ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยช่วยผู้ประกอบการนวดเพื่อสุขภาพและสปาไทย

การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-๑๙ ขณะนี้เริ่มทาให้ประชาชนเรียนรู้ และเข้าใจการใช้ชีวิตในสถานการณ์ New normal ได้แล้วว่าจะต้องปฏิบัติตนอย่างไร ประกอบกับสาธารณสุขแพทย์แผนปัจจุบันก็เร่งค้นคว้าหาวิธีป้องกัน และรักษาผู้ติดเชื้อนี้อย่างเร่งด่วนเนื่องจากเป็นโรคติดต่ออุบัติใหม่ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน จึงไม่อาจป้องกันด้วยยาหรือวัคซีนได้ การรักษาก็เป็นการรักษาตามอาการ ให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อนี้จนสลายไปในระยะเวลา ๕-๗ วันผู้ป่วยก็จะกลับมาเป็นปกติ ขณะเดียวกันการแพทย์แผนไทยและภูมิปัญญาไทยที่มีการรักษาอาการของโรคต่าง ๆ มาหลายร้อยปี สมุนไพรที่ใช้สามารถ รักษาตามอาการของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี มีบันทึกเป็นคัมภีร์ สืบทอดกันมาและข้อดีของการแพทย์แผนไทยคือการสร้างภูมิให้แข็งแรงกับร่างกายเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้ามาทาลายอวัยวะภายในได้ การแพทย์แผนไทยจึงมีการเสริมภูมิเปรียบเสมือนการสร้างเกราะป้องกันให้กับร่างการนั่นเอง ศูนย์สภาการแพทย์แผนไทย ต้านภัยโควิด-๑๙ จึงได้จัดตั้งคลินิกอาสา ที่มีอยู่ทั่วประเทศ ช่วยเหลือประชาชนอีกส่วนหนึ่ง ที่เป็นรูปธรรม ด้วยการเป็นที่ปรึกษาให้กับประชาชนที่มีความต้องการคาแนะนา ในการดูแลสุขภาพตนเองทั้งที่เป็นกลุ่มเสี่ยง และผู้ติดเชื้อโควิด แล้ว
ปัจจุบันรัฐบาลได้เริ่มผ่อนคลายและเปิดประเทศในวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ เพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศเดินหน้าไปได้ และสถานประกอบการธุรกิจ ด้านต่าง ๆ ได้เริ่มทยอยเปิดกิจการ ทาให้ต่างต้องหามาตรการป้องกัน เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ขณะนี้เครือข่ายกิจการนวดเพื่อสุขภาพและสปาไทย เป็นอีกหนึ่งในกิจการที่ต้องหามาตรการดูแลบุคคลากรในสถานประกอบการของตน ให้ปลอดภัยจากเชื้อโควิด – ๑๙ นอกเหนือจากการควบคุมและปฏิบัติตามมาตรการจากภาครัฐที่ออกมาเพื่อให้เกิดความมั่นใจต่อผู้รับบริการ จึง ได้ขอความร่วมมือกับสภาการแพทย์แผนไทย โดยศูนย์สภาการแพทย์แผนไทยต้านภัยโควิด – ๑๙ และภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ได้จัดทาโครงการ “หมอนวดไทยปลอดภัยโควิดด้วยภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย” โดยเริ่มต้นพร้อมกับการเปิดประเทศ คือ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ เข้าดูแลเป็นการเฉพาะบุคลากรที่อยู่ในสถานประกอบการนวดเพื่อสุขภาพ และสถานประกอบการสปาไทย ด้วยระบบการปรึกษาทางโทรศัพท์ เสมือนหนึ่งมีหมอประจาตัว
ประเด็นสาคัญที่ศูนย์การแพทย์แผนไทยและเครือข่ายให้ความสาคัญเป็นพิเศษในโครงการนี้นอกเหนือจากการดูแลสุขภาพแล้ว นั่นคือการให้ความรู้แก่ผู้ให้บริการที่เข้าร่วมโครงการ ด้วยการจัดอบรมความรู้เรื่องสมุนไพร ความรู้เรื่องภูมิปัญญาไทย ที่จะนามาใช้ กับการดูแลตนเอง ไม่ให้เข้าใจแบบผิดๆ ที่มีการแชร์ใน
โซเชียล ทุกวันนี้ และการเพิ่มพูนความรู้ทักษะให้หมอนวดไทยในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ มีความรู้ความสามารถ ซึ่งในอนาคตอาจทาให้ภาครัฐตาสว่างมากขึ้น ไม่ต้องสั่งปิดกิจการเช่นเดิมอีกที่เข้าใจว่าการนวดไทยและการนวดเพื่อสุขภาพเป็นกิจการที่มีความเสี่ยงสูง อีกต่อไป
แนวทางการดาเนินงาน
ระยะที่ ๑
๑. ให้ผู้เข้าร่วมโครงการตรวจคัดกรองโดยระบบ ATK ที่ได้รับแจกจาก สปสช. แจ้งผลให้ศูนย์สภาการแพทย์แผนไทยผ่านคลินิกอาสาที่มีอยู่ทั่วประเทศทาการบันทึกผล เพื่อดูแลต่อไป
๒. แยกผู้ติดเชื้อออกมาเข้าระบบ HI ส่วนผู้ไม่ติดเชื้อให้อยู่ในความดูแล ของหมอแผนไทยในคลินิกอาสาที่ใกล้กับผู้รับบริการ
๓. แจกจ่ายยาสมุนไพรเสริมภูมิ และสมุนไพรตามอาการแต่ละคนโดยคาแนะนาของแพทย์แผนไทย
๔. จัดทาข้อมูลของผู้เข้ารับบริการทุกคนเพื่อติดตามผล และเป็นหลักฐานต่อไป
๕. ประกาศหรือแจ้งรายชื่อสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการให้ผู้รับบริการได้ทราบ
๖. ประชุมชี้แจงโครงการ และรับสมัครผู้เข้าร่วม พร้อมทั้งประกาศให้ประขาขนรับทราบ
๗. จัดการอบรมผู้เข้าโครงการให้ความรู้เรื่องสมุนไพร และภูมิปัญญาไทย กับการแพร่ระบาดของโควิด -๑๙ ในการดูแลสุขภาพให้ถูกทาง
ระยะที่ ๒
จัดทาโครงการพัฒนาทักษะ ให้หมอนวดเพื่อสุขภาพ สามารถเรียนรู้ต่อยอดจากการเรียนนวดพื้นฐานให้เป็นผู้ช่วยแพทย์แผนไทยหลักสูตรที่สูงขึ้น และการนาเสนอให้มีการปรับปรุงกฎระเบียบ ที่เป็นอุปสรรคการประกอบอาชีพในกิจการนวดเพื่อสุขภาพต่อไป
ระยะเวลาการดาเนินงาน
โครงการแบ่งเป็น ๓ ระยะ ใช้เวลา ๓ เดือน นับตั้งแต่วันที่เริ่มโครงการ
ระยะที่ ๑ เริ่มประชาสัมพันธ์ และเตรียมการประชุมชี้แจงเครือข่าย อาสาสมัคร และผู้เข้าร่วมโครงการ ทาระบบการลงทะเบียน ใช้เวลา ๑๕ วัน และแจ้งผลการคัดกรองการตรวจ ATK ของผู้เข้าร่วมกับคลินิกอาสาเพื่อดูแลต่อไปในกรอบระยะเวลา ๑๕ วัน
ระยะที่ ๒ ช่วงดาเนินการติดตาม ดูแล แจกจ่ายยาสมุนไพร แบ่งเพื่อเป็นสองระยะ ๑๕ วันแรกและ ๑๕ วันหลัง ผู้เข้าร่วมโครงการต้องได้รับการตรวจ ATK หลังการเข้าร่วมครบ ๗ วัน เพื่อประเมินผู้เข้าโครงการ และดาเนินการตรวจซ้าเมื่อครบ ๑๕ วัน
ระยะที่ ๓ สรุปผลการดาเนินงาน และจัดอบรมให้ผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากเชื้อโควิด – ๑๙ ตั้งแต่การดาเนินชีวิต และการกินอาหาร รวมถึงการใช้สมุนไพร เสริมภูมิ ทีจาเป็น รูปแบบการดาเนินงานจะจัดตามเงื่อนไข และโอกาส ที่สถานการณ์ การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด – ๑๙ จะเอื้ออานวยได้มากน้อยแค่ไหน
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์สภาการแพทย์แผนไทย ต้านภัยโควิด – ๑๙ พล.ร.อ. ชาญชัย เจริญสุวรรณ รักษาการสภาการแพทย์แผนไทย ประธานศูนย์สภาการแพทย์แผนไทย ต้านภัยโควิด-๑๙
เครือข่ายที่เข้าร่วม
๑. สมาคมเภสัชและอายุรเวชโบราณแห่งประเทศไทย ( น.ส.นุสรา อุปเสน )
๒. ชมรมแพทย์แผนไทยภาครัฐ ( น.ส.จิตรณิญาณ์ ฐิติปัญญรัตน์ ประปานชมรม )
๓. มูลนิธิตามรอยบาทพระศาสดา ( )
๔. สมาคมผู้ประกอบการสปาไทย (นายนพพร วิสุทธิศักดิ์ชัย นายกสมาคม )
๕. สมาคมจารวีอนุรักษ์นวดไทย ( นายพิทักษ์ โยธา นายกสมาคม )
๖. องค์กรปกป้องและส่งเสริมภูมิปัญญาการนวดไทย ( )
ผู้ประสานงานโครงการ
นายนพพร วิสุทธิศักดิ์ชัย ๐๙๕-๘๒๐๕๓๗๘