สำหรับทางรอดเศรษฐกิจนั้น สุวัจน์ มองว่าวันนี้ต้องมีการขับเคลื่อนของเรื่อง implementation คือ ในภาคปฏิบัติต้องลงมาดูกันทุกเวลา ทุกนาที ทุกชั่วโมง ว่าต้องมีเป้าหมายชัดเจนว่าเรื่องนี้ต้องจบภายในวันนี้ 5 ล้านรูมไมล์ ต้องจบภายในวันนี้นะ 2 ล้านตั๋วเครื่องบินต้องจบ 5 แสนล้าน Soft loan ให้ SME ต้องจบวันนี้นะ เหมือนวันนี้มันต้องขีดเส้นถ้าไม่ขีดเส้นการกระตุ้นก็ไม่เกิด มันก็ไม่มีประโยชน์ ในที่สุดเราก็ต้องกลับมาแก้ไขปัญหาที่แก้ไม่ได้กันต่อไป ตอนนี้เราใช้หมุนเวียน 1.9 ล้านล้าน ถือว่าใช้กระตุ้นน้อยแล้วก็ยังไม่ค่อยกระตุ้นอีก เพราะมันช้าอีก ฉะนั้น วันนี้ต้องเร่งมาตรการเก่าที่ออกมาให้มีผลใช้บังคับ คือ 1. มีผลเชิงปฏิบัติให้เร็วที่สุด 2.เรื่องของโควิด ทั่วโลกมองว่าอย่างเร็วที่สุดก็กลางปีหน้า ดังนั้น 1.9 ล้านล้าน คิดว่าไม่พอ ตอนนี้พวกสภาอุตสาหกรรมภาคเอกชนก็เริ่มพูดกันแล้วว่าเงินเก่าก็ใช้ยังไม่หมดช้า และเงินจำนวนนี้ก็คงไม่มากพอเราก็ต้องเตรียมเงินไว้ แล้วก็เตรียมเรื่องกฎกติกา อาจจะต้องไปขยายเพดานเงินกู้ ตอนนี้ 56-57 เปอร์เซ็นต์ GDP มันอาจจะขยายขึ้นไปเป็น 1 ล้านล้าน หรือ 2 ล้านล้าน แล้วจะเอาเงินที่ไหน เงินบวกมาตรการ บวกกับวิธีปฏิบัติ ดังนั้น ต้องเตรียมให้มันครบไม่อย่างนั้นคงลำบาก ตอนนี้เห็นว่าทยอยปิดงาน ผู้ประกอบการก็เริ่มปลด เกิดการว่างงานในจังหวัดต่างๆ “ผมคิดว่าต้องมีความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหา คือ 1.รัฐบาลต้องลดขั้นตอนเกี่ยวกับนักท่องเที่ยวให้มีขั้นตอนต่างๆให้น้อยที่สุด ให้ผู้ประกอบการอำนวยความสะดวกให้มากที่สุด แล้วก็ยิงตรงกับรัฐบาลลดขั้นตอนให้รวดเร็ว ผมเข้าใจว่ามีขั้นตอนเพื่อป้องกันการรั่วไหล ทุกคนก็กลัวโดนสอบสวน แต่บางทีการกลัวมากๆ ก็ทำให้ความสำเร็จน้อยลง สถานการณ์วันนี้ ต้องกล้าตัดสินใจ ต้องกล้าที่จะมีความโปร่งใส ต้องร่วมมือกัน “วันนี้ อยากจะแนะนำ ไม่กล้าที่จะใช้คำว่า “สอน” หรือ “ปล่อยหมัด” เดียวผมก็จะโดนน็อคเสียเอง ผมว่าต้องลงไปขันน็อต เร่งระบบในภาคปฏิบัติของผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติ ว่าจะต้องทำยังไงและต้องกำหนดเป้าหมายให้เร็วกว่านี้ ตอนนี้ช้าๆมากๆ ทุกระบบ รวมทั้งงบ 1.9 ล้านล้าน นโยบายดีแต่ภาคปฏิบัติมันไม่ประสบความสำเร็จ มันช้า และมันไม่ทัน หัวใจกระตุ้นไม่เพียงพอ เดียวมาไม่ทันเวลา กลายเป็นยาหมดอายุอีกก็จะเป็นปัญหาอีก ฉะนั้น ต้องเร่งในเรื่องของมาตรการ” 2.ต้องมองต่อไปว่า มาตรการต่างๆ การแก้ไขปัญหา คิดว่ามันต้องมี Tailor Made คือต้องหาและเข้าไปพบผู้มีปัญหาทุกภาคส่วน เราไม่สามารถใช้มาตรการเดียวแล้วคุมทั้งหมด เช่น มาตรการท่องเที่ยวเป็นอย่างนี้ มาตรการอุตสาหกรรมรถยนต์เป็นอย่างนี้ มาตรการในเรื่องของประมงเป็นอย่างนี้ มาตรการทางภาคเกษตรเป็นอย่างนี้ คือ Tailor Made เห็นรัฐบาลบอกว่า อยากที่จะทำงานแบบ New Normal ดังนั้น ต้องเป็นมาตรการเฉพาะที่ถูกออกแบบออกมาเห็นพร้องต้องกันระหว่างภาคธุรกิจกับภาครัฐ ว่าเอาแบบนี้นะ คุยต้องจบ และรวดเร็ว ผมว่าตรงนี้จะช่วยได้เลย ให้ชัดเจนในแต่ละเชกเตอร์ 3. ต้องเตรียมเงินไว้ได้เลยงบ 1.9 ล้านล้าน ดูแล้วโควิดมันคงไม่จบเร็ว ฉะนั้น เราจะต้องเตรียมเงินไว้ เราอาจจะต้องขยายเพดานเงินกู้ไว้ ให้มีเม็ดเงินมากขึ้น ที่สำคัญต้องกระตุ้น 1.9 ล้านล้านให้เร็วขึ้นให้เม็ดยา 1.9 ล้านล้านได้