บินโดรน นั่งเรือชม วาฬบรูด้า ยักษ์ใหญ่ใจดีแห่งทะเลอ่าวไทย

นั่งชมคลิป ฝีมือการบินโดรนถ่ายภาพทางอากาศ อ.พิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล “หนูน้อยเจ้าเวหา” ประธานสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลอง วิทยุบังคับ และยิ่งได้ลงเรือ ของพี่ มนู อรัญพันธ์ ประธานชมรม วาฬบรูด้า แหลมผักเบี้ย ไปถ่ายภาพ ในช่วงต้นฤดูท่องเทียว ชม วาฬบรูด้า ก็ต้องยกนิ้ว แบบถี่ๆ เพราะ อาจารย์ช่างเทพจริงๆ ในการ จัดระเบียบพื้นที่ในการ ขึ้นลง โดรนกลางทะเล อ่าว ตัว กอ “ก” ของอ่าวไทย

วาฬบรูด้า เป็นวาฬ ประจำถิ่นของอ่าว ไทย มานานแสนนาน เพิ่งมากเป็นที่ฮือฮากันมากๆ ก็ประมาณ 10 ปีที่แล้ว ชมรมชม วาฬบรูด้า แหลมผักเบี้ย ก่อตั้งกันมาเมื่อปี 2552 นำโดยพี่มนู อดีตทหารเรื่องไทย ผู้รักและผูกพันกับ อ่าวไทย ตั้งแต่เล็กๆ แม้นจะไปเป็นทหารเรือ ก็ไปประจำการที่ สัตหีบ วันนี้รับอาสา เป็น ไตก๋ง เรือ ประมงเล็กๆ แต่น้ำใจใหญ่ จริงๆ ที่เจ้าตัวบอกว่า ขับเรือออกตรวจ ตระเวน ดูแล วาฬ มาเป็นสิบปี เพื่อการอนุรักษ์ และให้วาฬได้มีพื้นที่ในการหาอาหาร และสืบพันธุ์ออกลูกหลานได้ มากๆ
แหลมผักเบี้ยเป็นอีก จุดที่มีเรือ พาชมวาฬ โดย ค่าเรือ แบ่งเป็นเหมาลำ และตีรายหัว กรณีมีคนในกลุ่มน้อยๆ การเหมาชมวาฬ ก็คิดเป็นหนึ่งวัน ราคา 5,300 บาท สำหรับ 10 คน ไม่ร่วมค่าอาหาร แต่ถ้ามาเป็นกลุ่มทัวร์ ก็คิดเป็นรายหัว คนละ 750-850 บาท ขึ้นอยู่กับอาหาร และสวัสดิการที่ต้องการเพิ่ม เช่น ค่าประกันภัย อาหาร เครื่องดื่มพิเศษ โดยกำหนดลงเรือก็จะต้องมาถึงสัก 6.30 น. มีเวลาเตรียมตัว 30 นาที กินข้าวเช้า กินกาแฟ ที่จุดสหกรณ์ปู ห้องน้ำสะอาด อาหารอร่อย
สำหรับ วาฬบรูด้า ขนาดเล็ก มีขนาด 15-16 เมตร น้ำหนัก 25-30 ตัน ตัวเมียจะใหญ่กว่าตัวผู้ 1 เมตร ออกลูกๆละมีความยาว 3-4 เมตร จะเดินทางเข้ามากินลูกปลา หรือปลาตัวเล็กบริเวณอ่าวไทย ตัว ก. ซึ่งจะพบเห็นได้ตั้งแต่ชายหาด ประจวบ เพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สมุทรปราการ และชลบุรี นิยมอยู่กันเป็นฝูงเดินทางเข้าออกเป็นประจำทุกปีในฤดู หนาว เป็นช่วยปลายฝนต้นหนาว ที่น้ำระลอกสุดท้ายของปี จะทิ้ง ออกมา ทำให้เป็นช่วยที่มี ปลา หรือลูกปลามาก
อ.พิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล “หนูน้อยเจ้าเวหา” นักบินรุ่นเก๋า ทำงานในการสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็กไทย นานถึง 17 ปี ด้วยการนำศาสตร์ของการบิน และการประดิษฐ์เครื่องบินจำลอง เดินทางทั่วประเทศ ให้ความรู้และส่งเสริมทุนในการศึกษา จนปัจจุบัน เป็นไอดอลของเด็กไทย ในการทำโดรนแปรอักษร เทิดพระเกียรติ ในพระบรมราชาภิเษก ในหลวงราชการที่ 10
สำหรับการมาบิน ชม วาฬบรูด้า ปีนี้เป็น ปีที่ 7 ที่ อ.พิศิษฐ์ ได้เข้ามาเหมือนทุกปี โดยมี ไตก๋ง คือ พี่มนู หางเสือคู่ใจ ที่บอกว่า มาทุกปีได้เห็น การเติบโตของ วาฬบรูด้า ทุกปี แต่ในช่วง แรกๆ จะเห็นเป็นจำนวนมาก จริงๆ อยากให้คนไทยให้ความสนใจ และร่วมกันรักษา ห่วงแหน วาฬบรูด้า สัตว์น้ำที่ใหญ่ที่สุดของ ไทย คล้ายๆ กับช้างที่เป็นสัตว์บก
นำเสนอผลงานของ เจ้าหมูอ้วน “สวัสดี” กับทริป วาฬบรูด้า ไม่เบาเลย
เครดิตคลิปภาพ “หนูน้อยเจ้าเวหา”

//////#jaophoto #siam360

ในช่วงเดือนตุลาคม–ธันวาคม ของทุกปี เป็นช่วงที่ วาฬบรูด้า เข้ามาหากินบริเวณอ่าวรูปตัว ก. ในพื้นที่ทะเลเพชรบุรี ตั้งแต่อ่าวบางตะบูน แหลมผักเบี้ย และหาดเจ้าสำราญ จังหวัดเพชรบุรี

ปัจจุบัน วาฬบรูด้า ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นสัตว์สงวนลำดับที่ 16 ของไทย เป็นสัตว์ทะเลหายาก และมีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ นักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือเพื่อออกไปชมความน่ารักของ วาฬบรูด้า ได้อย่างใกล้ชิด โดยใช้เวลาล่องเรือประมาณ 3-5 ชั่วโมง หากโชคดี นักท่องเที่ยวจะได้เห็นตอน วาฬบรูด้า โผล่หัวขึ้นพ้นน้ำทะเล และอ้าปากกว้างๆ งับปลากะตัก ท่ามกลางฝูงนกนางนวลนับร้อยที่บินวนเวียนอยู่รอบตัว เพื่อรอจิกปลากะตักที่กระโดดหนีให้พ้นปากของ เจ้าวาฬบรูด้า