เปิดตำนาน “ตระกูลสุวรรณชาติ”
เจ้าของที่ดิน”ตลาดสุรนคร”สู่”ตลาดสุรนารี”
“ตระกูลสุวรรรณชาติ” จากพ่อค้า ชาวนา ด้วยความขยัน อดทน ซื่อสัตย์ กลายเป็นอภิมหาเศรษฐีที่ดินโคราช สู่เจ้าของที่ดิน “ตลาดสุรนครโคราช” สู่”ตลาดสุรนารี โคราช” ตลาดกลางค้าส่งรายใหญ่โคราช
นายไพโรจน์ สุวรรณชาติ หนึ่งในทายาทตระกูลสุวรรณชาติ บอกเล่าความเป็นมาของตระกูลสุวรรณชาติ ว่าถือกำเนิดจาก “นายสนิทและนางประกอบ สุวรรณชาติ” พ่อค้าชาวไทยเชื้อสายจีนผู้มีความขยัน อดทน ซื่อสัตย์ ในการทำมาหากินโดยสุจริต สองคนผัวเมียสร้างฐานะด้วยการค้าขายในตลาด ซึ่งพ่อสนิทจะซื้อวัว ควายมาชำแหละแล้วนำไปขายที่ตลาดประตูชุมพล หรือตลาดเทศบาลเก่า (ปัจจุบันตลาดได้ย้ายไปตามนโยบายของเมือง)
หลังจากขายของในตลาดเสร็จพอถึงหน้าทำนา พ่อสนิทกับแม่ประกอบ ก็จะลงมือทำนาด้วย ทั้งสองคนขยันทำมาหากินอดออมเงินทองทยอยซื้อดินที่ละแปลง สองแปลง จนมีที่ดินเพิ่มขึ้นถึงหนึ่งร้อยไร่ ในตำบลหมื่นไวน์ ในการทำนาสมัยนั้น พี่น้องของพ่อสนิทก็มาซื้อที่ดินทำนาที่ตำบลหมื่นไวย์ตามพ่อสนิทด้วย ส่งผลทำให้ตระกูลสุวรรณชาติ มีที่นา ที่ดินในบริเวณนี้จำนวนมาก
นายไพโรจน์ เล่าว่าสมัยผมเด็กๆ ภาพที่เห็นพ่อเป็นคนขยันมาก ทำงาน ค้าขาย ทำนา พ่อมีลูกทั้งหมด 9 คน ชาย 5 หญิง 4 ประกอบด้วย 1.น.ส.ชูศรี สุวรรณชาติ 2.นายไพศาล สุวรรณชาติ
3.นายไพโรจน์ สุวรรณชาติ 4.นายปรีชา สุวรรณชาติ 5.น.ส.ศรีสมร สุวรรณชาต 6.น.ส.ประเพ็ญศรี สุวรรณชาติ 7.น.ส.ปณยา สุวรรณชาติ 8.นายประสิทธิ์ สุวรรณชาติ และ 9.นายวิสุทธิ์ สุวรรณชาติ
“พ่อไม่เคยให้ลูกเข้าไปสัมผัสกับชีวิตค้าขาย หรือทำนาเลย พ่อส่งให้ลูกๆ เรียนหนังสืออย่างเดียวพ่อเลี้ยงลูกแบบตามใจ ไม่บังคับ แต่จะสอนให้ลูกเป็นคนดี ตั้งใจเรียน ขยัน อดทน ซื่อสัตย์ สุจริต”
จุดกำเนิดตลาดสุรนคร
นายไพโรจน์ เล่าว่า จุดเปลี่ยนผันจากพ่อค้าเนื้อในตลาด จากเกษตรกรชาวนา สู่เจ้าของที่ดินตลาดสุรนคร เกิดจากแผนพัฒนาเมืองโคราชที่ต้องย้ายตลาดประตูชุมพล หรือตลาดเทศบาลเก่าออกไป พ่อสนิทก็เกิดความคิดว่าถ้าตลาดย้ายออกไปเราจะไปค้าขายที่ไหน เพราะวิถีชีวิตครอบครัวเราอยู่ที่นี้ ทำมาหากินที่นี้มานานแล้ว ไม่สะดวกที่จะย้ายไปค้าขายที่ตลาดใหม่
“พ่อสนิท จึงเกิดความคิดว่าจะทำตลาดเอง บนที่ดิน 40 ไร่กว่า ก็ชักชวนเพื่อนฝูงมาทำตลาดกัน ซึ่งตอนนั้นเท่าที่ผมทราบโรงพยาบาลมหาราชติดต่อพ่อสนิท มาว่าอยากจะขยายพื้นที่โรงพยาบาลเพิ่ม พ่อสนิทก็ได้มีการขายและมีการบริจาคที่ดินให้โรงพยาบาลด้วย ซึ่งปัจจุบันตรงนั้นก็สร้างเป็นตึกหลวงพ่อคูณ”
และตรงนี้เป็นจุดเริ่มต้นให้พี่น้องของพ่อสนิท ได้บริจาคที่ดินส่วนของตนเองที่อยู่ติดกับโรงพยาบาลมอบให้โรงพยาบาล ปัจจุบันได้ก่อสร้างเป็นอาคารที่จอดรถโรงพยาบาลมหาราช
นอกจากนี้ พ่อสนิทและแม่ประกอบ ได้ทูลเกล้ามอบที่ดิน จำนวน 5 ไร่ ทางทิศใต้ของตลาดสุรนคร ให้กับมูลนิธิศูนย์ศิลปชีพฯ ด้วย
หลังจากพ่อสนิท ขายที่ดินส่วนหนึ่งให้โรงพยาบาลมหาราช ก็คิดที่นำเงินจำนวนนี้มาทำตลาดตามความตั้งใจ โดยเริ่มถมดินปรับพื้นที่แล้ว แต่ในจังหวะนั้น ได้มีนักธุรกิจคนหนึ่งสนใจที่จะทำตลาดด้วย ซึ่งก็เป็นพรรคพวกเพื่อนฝูงของพ่อสนิท โดยเสนอเงื่อนไขที่จะเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างตลาดด้วยการแลกกับการเช่าดินที่ดังกล่าวในการดำเนินธุรกิจตลาดแห่งนี้
ซึ่งนักธุรกิจคนนั้น ได้ดำเนินการเช่าพื้นที่ในปีพ.ศ.2532 ได้เพียง 2 ปี นักธุรกิจคนนั้นก็มีปัญหา มีการล้มเลิกบริษัทเก่าแล้วก็มาคุยกับพ่อสนิท ในเรื่องการเช่าที่ดินใหม่เสนอ ว่าให้ทำเป็นนิติบุคล คือ ที่ดินของพ่อและแม่ ให้ลูกไปจดนิติบุคคลในนาม “หจก.อุ้มบุญธุรกิจ” มาเช่าที่ดิน เนื้อที่ 38-40 ไร่ ซึ่งเป็นชื่อพ่อและแม่ร่วมกันแล้วเอาไปให้เช่าช่วงกับ “บริษัท สุรนครเมืองใหม่จำกัด” ซึ่งต่อมาได้มีการฟ้องร้องกันมาเป็นระยะเวลา 27 ปี จนกระทั้งคดีสิ้นสุด เมื่อ 2 ปีที่แล้ว โดยศาลชั้นอุทร ก็การบังคับให้ ให้บริษัท สุรนครเมืองใหม่ จำกัด ออกนอกพื้นที่ และชดใช้ค่าเสียหาย
“ตลาดสุรนคร”สู่ “ตลาดสุรนารี”
นายไพโรจน์ กล่าวต่อว่า เมื่อคคีจบที่ชั้นอุทร ผู้จัดการมรดกก็เข้ามาทำหน้าที่ เข้ามารับพื้นที่ทั้งหมด โดยที่ผู้จัดการมรดก ซึ่งก็มีอายุมาก 60 ปีกันทั้งนั้น ก็ได้มีความคิดให้ลูกๆ ได้ไปจดห้าง จดบริษัท แล้วมาเช่ากับกองมรดกก็มีคนบอกว่าให้หาคนมืออาชีพมาเช่าพื้นที่บริหารดีมั้ย แต่เรากลัวปัญหาแบบเดิมอีก เพราะเราเคยมีประสบการณ์กับเรื่องนี้แล้ว จึงคิดที่จะให้ทายาทมาเช่ากองมรดก บริหารโดยลูกหลานสุวรรณชาติ ทุกคนก็มีงานทำ มีเงินเดือน บริหารตลาดซึ่งเราเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ตลาดสุรนารี” บริหารในนาม บริษัท ตลาดสุรนารี จำกัด ในยุคเจเนอเรชั่น ที่ 3 ของตระกูลสุวรรณชาติ
แหละนี่คือ ต้นกำเนิดตระกูลสุวรรณชาติ เจ้าของที่ดิน “ตลาดสุรนคร โคราช” สู่ “ตลาดสุรนารี โคราช”