“องค์การเภสัชกรรม” ยืนยัน “ยาฟาวิพิราเวียร์” เพียงพอรักษาผู้ป่วยโควิด หากระบาดซ้ำรอบ 2 ย้ำไทยเร่งพัฒนาวัคซีนป้องกัน

วันที่ 19 พ.ค. ที่ศูนย์แถลงข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข ดร.ภญ.นันทกาญจน์ สุวรรณปิฏกกุล ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ องค์การเภสัชกรรม เปิดเผยถึงการจัดหายาในการรักษาผู้ป่วยโควิด19 ในไทย ว่าองค์การเภสัชได้มีการสำรอง ยา ทั้งหมด 7 รายการ ผลิตเอง 5 รายการ ซึ่งมียาที่ใช้ร่วมกัน 7 รายการ โดยองค์การเภสัชกรรมผลิตเอง 5 รายการ ประกอบด้วย

1.ยาคลอโรควิน รักษาโรคมาลาเรีย สำรองไว้ 1.8 ล้านเม็ด

2.ยาต้านไวรัสเอดส์สูตรผสม โลพินาเวียร์ และริโทรนาเวียร์ สำรองไว้ 30.6 ล้านเม็ด

3.ยาต้านไวรัสเอดส์ดารุนาเวียร์ สำรองไว้ 1.9 ล้านเม็ด

4.ยาต้านไวรัสเอดส์ริโทรนาเวียร์ สำรองไว้ 1.9 ล้านเม็ด

5.ยาอะซิโธรมัยซิน ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะใช้รักษาอาการติดเชื้อจากแบคทีเรีย สำรองไว้ 3.4 ล้านเม็ด

ส่วนยาอีก 2 รายการคือ ยาไฮดรอกซีคลอโรควิน ได้จัดซื้อจากผู้ผลิตในประเทศแล้ว 1.09 ล้านเม็ด และยาฟาวิพิราเวียร์ โดยช่วงแรกที่มีการแพร่ระบาดโควิด-19 ประเทศไทย ได้มีการนำเข้า ยาฟาวิพิราเวียร์ไปแล้ว 1แสน 8 หมื่น 7 พันเม็ด จากประเทศญี่ปุ่น และ ประเทศจีน โดยได้กระจายไปแล้วประมาณ1แสนเม็ดให้โรงพยาบาลทั่วประเทศ เหลือสำรองในคลังยา ขององค์การเภสัชกรร ประมาณ 8 หมื่น 7 พันเม็ด โดยจะส่งมอบเพิ่มเติม 3 แสนเม็ด ในเดือนพฤษภาคมจากญี่ปุ่น และจากประเทศจีนอีก 2 แสนเม็ด

“จะทำให้ไทยมีการใช้ยาได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาวกว่า 1 ปี หากมีการระบาดรอบ 2 ยืนยันเพียงพอ โดยคนไข้โควิด-19 1 คนแพทย์จะให้ยาฟาวิพิราเวียร์ประมาณ 70 เม็ด ตลอดระยะการรักษาดร.ภญ.นันทกาญจน์ กล่าว

ดร.ภญ.นันทกาญจน์ กล่าวอีกว่า ขณะที่องค์การเภสัชกรรม ได้มีแผนการวิจัยพัฒนายาฟาวิพิราเวียร์เช่นเดียวกัน ซึ่งอยู่ระหว่างการนำเข้าวัตถุดิบ เพื่อนำมาผลิตยาเม็ดโดยมีขั้นตอนต่างๆ เช่น พัฒนาสูตรตำรับ การขยายขนาดการผลิต เป็นระดับกิ่งอุตสาหกรรม ตั้งเป้าผลิตต้นปี2564 นอกจากนี้ยังได้ ทำการสังเคราะห์วัตถุดิบ ฟาวิพิลาเวียร์ ร่วมกับไบโอเทคประมาณ3-6 เดือน คาดว่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ปี จากนั้นจะนำยาที่ผลิตทดลองในอาสาสมัครที่สุขภาพดี ซึ่งจะทำการเปรียบเทียบยาฟาวิพิราเวียร์จากประเทศญี่ปุ่น ส่วนยาที่องค์การเภสัชกรรมผลิตขึ้น โดยต้นปี 2565 คาดว่าจะสามารถผลิตยาฟาวิพิราเวียร์ในประเทศไทยได้

ขณะที่ความคืบหน้าวัคซีน ดร.ภญ.นันทกาญจน์ ระบุว่า ทั่วโลกได้มีการพัฒนาหลายประเทศ ประเทศไทยก็ได้มีหลายหน่วยงาน ที่ได้มีการศึกษาในสัตว์ทดลอง เช่น จุฬาลงกรณ์ มหาวทิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหิดล โดย สถาบันวัคซีนแห่งชาติ มีการพิจารณานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่มีความพร้อมในการผลิตวัคซีนแล้ว เบื้องต้นจะเป็นในลักษณะซื้อวัคซีนต้นแบบจากต่างประเทศมาพัฒนาต่อคาดจะใช้เวลาสักระยะ

ด้านนพ.อนุพงษ์ สุจริยากุล ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค อธิบายเพิ่มเติม ว่า วัคซีนต้องใช้ระยะเวลา ซึ่งต้องคัดเลือกชนิดของวัคซีนต้นแบบ จากนั้นทดลองในสัตว์ทดลอง หากระยะนี้ผ่านถึงจะไปสู่ระยะคลินิกในคนได้ แบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะ1 ทดลองในจำนวนคนน้อย เป็นอาสาสมัครประมาณ 10 คน เมื่อเข้าสู่ ระยะ2 จะทดลองในอาสาสมัครหลัก 100 เมื่อเฉีดแล้วร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันหรือไม่ และระยะ 3 นำไปทดสอบกับอาสาสมัครจำนวนคนมากๆ เพื่อนำไปสู่การผลิตวัคซีนปกติกแล้วจะใช้เวลาประมาณ 1 ปีถึง 18 เดือน