บุกร้อง!แก้ปัญหาน้ำเสีย ติดอาวุธทางปัญญาประชาชน
เมื่อวันที่ 8 พ.ค.67
นายสำราญ สินธ์ทอง ที่ปรึกษาประธานกรรมาธิการที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสภาผู้แทนราษฎรพร้อมด้วยคณะไปยื่นหนังสือเรื่องการแก้ปัญหาการจัดการน้ำเสียต่อพล.ต.อ.พัชราวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) ในโอกาสเดินทางมาเป็นประธานเปิดอาคารสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดภูเก็ต (หลังใหม่) โดยมีนายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต,นายชิดชนก สุขมงคล รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นายวัฒนพงษ์ สุกใส ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดภูเก็ต
นางดาวรุ่ง ใจจริง ผู้อำนวยการกองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน นายไชยภูมิ สิทธิวัง ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 4 (สุราษฎร์ธานี) นายธเนศ มั่นน้อย ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 (พังงา) นายวิษณุ แจ้งใจ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 10 ตลอดจนคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ในสังกัด ทส. และทช.รวมถึงหัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน เข้าร่วม ณ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดภูเก็ต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
สำราญ กล่าวว่าตนพร้อมด้วยคณะไปยื่นหนังสือต่อ พล.ต.อ.พัชราวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) เรื่องการจัดการน้ำเสียและขยะในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ว่าสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของคุณภาพน้ำทะเลชายหาดเกาะภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ด้วยมูลนิธิอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสาธารณประโยชน์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชายฝั่งอันดามัน อันประกอบด้วยชายฝั่งทะเล จังหวัดระนอง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง และจังหวัดสตูล ได้ตระหนักถึงปัญหาความเสื่อมโทรมของคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งอันดามัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชายฝั่งทะเลเกาะภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ที่เป็นที่ตั้งของชายหาดที่สวยงามมากถึง ๒๖ ชายหาด ซึ่งชายหาดดังกล่าวเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั่วโลก โดยในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวจำนวนมาก สามารถสร้างความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจให้แก่จังหวัดภูเก็ตและประเทศไทยได้อย่างมีนัยสำคัญ แต่ปัจจุบันพบว่าบริเวณชายหาดต่างๆมีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะ เรื่องความเสื่อมโทรมของคุณภาพน้ำทะเล สาเหตุมาจากการปล่อยน้ำเสียจากชุมชนและสถานประกอบการ ลงสู่ทะเล มีการปนเปื้อนของสารอินทรีย์และเชื้อแบคทีเรีย ทำให้คุณภาพน้ำทะเลมีคุณภาพต่ำลงมากปัญหานี้เกิดขึ้นบริเวณชุมชนขนาดใหญ่ เช่น ด้านตอนใต้ของหาดป่าตอง ด้านตอนใต้ของหาดกมลา เป็นต้น ปัญหาดังกล่าวหากไม่มีการจัดการเรื่องน้ำเสียอย่างเหมาะสม จะทำให้ชายหาดสภาพเสื่อมโทรมลงได้ในอนาคต มูลนิธิอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน จึงขอกราบเรียนสภาพปัญญาและแนวทางแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของคุณภาพน้ำทะเลชายหาดเกาะภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต พพอสังเขปดังต่อไปนี้ สภาพปัญหาอาทิการปล่อยน้ำเสียลงคูคลองที่ไหลลงชายหาด สาเหตุเกิดจากมีปริมาณน้ำเสียจากครัวเรือนและสถานประกอบการที่ยังไม่ผ่านการบำบัดถูกระบายลงคูคลองข้างเคียงโดยตรง เป็นเหตุให้น้ำในคูคลองมีการปนเปื้อนสารอินทรีย์และเชื้อโรคอันตรายเกิดสภาพ เน่าเสีย มีสีดำคล้ำและมีกลิ่นแก๊สไข่เน่าคละคลุ้ง และเมื่อน้ำในคูคลองเหล่านี้ไหลลงทะเลเป็นเหตุให้น้ำทะเลชายหาดต่างๆมีสภาพน่ารังเกลียดไม่เหมาะกับกิจกรรมการท่องเที่ยวและมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไป,ระบบรวบรวมน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียที่ได้ก่อสร้างไว้แล้วไม่ครอบคลุมพื้นที่ที่มีความหนาแน่นของชุมชนและสถานประกอบการ ปัจจุบันในเขตเกาะภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต มีระบบรวบรวมน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ก่อสร้างไว้แล้วจำนวน ๑๐ แห่ง แต่การรวบรวมน้ำเสียเข้าระบบบำบัดน้ำเสียยังไม่ครอบคลุมแหล่งกำเนิดน้ำเสียที่เกิดจากการขยายตัวของชุมชนและสถานประกอบการตามการเติบโตของเศรษฐกิจได้ เป็นสาเหตุให้น้ำเสียส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในเกาะภูเก็ต จังหวัดภูเก็ตถูกระบายสู่คู คลอง หรือแหล่งน้ำธรรมชาติโดยตรง แนวทางแก้ไขปัญหา ในระยะเร่งด่วน
คือส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการเผยแพร่ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำเสีย ให้แก่ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข้าราชการ พนักงาน ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป ให้มีความรู้พื้นฐานการจัดการน้ำเสียเพื่อความตระหนักในการจัดการปัญหา, ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการรณรงค์ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการลดปริมาณการใช้น้ำการบำบัดน้ำเสียจากครัวเรือนขั้นต้น การติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียที่ถูกต้องตามหลักวิชาการของสถานประกอบการขนาดใหญ่ การต่อเชื่อมท่อระบายน้ำจากครัวเรือนและสถานประกอบการเข้าระบบรวบรวบ น้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังคุณภาพน้ำในคูคลองและน้ำทะเลชายหาด เป็นต้น โดยในระยะสั้น
สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการก่อสร้างระบบรวบรวมน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียขึ้น และสนับสนุนให้มีการก่อสร้างเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียที่ก่อสร้างไว้เดิมโดยขอให้กองทุนสิ่งแวดล้อม สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมาชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาสนับสนุนงบประมาณเพื่อการก่อสร้างให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ มีความพร้อมต่อไป