“สุวัจน์” โชว์วิสัยทัศน์ เสนอ ม.ราชภัฎ เป็นมหาลัยที่พาชุมชนรู้เท่าทันโลก หลังโควิด19
” สุวัจน์”สปีชผ่านโซเชียล มอง ม.ราชภัฎ ต้อง New Normal ให้ทันโลก เสนอแนวคิด 7 ยุทธศาสตร์
เมื่อวันที่ 19 มิย.2563 เวลา 10.00 น.พบกับการปฐากถาพิเศษ “มหาวิทยาลัย หลัง COVID 19” โดย นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ นายกสภามหาวิทยาลัย การเสวนา โดยศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ นายกงกฤช หิรัญกิจ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ นายมารุต ชุ่มขุนทด ผู้ก่อตั้ง Class Cafe และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศร เนาวนนท์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ผ่านระบบโซเชียลมีเดีย ในยุค” New Normal “
นายสุวัจน์ บอกว่า มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา เป็นมหาวิทยาลัยของท้องถิ่น ที่มีวัตถุประสงค์ ที่จะตอบสนองความต้องของคนท้องถิ่น ถ้าเราจะมาวิเคราะห์บทบาทของมหาวิทยาลัยต่อไปจะเป็นอย่างไร เราก็ต้องมาวิเคราะห์ว่า อะไรจะเกิดขึ้นกับโลก และผลกระทบกับโลก และส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไร มีผลกระทบกับอีสานและโคราช อย่างไร เราก็ต้องปรับบทบทาทของเรา ให้ตรงกับ New Normal ที่จะเกิดขึ้นกับภาคอีสาน และตอบสนองของความต้องการของนานาประเทศและความต้องการประเทศไทยด้วย
สำหรับผลกระทบของวิกฤตโควิด 19 ครั้งนี้ ส่งผลกระทบไปทุกภาคส่วนด้านการท่องเที่ยว โรงแรม อุตสาหกรรม เอส เอ็ม อี
และสายการบิน ศูนย์การค้า โรงภาพยนตร์ต่างๆ ดังนั้น ผลกระทบถือว่าไป ทุกอุตสาหกรรมและทุกชีวิต ซึ่งมีผลค่อนข้างจะรุนแรง ประเทศไทยเราเคยผ่านประสบการณ์เยอะ อย่างวิกฤต ต้มยำกุ้งเมื่อปี 1997 หรือตอนที่ประเทศสหรัฐอเมริการเกิดภาวะเศรษฐกิจ เมื่อปี 2008 ตอนที่เกิดโรคโรคซาร์ส ไข้หวัดนก โรคเมอร์ส หรือตอนที่เกิดสินามิ ซึ่งเราประสบการณ์ในการเปลี่ยนผ่านความเลวร้ายทางด้านเศรษฐกิจมามากพอสมควร ผมมองว่าเราใช้วิกฤตเป็นโอกาส ผมว่ายังมีอยู่ ซึ่งเราต้องค้นหาให้เจอ ว่า โอกาสของประเทศไทย คือ อะไร ในมุมเศรษฐกิจโลกนั้น มีการประเมินกันว่า ถ้าปีหน้าเราเจอวัคซีน ก็เป็นเคสที่ดีที่สุด
ซึ่งเศรษฐกิจโลกติดลบ ถึง 5-6 เปอร์เซ็นต์ เป็นอย่างน้อย สหรัฐอเมริกาหรือกลุ่มยุโรป ญี่ปุ่นก็มีตัวเลขติดลบอยู่ระหว่าง 5-6 เปอร์เซ็นต์ บางประเทศอยู่ที่ 6- 7 เปอร์เซ็นต์ แต่ดูเหมือนจะมีประเทศเดียวที่ยังบวกอยูก็คือ จีน ที่สามารถจะมีการฟื้นตัวของโควิดได้เร็วที่สุด เพราะจีนเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ประเทศเดียวที่ยังรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นตัวเลขบวกอยู่ แม้จะลดลงแต่ประเทศอื่นๆ จะติดลบ
ซึ่งตอนนี้เราต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจประเทศไทยจะโยงกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก เราจะโยงกับจีน โยงกับยุโรป โยงกับสหรัฐอเมริกา โยงกับอาเซียน เรื่องการส่งออก เรื่องการท่องเที่ยวต่างๆ ฉะนั้น ปลายปีนี้กับปีหน้า น่าจะเป็นปีที่ยากลำบากของเศรษฐกิจโลก เพราะจากเรื่องโควิดและเรื่องเศรษฐกิจโลกที่ติดลบ และผลกระทบอื่นๆ ที่ซ้อนตัวอยู่เป็นสิ่งแวดล้อมที่ซ้อนตัวอยู่ในโลก รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านการเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกิดขึ้นที่จะมาเปลี่ยนโลก ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 มีปัญญาประดิษฐ์มาแทนมนุษย์ มีหุ่นยนต์ โรโบติ เข้ามาแทนยานพาหนะที่ไร้คนขับ มีระบบ Blockchain มี Quantum Compute พวกเทคโนโลยี ต่างๆ เหล่านี้ ก็จะมาเป็นตัวแปรในการที่จะมาเปลี่ยนโครงสร้างทางด้านเศรษฐกิจ หรือ ไลฟ์ สไตล์
นอกจากนั้น ก็จะมีตัวแปร คือภัยพิบัติต่างๆ เรื่องไฟป่า เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องฝุ่นอะไรต่างๆ ก็จะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม และต้องมาเผชิญปัญหาจากโควิด เผชิญเรื่องเศรษฐกิจ ติดลบ เผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง เผชิญกับการปฎิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เรื่องของเทคโนโลยี
และสุดท้าย ที่โลกจะเผชิญ ก็คือการเผชิญกับเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ หมายถึง ข้อตกลงทางการค้าด้านต่างๆ ที่อยู่ภายใต้กรอบกติกากลุ่มภูมิภาคที่มีการคุยกัน อย่างเช่นที่เราได้ยินว่ามีการคุยกัน อาเซียน มีการคุยถึงข้อตกลงของอาเซป หรือ CPTPP ซึ่งหลายๆ ประเทศได้เข้าร่วม แต่ของเรายังไม่ได้ข้อยุติเรื่องนี้ จะมีผลกระทบหรือไม่มีผลกระทบนั้นก็เป็นเรื่องที่เราจะต้องตัดสินใจกันต่อไป หรือในเรื่องของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน ซึ่งเคยเบาบางลง และหลังจากโควิด ก็กลับมารุนแรงในเรื่องของอุดมการณ์ เศรษฐกิจ การเมือง ความมั่นคง ที่อาจจะส่งผลกระทบกลายเป็นสงครามเย็นที่จะเกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของโลก
ฉะนั้น พวกตัวแปรต่างๆเหล่านั้น ที่ผมคิดว่าจะทำให้โลกน่าจะมีความละเอียดอ่อน ในเรื่องระบบเศรษฐกิจต่างๆมากขึ้น ยังไม่รวมถึงในเรื่อง Belt and Road Initiative Change เส้นทางสายไหม ต่างๆ ซึ่งบางอย่างก็อาจจะเป็นบวก บางอย่างก็อาจจะเป็นลบ แต่ผมชี้ให้เห็นว่า โลกหลังโควิดมีตัวแปรเยอะ ความสับสนต่างๆ ก็อาจจะมีผลกระทบกับประเทศไทย
ซึ่งตั้งแต่เกิดโควิดมาเราได้ดำเนินการอยู่ 4 ด้าน ได้แก่
1.การแก้ไขสถานการณ์ เราได้มีมาตรการและพระราชกำหนดฉุกเฉิน มีการประกาศเคอริฟิวส์
มีการรณรงค์ Distancing ซึ่งเราได้ดำเนินการมาได้ด้วยดี
และขณะนี้เราอยู่ในช่วงที่ 2 คือ การฟื้นฟู จะเห็นว่ามีการ อนุมัติเงิน 1.9 ล้านล้านบาทตามพระราชกำหนดฉุกเฉิน และตามพรก.กู้เงิน และได้มีการนำเงินงบประมาณปี 63 บางส่วนกลับมาใช้ส่วนที่มีความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาโควิด รวมทั้งงบประมาณปี 64 ที่กำลังจะเข้าสภาก็จะเป็นวงเงินที่จะใช้ในการฟื้นฟูประเทศก็ถือว่าอยู่ในระยะที่ 2 และระยะที่ 3
ระยะที่ 4 ต่อไปก็คือ เมื่อเรากลับมาเหมือนเดิมแล้ว ทุกอย่างไม่เหมือนเดิมก็ทุกคนที่พูดกันว่า เป็น New Normal ฉะนั้นจากนี้ไป เราก็ต้องพูดกันว่า New Normal ของประเทศไทย คือ อะไร เราจะมีการปฎิรูป การบริหารประเทศอย่างไร ซึ่งท่านนายกรัฐมนตรี บอกว่า รัฐบาลจะทำงานแบบ New Normal และได้เชิญชวนประชาชน และนักวิชาการผู้รู้ต่างๆ มาช่วยกันให้ข้อเสนอแนะก็คือการมีส่วนรวมของประชาชน กับการพัฒนาประเทศมากขึ้น
2.ตัวชี้วัดประสิทธิภาพ ชี้วัด นโยบายต่างๆ ให้ประชาชนได้เข้ามาช่วยกันในการให้ความเห็นและเพื่อให้รัฐบาลได้เข้ามาปรับปรุง และ now normal รัฐบาลมีการทำงานในเชิงรุกที่มากขึ้น
“ผมคิดว่าเป็นการทำงานในเชิงรุกของรัฐบาล ให้สอดคล้องกับnew normal ที่จะเกิดขึ้น ถึงแม้ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบก็ต้องเป็นที่เรื่องที่เราต้องต่อสู้ และเราก็ผ่านมาได้ทุกครั้ง ไม่ว่าจะมีวิกฤตอะไร ไม่ว่าวิกฤตต้มยำกุ้ง เราก็ผ่านมาได้ สินามิ เราก็ผ่านมาได้ ตราบใดที่คนไทยมี ความร่วมมือร่วมใจกัน ดังนั้น วิกฤตหลายอย่าง บางที่ก็เป็นโอกาส”
สุวัจน์ กล่าวและย้ำว่า อย่าเพิ่งไปกังวลว่าโควิดจะทำให้เราเสียหายอะไรมาก ท่ามกลางวิกฤตย่อมมีโอกาส ที่ผมคิดว่าเป็นโอกาสของประเทศไทยก็คือ ความสำเร็จ ในเรื่องของการควบคุมโควิดได้ ถือว่าเราได้รับคำชมเชย จากทั่วโลกว่าประเทศไทยมีการบริหารการจัดการที่ดี มีพื้นฐานของสาธารณสุขที่ดี มีความร่วมมือร่วมใจ ประชาชนคนในชาติที่ดี ทำให้เราพ้นเรื่องโควิดมาได้
ฉะนั้น ตอนนี้กลายมาเป็นจุดแข็งมาพูดในเรื่องว่าเมืองไทยนี้ปลอดภัย มาเมืองไทย มีระบบสาธารณสุขที่ดี
มาเมืองไทยแล้วไม่ต้องกลัวโรคนั้นโรคนี้ พื้นฐานที่เราดูแลเรื่องโควิดได้นี้ก็เหมือนเราเอาวิกฤตมาเป็นโอกาส
จากนี้ไปประเทศไทยมีจุดแข็ง เราก็ต้องมีการพัฒนา เรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ด้านสาธารณสุขให้เข้มแข็งต่อไป เพื่อเป็นการต่อยอด ว่าเมืองไทยมีระบบสุขภาพอนามัย สาธารณสุข และมีโครงสร้างพื้นฐานเข้มแข็ง เพื่อเป็นการรองรับพื้นฐาน เศรษฐกิจ อย่าง BOI เราลดภาษีให้คุณมาลงทุน และต่อไปผมเชื่อว่านักลงทุนหรือนักท่องเที่ยวจะแห่มาเมืองไทย
“ผมว่านี้จะเป็นจุดขายที่แรงมาก ที่จะทำให้ประเทศไทยเราเป็น Medical hup หรือเป็น wellness Center ของโลกเลย และมีการพัฒนาความสำคัญทางด้านสาธารณสุขให้มากขึ้นเพื่อมาต่อยอดและส่งผลกับเศรษฐกิจ”
ส่วนที่สามผมว่า น่าจะเป็นจุดของการท่องเที่ยว เมื่อเกิดโควิด พฤติกรรมของการท่องเที่ยวก็เปลี่ยนไป ต่อไปการท่องเที่ยวจะเป็นการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การท่องเที่ยวในเชิงวัฒนธรรม การท่องเทียวที่ไปตามชนบท การท่องเที่ยวที่ไม่แออัด ซึ่งผมเชื่อว่าการท่องเที่ยวไทย จะสามารถขยาย ไปตามต่างจังหวัดได้ยกตัวอย่างที่จังหวัดนครราชสีมา เรามีเขาใหญ่ สามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ เรามีวังน้ำเขียว เรามีแหล่งโอโซนที่สูงที่สุด เขาใหญ่มรดกโลก มาแล้วไม่แออัด อากาสดี
อย่างการท่องเที่ยวในท้องทะเล ต่างๆ ในช่วงโควิด ระบบสภาพแวดล้อมทะเลต่างๆ ได้กลับคืนมา ซึ่งการท่องเที่ยวไทยก็จะมี
Medical tourism การท่องเทียวในเชิงสุขภาพ วัฒนธรรม การท่องเทียวที่จะไปต่างจังหวัดมากขึ้น
“ผมคิดว่าการท่องเที่ยวก็จะเป็นจุดแข็งของประเทศไทย คือ สาธารณสุข เมืองสุขภาพ เมืองไทยเมืองท่องเที่ยว เมืองอาหารป้อนโลก เมืองเกษตร เป็นเมืองข้าว เมืองยาง เมืองอ้อย ข้าวโพด เมืองน้ำมันปาล์มต่างๆ ก็ถือได้ว่า เป็นจุดแข็งของประเทศไทย”
และส่วนที่สี่ คือ โครงสร้างของประเทศไทยให้ความสำคัญกับสิ่งที่เป็นจุดแข็ง และก็ต่อยอดสิ่งต่างๆ เหล่านี้ เพื่อมาชดเชยกับสิ่งที่ได้รับผลกระทบ
“เราก็พูดคำว่า “ชาตินิยม”กันเพิ่มขึ้น เช่นคนไทยที่ไปลงทุนที่ต่างประเทศ วันนี้ต้องมีการทบทวน เชิญชวน มาลงทุนเมืองไทยได้ไหม เที่ยวต่างประเทศน้อยลง เที่ยวเมืองไทยได้ไหม Made in Thailand กลับมา ไทยทำไทยใช้ ไทยเจริญ ก็คือ สร้างชาตินิยม เพื่อให้เรายืนอยู่ได้ บนเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง ด้วยตัวของเราเอง”
สำหรับบทบาทของมหาวิทยาลัยจากนี้ไป ผมมองไว้ 7-8 เรื่อง ที่เราสามารถจะ เสริมให้กับท้องถิ่นเพื่อทำให้วิถีชีวิต ทำให้ไลฟ์สไตล์ภายใต้ New Normal หรือทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจของ คนในภาคอีสานดีขึ้น ได้แก่
1.เรื่องหลักสูตร การปรับหลักสูตร การผลิตนิสิตนักศึกษาให้สอดคล้องกับโอกาสทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับจังหวัดนครราชสีมา
2.มีการปรับรูปแบบการเรียนการสอน ในการที่จะใช้เทคโนโลยีต่างๆ ในการเรียนทั้งในห้องเรียนทั้งเรื่อง E-Leaning หรือลักษณะทำงานไปด้วยและอยู่ในสถานที่ประกอบการไปด้วย ซึ่งทำให้หลักสุตรของเราแน่นขึ้น
3.มีส่วนสำคัญที่จะผลิต SME รุ่นใหม่ ผลิตไมโคร SME หรือ Start Up ต่างๆ เพื่อจะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างผู้ประกอบการ ตามโครงสร้างทางเศรษฐกิจ
4.ในเรื่องของอาหาร ภาคเกษตร เราสามารถที่เข้าไปช่วย พัฒนาในเรื่องระบบ Smart Farming และสร้าง Smart Farmer ให้เกิดขึ้น เพื่อจะชูว่าให้อีสานเป็นเมืองอาหาร ป้อนโลก
5.เรื่องภาษา เป็นเรื่องที่ให้ความสำคัญ นำไปสู่การหาเทคโนโลยี เราสามารถท่องโลกออนไลน์ได้ และภาษาก็ต้อนรับนักท่องเที่ยวได้
6.เรื่องเทคโนโลยี การพัฒนาเทคโนโลยี ของมหาวิทยาลัยเป็นพื้นฐานที่สำคัญ
7.เรื่อง จีโน พาร์ค จะเป็นการสร้างชื่อเสียงสำคัญพื้นฐานสำคัญการท่องเที่ยว เศรษฐกิจการลงทุนต่างๆ ซึ่งทั้งโลกให้ความสนใจในเรื่อง จีโน พาร์ค