“โครงการร้อยใจรักษ์” แลนด์มาร์ค จุดเช็คอินท่องเที่ยวใหม่
“บ้านห้วยส้าน” สวรรค์บนดอย
“ร้อยใจรักษ์” ถือเป็นแลนด์มาร์ค จุดเช็คอินการท่องเที่ยวแห่งใหม่ “บ้านห้วยส้าน” กับ “ทุ่งดอกไม้นานาพันธุ์” คอสมอสหลากสี มากาเร็ตรูปหัวใจ สลับกับทุ่งดอกหญ้าเดินผ่านสะพานไม้ไฝ่ขึ้นไป ณ จุดชมวิวจะพบกับ “ทะเลบนดอย” ต้นโกงกาง พืชน้ำเค็มยืนเด่นเป็นสง่า ห้อมล้อมไปด้วยลำพูน ลำแพน สร้างสมดุลได้อย่างงดงาม บนจุดชมวิว 360 องศา”
“โครงการร้อยใจรักษ์” ดำเนินการโดยมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ ครอบคลุมพื้นที่ 37,119 ไร่ 4 หมู่บ้าน และ 20 หย่อมบ้าน ในตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเดิมพื้นที่นี้เคยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของ “นายเล่าต๋า แสนลี่” อดีตราชายาเสพติดทางภาคเหนือ และเป็นที่รู้จักในฐานะเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาการค้าและลำเลียงยาเสพติดอย่างรุนแรง
ภายหลังจากการจับกุมและดำเนินคดีเล่าต๋าแล้ว ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบแผนปฏิบัติการ และอนุมัติหลักการใช้งบประมาณ 1,300 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการร้อยใจรักษ์ พ.ศ.2562-2580 ซึ่งเป็นแผนบริหารจัดการแก้ไขปัญหายาเสพติดชายแดนภาคเหนือแบบเบ็ดเสร็จ โดยใช้ศาสตร์ของพระราชาและตำราแม่ฟ้าหลวงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และอาชีพของประชาชน เช่น การพัฒนาแหล่งน้ำ พัฒนาอาชีพการเกษตร รวมทั้งพัฒนาทางเลือกอื่นที่มุ่งแก้ไขปัญหาในพื้นที่ เช่น การท่องเที่ยว และจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์เป็นทางเลือกของเด็กและเยาวชน โดยมีพื้นที่เป้าหมายในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยเมืองงาม 4 หมู่บ้านหลัก ได้แก่ บ้านเมืองงามเหนือ บ้านห้วยส้าน บ้านหัวเมืองงาม บ้านเมืองงามใต้ และ 20 หมู่บ้านย่อยใน ต.ท่าตอน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ โดยมีหน่วยงานที่ปฏิบัติ ได้แก่ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ และมูลนิธิรากแก้วจึงเกิดเป็น “โครงการร้อยใจรักษ์”
“เพื่อร้อยใจทุกคนเข้ามาร่วมกันทำงานเพื่อความผาสุก มั่นคงและยั่งยืนของชุมชนและสังคม”
โดยวัตถุประสงค์หลักของโครงการ คือ พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ตามศาสตร์พระราชาและตำราแม่ฟ้าหลวง ด้วยการสร้างอาชีพทางเลือกที่สุจริตและหลากหลาย ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ระยะสั้น และวางรากฐานสู่รายได้ที่มั่นคงในระยะยาว เพื่อลดความเสี่ยงในการกลับไปค้ายาเสพติดของคนในชุมชน ควบคู่ไปกับกิจกรรมส่งเสริมด้านสุขภาพ ลดจำนวนผู้เสพผู้ติดยาเสพติด พัฒนาด้านการศึกษา และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืน
และหนึ่งในแนวทางเพื่อสร้างอาชีพที่สุจริตและรายได้ที่มั่นคงให้ชุมชนคือ การพัฒนาการท่องเที่ยว เพราะพื้นที่นี้มีต้นทุนทางธรรมชาติที่สวยงาม ภูเขา ท้องนา ลำธาร น้ำพุร้อน ประกอบกับมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมจากกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ได้แก่ กะเหรี่ยง ลีซอ จีน อาข่า และลาหู่ เป็นสีสันและเอกลักษณ์ของตำบลท่าตอน
โดยแบ่งพื้นที่การท่องเที่ยวเป็น 3 โซน คือ 1. โซน “กาดหลวงร้อยใจรักษ์” เป็นตลาดขายสินค้าและผลิตภัณฑ์ของพี่น้องชนเผ่าทั้งเสื้อผ้า เครื่องประดับ ผลผลิตทางการเกษตร ข้า ฟักทองญี่ปุ่น มะเขือเทศ ขิง ข่า รวมทั้งดอกเก๊กฮวย เปิดขายทุกวัน ส่วนตลาดนัดชนเผ่าจะมีทุกวันอังคาร วันเสาร์
2.โซน “สวนร้อยใจรักษ์” กับทุ่งคอสมอสหลากสีสัน สลับกับสีเหลืองของดอกเก๊กฮวย ดอกหญ้า
3.โซน “ทะเลบนดอย” จุดชมวิวบ้านห้วยส้าน มองเห็นตำบลท่าตอน 360 องศา
“โครงการร้อยใจรักษ์” ถือเป็นแลนด์มาร์ค จุดเช็คอินการท่องเที่ยวแห่งใหม่ “บ้านห้วยส้าน” กับ “ทุ่งดอกไม้นานาพันธุ์” คอสมอส
หลากสี มากาเร็ตรูปหัวใจ สลับกับทุ่งดอกหญ้า เดินผ่านสะพานไม้ไฝ่ขึ้นไป ณ จุดชมวิวจะพบกับ “ทะเลบนดอย” ต้นโกงกาง พืชน้ำเค็มยืนเด่นเป็นสง่า ห้อมล้อมไปด้วยลำพูน ลำแพน สร้างสมดุลได้อย่างงดงาม บนจุดชมวิว 360 องศา”
เปิดเส้นทางการท่องเที่ยวแห่งใหม่กับ “โครงการร้อยใจรักษ์” บ้านหห้วยส้าย ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีถนนใหญ่เชื่อมระหว่างจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายตัดผ่าน หากทำให้นักท่องเที่ยวหยุดแวะเยี่ยมชมได้ก็จะเป็นโอกาสสร้างรายได้ของชุมชน ทั้งจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน อาหารและเครื่องดื่ม โดยใช้วัตถุดิบในพื้นที่ผสมผสานกลิ่นอายวัฒนธรรมท้องถิ่น ตลอดจนบริการด้านท่องเที่ยวต่างๆ เพราะเมื่อชาวบ้านมีรายได้ที่สุจริต มั่นคงอย่างต่อเนื่อง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พึ่งพาตัวเองได้แล้ว พวกเขาจะมีภูมิคุ้มกันต่อปัญหายาเสพติดและสิ่งผิดกฎหมายอื่นๆ สามารถดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีและยั่งยืนได้ต่อไป
สำหรับการเดินทางนั้น หากเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว ระยะทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ใช้ทางหลวงหมายเลข 107 สายเชียงใหม่-ฝาง ผ่านอำเภอ แม่ริม-แม่แตง-เชียงดาว-ไชยปราการ-ฝาง ถึงบ้านท่าตอน อำเภอแม่อาย (สะพานข้ามแม่น้ำกก) ต่อเนื่องยังทาง หลวงหมายเลข 1089 สายแม่จัน – ฝาง เลยโครงการหลวงหมอกจ๋าม ไปไม่ไกล โครงการร้อยใจรักษ์ จะตั้งอยู่ริมถนนขวามือ
#photo by : Thaweechia Jaowattana