะรัฐธรรมนูญเก่าพอสมควร ในเรื่องของการเปิดโอกาสของคนรุ่นใหม่ ซึ่งตอนนี้มีนักการเมืองรุ่นใหม่ที่มีความคิดใหม่ๆ มีเทคโนโลยี มีวิชชัน แต่ขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับว่าการเมืองมันมีหลายมิติ มีหลายวัฒนธรรม การตัดสินใจการเมืองแต่ละครั้งอย่าไปมองเป้าเดียว ต้องมอง indirect ด้วยต้องมองความลึกด้วย มิติสี่มิติ คือ จะมองแต่สังคมอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมองเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง การต่างประเทศ เรื่องสิทธิเสรีภาพมันเป็นอะไรที่ต้องอาศัยความรอบรู้ อาศัยประสบการณ์ อาศัยความเก๋า บวกกับความสดจะทำให้เราได้คนรุ่นใหญ่ที่มีคุณภาพ
“ผมอยากเห็นคนรุ่นใหม่ หรือคนรุ่นใหม่ได้รับโอกาสจากคนรุ่นเก่า แล้วคนรุ่นใหม่ก็เคารพคนรุ่นเก่า คนรุ่นเก่าก็มองคนรุ่นใหม่เป็นน้องๆ มีอะไรพยายามถ่ายทอด คนเราถ้าไม่รู้ประวัติศาสตร์ก็ไปไม่ถึงอนาคต สมมุติ เราสร้างความรักชาติให้เกิดขึ้นก็ต้องให้คนในชาติได้เห็นประวัติศาสตร์ของชาติว่าเราอยู่กันได้อย่างไร เราต่อสู้กับศัตรูที่มารุกรานได้อย่างไร เรามีสถาบันหลักๆ อะไร เรามีวัฒนธรรมอะไร เรามีการเสียสละอะไรของบรรพชน ยึดอยู่ในใจว่าประวัติศาสตร์เป็นมาอย่างนี้ แต่บริบทตอนนี้เปลี่ยนแปลงไปแล้วก็อยากให้เราสามารถผสมผสานวิธีคิดเอาประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมของชาติ ความรู้สึกของคนไทย ความเข้าใจหลายๆ มิติในการตัดสินใจทางการเมืองนั้น ต้องมีการยับยั้งช่างใจดูให้ละเอียดจะได้เกิดประโยชน์กับประเทศมากที่สุด
สำหรับทางรอดเศรษฐกิจนั้น สุวัจน์ มองว่าวันนี้ต้องมีการขับเคลื่อนของเรื่อง implementation คือ ในภาคปฏิบัติต้องลงมาดูกันทุกเวลา ทุกนาที ทุกชั่วโมง ว่าต้องมีเป้าหมายชัดเจนว่าเรื่องนี้ต้องจบภายในวันนี้ 5 ล้านรูมไมล์ ต้องจบภายในวันนี้นะ 2 ล้านตั๋วเครื่องบินต้องจบ 5 แสนล้าน Soft loan ให้ SME ต้องจบวันนี้นะ เหมือนวันนี้มันต้องขีดเส้นถ้าไม่ขีดเส้นการกระตุ้นก็ไม่เกิด มันก็ไม่มีประโยชน์ ในที่สุดเราก็ต้องกลับมาแก้ไขปัญหาที่แก้ไม่ได้กันต่อไป ตอนนี้เราใช้หมุนเวียน 1.9 ล้านล้าน ถือว่าใช้กระตุ้นน้อยแล้วก็ยังไม่ค่อยกระตุ้นอีก เพราะมันช้าอีก
ฉะนั้น วันนี้ต้องเร่งมาตรการเก่าที่ออกมาให้มีผลใช้บังคับ คือ 1. มีผลเชิงปฏิบัติให้เร็วที่สุด 2.เรื่องของโควิด ทั่วโลกมองว่าอย่างเร็วที่สุดก็กลางปีหน้า ดังนั้น 1.9 ล้านล้าน คิดว่าไม่พอ ตอนนี้พวกสภาอุตสาหกรรมภาคเอกชนก็เริ่มพูดกันแล้วว่าเงินเก่าก็ใช้ยังไม่หมดช้า และเงินจำนวนนี้ก็คงไม่มากพอเราก็ต้องเตรียมเงินไว้ แล้วก็เตรียมเรื่องกฎกติกา อาจจะต้องไปขยายเพดานเงินกู้ ตอนนี้ 56-57 เปอร์เซ็นต์ GDP มันอาจจะขยายขึ้นไปเป็น 1 ล้านล้าน หรือ 2 ล้านล้าน แล้วจะเอาเงินที่ไหน เงินบวกมาตรการ บวกกับวิธีปฏิบัติ ดังนั้น ต้องเตรียมให้มันครบไม่อย่างนั้นคงลำบาก ตอนนี้เห็นว่าทยอยปิดงาน ผู้ประกอบการก็เริ่มปลด เกิดการว่างงานในจังหวัดต่างๆ
“ผมคิดว่าต้องมีความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหา คือ 1.รัฐบาลต้องลดขั้นตอนเกี่ยวกับนักท่องเที่ยวให้มีขั้นตอนต่างๆให้น้อยที่สุด ให้ผู้ประกอบการอำนวยความสะดวกให้มากที่สุด แล้วก็ยิงตรงกับรัฐบาลลดขั้นตอนให้รวดเร็ว ผมเข้าใจว่ามีขั้นตอนเพื่อป้องกันการรั่วไหล ทุกคนก็กลัวโดนสอบสวน แต่บางทีการกลัวมากๆ ก็ทำให้ความสำเร็จน้อยลง สถานการณ์วันนี้ ต้องกล้าตัดสินใจ ต้องกล้าที่จะมีความโปร่งใส ต้องร่วมมือกัน
“วันนี้ อยากจะแนะนำ ไม่กล้าที่จะใช้คำว่า “สอน” หรือ “ปล่อยหมัด” เดียวผมก็จะโดนน็อคเสียเอง ผมว่าต้องลงไปขันน็อต เร่งระบบในภาคปฏิบัติของผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติ ว่าจะต้องทำยังไงและต้องกำหนดเป้าหมายให้เร็วกว่านี้ ตอนนี้ช้าๆมากๆ ทุกระบบ รวมทั้งงบ 1.9 ล้านล้าน นโยบายดีแต่ภาคปฏิบัติมันไม่ประสบความสำเร็จ มันช้า และมันไม่ทัน หัวใจกระตุ้นไม่เพียงพอ เดียวมาไม่ทันเวลา กลายเป็นยาหมดอายุอีกก็จะเป็นปัญหาอีก ฉะนั้น ต้องเร่งในเรื่องของมาตรการ”
2.ต้องมองต่อไปว่า มาตรการต่างๆ การแก้ไขปัญหา คิดว่ามันต้องมี Tailor Made คือต้องหาและเข้าไปพบผู้มีปัญหาทุกภาคส่วน เราไม่สามารถใช้มาตรการเดียวแล้วคุมทั้งหมด เช่น มาตรการท่องเที่ยวเป็นอย่างนี้ มาตรการอุตสาหกรรมรถยนต์เป็นอย่างนี้ มาตรการในเรื่องของประมงเป็นอย่างนี้ มาตรการทางภาคเกษตรเป็นอย่างนี้ คือ Tailor Made เห็นรัฐบาลบอกว่า อยากที่จะทำงานแบบ New Normal ดังนั้น ต้องเป็นมาตรการเฉพาะที่ถูกออกแบบออกมาเห็นพร้องต้องกันระหว่างภาคธุรกิจกับภาครัฐ ว่าเอาแบบนี้นะ คุยต้องจบ และรวดเร็ว ผมว่าตรงนี้จะช่วยได้เลย ให้ชัดเจนในแต่ละเชกเตอร์
3. ต้องเตรียมเงินไว้ได้เลยงบ 1.9 ล้านล้าน ดูแล้วโควิดมันคงไม่จบเร็ว ฉะนั้น เราจะต้องเตรียมเงินไว้ เราอาจจะต้องขยายเพดานเงินกู้ไว้ ให้มีเม็ดเงินมากขึ้น ที่สำคัญต้องกระตุ้น 1.9 ล้านล้านให้เร็วขึ้นให้เม็ดยา 1.9 ล้านล้านได้