มูลนิธิส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจับมือมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ แห่งประเทศไทยและมูลนิธิอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอันดามันจัดเสวนา ขับเคลื่อนที่มาของผู้ว่าราชการจังหวัดข้อเสนอรูปแบบและแนวทางการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดที่เหมาะสม
วันนี้ (23 ส.ค. 67) เวลา 09.00 น. ที่โรงแรมเดอะพาโก้ อ.เมือง จ. ภูเก็ต นายสำราญ สินทอง เลขาธิการมูลนิธิอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กล่าวกล่าว เปิดเสวนาและต้อนรับศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ พวงงาม มูลนิธิกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น อดีตรองคณบดีสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคท้องถิ่นไทย และต้อนรับวิทยากรสื่อมวลชนเชิญแขกผู้มีเกียรติ
มูนิธิส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับมูลนิธิ คอน ราด อา เด นาวร์ แห่งประเทศไทย และมูลนิธิอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน ได้ร่วมกันจัดโครงการเสวนา การขับเคลื่อนที่มา ของผู้ว่าราชการจังหวัด ข้อเสนอรูปแบบและแนวทางการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดที่เหมาะสม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอที่มาของผู้ว่าราชการจังหวัดและแนวทางการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดที่เหมาะสม ให้มีการระดมความคิดเห็นอย่างหลากหลายในทุกภาคส่วนซึ่งจะเป็นชุดข้อมูลสำคัญต่อการขับเคลื่อน แนวทางการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดที่เหมาะสมเหมาะสมสอดคล้องกับบริบทสังคมไทย โดยให้ความสำคัญการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นอย่างแท้จริง สำราญ ต้อนรับผู้เข้าร่วมเสวนาทุกท่านและขอขอบคุณที่ทุกท่านเสียสละเวลาอันมีค่าเพื่อมาร่วมกิจกรรมในวันนี้และ หวังเป็นอย่างยิ่งว่ากิจกรรมในวันนี้จะเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองและได้เชิญแขกผู้มีเกียรติทุกท่านร่วมเปิดโครงการเสวนา
มูลนิธิส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น และมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ แห่งประเทศไทยได้ร่วมกับมูลนิธิอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ อันดามัน จัดเสวนา “การขับขับเคลื่อนที่มาของผู้ว่าราชการจังหวัดข้อเสนอรูปแบบและแนวทางการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดที่เหมาะสม” โดยมีนายสำราญ สินธ์ทอง เลขานุการมูลนิธิอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอันดามันและนางนภาจรี จิวะนันทประวัติ ตัวแทนมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ แห่งประเทศไทยเป็นผู้กล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดการสัมมนาตามลำดับ มีการนำเสนอและวิพากย์ที่มาของผู้ว่าราชการจังหวัดฯ โดยศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ พวงงาม ตัวแทนมูลนิธิส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นและหัวหน้าโครงการ, นายสุทธิเกียรติ อังกาบูรณะ นักวิจัยโครงการฯ ,รองศาสตราจารย์ ดร. กิจฐเชต ไกรวาส กรรมการสภาวิชาการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และนายสุเทพ วุฒิศักดิ์ อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย นำโดยและมีภาคประชาสังคมและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมให้ความคิดเห็น
นายสำราญ กล่าวว่า ด้วยมูลนิธิส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ พวงงาม ตัวแทนมูลนิธิส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น และมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ แห่งประเทศไทยได้ร่วมกับมูลนิธิอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน ได้ร่วมกันจัดโครงการเสวนาการขับเคลื่อนที่มาของผู้ว่าราชการจังหวัดข้อเสนอรูปแบบและแนวทางการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดที่เหมาะสมในรูปแบบต่าง ๆ ควบคู่ไปกับการรับฟังความคิดเห็นต่อการเลือกรูปแบบและแนวทางการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดที่เหมาะสมอันจะเป็นชุดข้อมูลสำคัญต่อการขับเคลื่อนให้ปรับปรุงหรือแก้ไขที่มาของผู้ว่าราชการจังหวัดโดยเฉพาะแนวทางการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดให้ประสบผลสำเร็จต่อไป
ขณะที่นางนภาจรี กล่าวว่าการปกครองท้องถิ่นเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ระบอบประชาธิปไตยจะสมบูรณ์ไม่ได้ถ้าไม่มีการกระจายอำนาจและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคือองค์ประกอบที่สำคัญเพราะเป็นประชาธิปไตยที่ใกล้มือของประชาชนมากที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถสนองตอบต่อปัญหาและความต้องการของประชาชนได้อย่างทั่วถึง จึงต้องมีการแบ่งอำนาจ บทบาทหน้าที่และทรัพยากรด้วย ซึ่งในประเทศยุโรปหลังจากมีการรวมตัวกันเป็นสหภาพยุโรปและมีการจัดตั้งธรรมนูญของสหภาพยุโรปซึ่งมีหลักการที่สำคัญคือ การให้ความคุ้มครองสิทธิของชุมชนคือโครงการใด ๆ ก็ตามที่จะมีการจัดทำต้องให้ท้องถิ่นได้มีโอกาสทำหรือจัดการตนเองก่อนเสมอ ถ้าท้องถิ่นไม่ขอร้องหน่วยงานใด ๆ จะเข้ามายุ่งไม่ได้ ซึ่งถ้าหากหลักการในประเทศไทยเป็นแบบนี้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการกระจายอำนาจและการปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทยเป็นอย่างมากซึ่งจะส่งผลดีต่อการบริการและการแก้ปัญหาต่อท้องถิ่นต่าง ๆ ทั่วประเทศ
สำหรับเนื้อหาในการสัมมนาในวันนี้เป็นการนำเสนอใน 5 ประเด็นของรูปแบบที่ได้มีการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการมาแล้วทั้งปี ซึ่งประกอบด้วย รูปแบบที่ 1 รูปแบบการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรงและปรับโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินแบบ 2 ชั้น, รูปแบบที่ 2 รูปแบบและแนวทางการใช้การเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรงและให้ลดอำนาจการบริหารราชการส่วนภูมิภาคลงโดยยังคงมีตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะตัวแทนรัฐส่วนกลาง มีอำนาจอยู่ในขอบเขตจำกัด, รูปแบบที่ 3 รูปแบบและแนวทางการใช้การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแทนการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยให้ถ่ายโอนจำนาจหน้าที่ ภารกิจ งบประมาณและทรัพยากรการจัดทำบริการสาธารณะให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด, รูปแบบที่ 4 รูปแบบและแนวทางการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดในจังหวัดที่มีความพร้อมโดยทดลองเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดในจังหวัดที่มีความพร้อมและเหมาะสมและรูปแบบสุดท้ายคือ รูปแบบและเนวทางให้มีผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการแต่งตัวในรูปแบบใหม่และรักษาโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินแบบเดิมไว้ ซึ่งความคิดเห็นจากทุก ๆ ฝ่ายในครั้งนี้ จะช่วยให้รูปแบบมีความชัดเจนและตรงใจชาวจังหวัดภูเก็ตมากยิ่งขึ้น