โบสถ์กลางน้ำ วัดหมื่นไวย ต.หมื่นไวย อ.เมือง จ.นครราชสีมา 4 เสา 9 ประตู 8 หน้าต่าง ปริศนาธรรม ของการวางผังก่อสร้าง ที่ซ่อนไว้นานถึง 300 กว่าปี สมัยพระนารายณ์มหาราช ซึ่งวันนี้เป็นมรดกทางศิลปะวัฒนธรรม ให้กับคน หมื่นไวย ได้ร่วมกันอนุรัษณ์ และห่วงแหน เพื่อสืบสาน ร่องประวัติศาสตร์ ในวันที่ สส.วัชรพล โตมรศักดิ์ แนะนำให้ เทวัญ ลิปตพัลลภ หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา และอดีตรัฐมนตรี สำนักนายกฯ เดินทางไปพิสูจน์ หลักคำสอนอันเป็นปริศนาธรรม ผ่านกำนัน และ นายก อบต. หมื่นไวย

……………..

โบสถ์กลางน้ำ วัดหมื่นไวย ต.หมื่นไวย อ.เมือง จ.นครราชสีมา 4 เสา 9 ประตู 8 หน้าต่าง ปริศนาธรรม ของการวางผังก่อสร้าง ที่ซ่อนไว้นานถึง 300 กว่าปี สมัยพระนารายณ์มหาราช ซึ่งวันนี้เป็นมรดกทางศิลปะวัฒนธรรม ให้กับคน หมื่นไวย ได้ร่วมกันอนุรัษณ์ และห่วงแหน เพื่อสืบสาน ร่องประวัติศาสตร์ ในวันที่ สส.วัชรพล โตมรศักดิ์ แนะนำให้ เทวัญ ลิปตพัลลภ หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา และอดีตรัฐมนตรี สำนักนายกฯ เดินทางไปพิสูจน์ หลักคำสอนอันเป็นปริศนาธรรม ผ่านกำนัน และ นายก อบต. หมื่นไวย วัดหมื่นไวย เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณปี พ.ศ.2253 โดยบริเวณที่ตั้งวัดในสมัยนั้นเป็นที่พักตั้งด่านของขุนหมื่นไวย จึงตั้งชื่อวัดว่า ‘วัดหมื่นไวย’ เมื่อสร้างวัดเสร็จแล้วก็สร้างเสนาสนะสำหรับพระสงฆ์ได้อาศัยทำกิจวัตรและบำเพ็ญสมณธรรม เมื่อที่อยู่อาศัยทรุดโทรม ชาวบ้านก็ได้ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์ ทำนุบำรุงให้พระสงฆ์ได้มีที่พักอาศัยตลอดมาสำหรับประวัติอุโบสถหลังเก่า ท่านผู้เฒ่าได้เล่าให้ฟังว่า ขรัวพ่อเจ้าวัดบึง (หลวงพ่อเพชร) ซึ่งเป็นตระกูลศรีหมื่นไวย ในขณะที่ท่านอุปสมบทอยู่ ท่านได้สร้างอุโบสถที่วัดบึง 1 หลัง พอทำโบสถ์ที่วัดบึงเสร็จแล้ว ท่านจึงได้มาสร้างโบสถ์ที่วัดหมื่นไวย ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่าน ลักษณะของโบสถ์ของวัดหมื่นไวยเป็นโบสถ์ที่มีเสาสี่เสาเก้าประตู แปดหน้าต่าง มีน้ำล้อมรอบโบสถ์ สร้างเสร็จแล้วก็ได้ให้พระสงฆ์ได้ทำสังฆกรรม และต่อมาโบสถ์ได้ชำรุดทรุดโทรมลงไปตามกาลเวลา ภายในมีอุโบสถเก่าก่อด้วยอิฐถือปูนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 8 เมตร x 12 เมตร ตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ขนาด 3 ห้อง เจาะช่องหน้าต่างขนาดใหญ่ ข้างละ 2 ช่อง ด้านหน้าและหลังก่อเป็นมุขลดชั้นยื่นออกมาทั้ง 2 ด้าน มุขด้านหน้า ด้านทิศตะวันออกก่อผนังทึบเจาะช่องประตูทางเข้า 2 ช่อง ผนังกั้นระหว่างมุขหน้ากับห้องโถงกลางเจาะเป็นช่องประตูทางเข้า 3 ช่อง ที่ผนังกั้นโถงกลางเจาะเป็นช่องประตูเข้าสู่ห้องโถงกลาง ตรงกลางทำเป็นซุ้มปราสาทประดิษฐานเจดีย์ขนาดเล็ก (พระธาตุจุฬามณี) ไว้ภายใน ภายในห้องโถงกลางที่ผนังกั้นมุขตะวันตกก่อเป็นแท่นชุกชีประดิษฐานพระพุทธรูปปางปาลิเยก์ (ปางเลไลยก์) ปูนปั้นลงรักปิดทอง หน้าบันมุขทั้ง 2 ด้าน สลักเป็นลายเครือเถา พระพุทธรูปปางปาลิเยก์ (ปางเลไลยก์) ปูนปั้นลงรักปิดทอง ประดิษฐานในอุโบสถกลางน้ำวัดหมื่นไวย ฐานอุโบสถ ก่อเป็นแนวโค้งที่เรียกตามเชิงช่างว่า “หย่อนท้องช้าง” หรือหย่อนท้องสำเภา ซุ้มหน้าต่างและซุ้มประตูเป็นซุ้มรูปสามเหลี่ยม ลักษณะคล้ายคลึงกับสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย จึงอาจสันนิษฐานไว้ว่า อุโบสถหลังนี้คงสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย ราวพุทธศตวรรษที่ 23 และได้รับการบูรณะสืบเนื่องกันมา หน้าต่างอุโบสถ ทำจากไม้ เคาะดูเสียงดังกังวานคล้ายหิน