“สุวัจน์”ขอบคุณ 9 กูรูมืออาชีพเศรษฐกิจ สะท้อนทางออกแก้วิกฤต หลังโควิด 19 พร้องส่งมอบ ศบค.รัฐบาล ด่วน !!!
วันที่ 17 กันยายน 2563 เวลา 10.00 น.โรงภาพยนตร์ พารากอน ซีนีเพล็กซ์ นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และประธานที่ปรึกษา มูลนิธิเพื่อการ พัฒนาการประกอบการธุรกิจและอุตสาหกรรม (วธอ.) กล่าวเปิด งานสัมมนาวิขาการ “วธอ.Talk ทางออกเศรษฐกิจหลังโควิด-19” ว่ามูลนิธิฯ และสถาบัน วธอ.ร่วมกับศิษย์เก่า และวิทยากรผู้บรรยายหลักสูตร วธอ. ทั้ง 6 รุ่นที่ผ่านมา เป็นผู้ที่มีความรู้ มีความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ จากภาคธุรกิจ ร่วมกันระดมความคิดเห็น เพื่อนำเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาผลกระทบอันเนื่องจากโควิด-19 ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน ตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งมูลนิธิฯ และสถาบันฯ โดยได้กำหนดหัวข้อของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบ หรือที่เป็นจุดแข็งของ New Normal ในยุคเศรษฐกิจใหม่ที่ต้องมีการปรับตัว ซึ่งจะแบ่งเป็น 3 ช่วง และดำเนินรายการโดย “ทิน โชคกมลกิจ” ดังนี้
ช่วงแรก อุตสาหกรรมการบิน โดย คุณธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ (ประธานกรรมการบริหาร สายการบินแอร์เอเชีย) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดย คุณปิยะมาน เตชะไพบูลย์ (กรรมการผู้จัดการ กลุ่ม บริษัท เดอะ รีเจ้นท์ กรุ๊ป) อุตสาหกรรมค้าปลีก โดย ดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา (ผู้ช่วย กรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)
ช่วงที่ 2
อุตสาหกรรมยานยนต์ โดย คุณพิทักษ์ พฤทธิสาริกร (ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ปฏิบัติการ บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย))
อุตสาหกรรม พลังงานและเทคโนโลยี โดย คุณสมโภชน์
อาหุนัย (ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร โดย คุณกรพจน์ อัศวินวิจิตร (อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงพาณิชย์)
ข่วงที่ 3
การลงทุน โดย ดร.วีระพงศ์ ไชยเพิ่ม (อดีตผู้ว่าการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) อสังหาริมทรัพย์ โดย คุณธงชัย บุศราพันธ์ (ประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วมบริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จ ากัด (มหาชน) และ SMEs โดยคุณเกรียงไกร เธียรนุกุล (รองประธาน สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)
ภายหลังการสัมมนาจากนักธุรกิจทั้ง 9 คน ใช้เวลาในการะดมความคิดเห็นตั้งแต่เวลา 10.00-13.00 น.
นายสุวัจน์ กล่าวสรุปว่า วันนี้ได้มีการนำเสนอทางออก นำเสนอโอกาส และทางภาครัฐ โดย ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ได้เข้ามาร่วมรับฟังด้วยในฐานะที่เป็นประธานกรรมการ ในคณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการบริหารเศรษฐกิจภายใต้ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ก็มารับฟังความคิดเห็นจากนักศึกษา วธอ.ที้ง 6 รุ่นซึ่งบางเรื่องก็เป็นวิกฤต บางเรื่องก็เป็นโอกาส
แต่วันนี้ภาพรวมโดยสรุปภาคธุรกิจมองว่าแนวนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาเดินมาถูกทางแล้ว อย่างเรื่องนโยบายไทยเที่ยวไทยหรือช่วยเหลือผู้ตกงาน หรือการช่วยเหลือซอฟโลน (Soft Loan) เพียงแต่ว่าบางท่านคิดว่ารายละเอียดของมาตรการมีขั้นตอนเยอะมาก และการดำเนินการของมาตรการต่างๆ ยังห่างจากเป้าหมายเยอะ อย่าง คุณปิยะมาน เตชะไพบูลย์ (กรรมการผู้จัดการ กลุ่ม บริษัท เดอะ รีเจ้นท์ กรุ๊ป) บอกว่าเรื่องการท่องเที่ยวไทยเที่ยวด้วยกันนั่งเครื่องบินไปเที่ยวหรือไปพักที่โรงแรมเตรียมงบประมาณไว้ 5 ล้านคืน แต่ตอนนี้มีคนไปใช้แค่ 8 แสนคืน เพิ่งจะไม่ถึง 15% ส่วนตัวเครื่องบินประมาณไว้ 2 ล้านตั๋ว แต่ตอนนี้เพิ่งใช้ไปหลักหมื่น
คุณปิยะมาน มองว่าภาคการท่องเที่ยวแม้จะประสบปัญหาแต่เราน่าจะถือโอกาสนี้ sestructuring ปรับโครงสร้างสัดส่วนของนักท่องเที่ยวที่เดิมเราพึ่งพานักท่องเที่ยวต่างประเทศอย่างเดียว อย่างมาตรการท่องเที่ยว 3 ล้านล้าน เป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ 2 ล้านล้าน นักท่องเที่ยวในประเทศเพียง 1 ล้านล้านคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ฉะนั้น ถ้าเราจะปรับโครงสร้างสัดส่วนนี้ พอมีวิกฤตอะไรเกิดขึ้นไทยเที่ยวไทยยังอยู่ได้ ฉะนั้น ก็ควรจะมีการส่งเสริมภาพลักษณ์หรือส่งเสริมการท่องเที่ยวทุกแห่งทุกจังหวัดให้เสมือนหนึ่งว่าไม่ใช่เป็นแหล่งท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ แต่คนไทยก็ไปเที่ยวได้อันนี้ ยกตัวอย่าง
นายสุวัจน์ กล่าวต่อว่า กรณีซอฟโลน(Soft Loan) 5 แสนล้าน ที่จะไปช่วย SME วันนี้เพิ่งใช้ไปประมาณ 1 แสนกว่าล้านบาท คือ ทุกอย่างเดินหน้าไปเพียง 15-20% ความล่าช้านี้ก็เกรงกันว่ามันจะไม่ทันกับการฟื้นตัว
ฉะนั้น เม็ดเงินที่เตรียมไว้กับนโยบายเป็นเรื่องที่ดี ซึ่งพวกนักธุรกิจและภาคเอกชนอยากเห็นการขับเคลื่อนที่รวดเร็วและตรงเป้าหมายมากกว่านี้
“ดร.ไพรินทร์ ในฐานะรัฐบาลได้บอกว่า ศบค.ได้มีการประชุมกันและจะเร่งรัดเรื่องต่างๆ ก็ยินดีที่จะรับฟังปัญหาอันนี้ก็เป็นประเด็นที่ทางฝั่งภาคเอกชพูด” สุวัจน์ กล่าวและย้ำว่านักศึกษา วธอ.ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจหลากหลายสาขา ได้นำเสนอโอกาสของประเทศไทย
อย่างเช่น ในเรื่องอุตสาหกรรมยานยนต์ก็บอกว่าในที่สุดแล้วก็ต้องไปให้โอกาสยานยนต์ไฟฟ้า เพราะประเทศไทยก็มีศักยภาพ แต่เราต้องไม่ช้าและถ้าเราเร่งเดินหน้าเรื่องอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า เตรียมแก้ไขปัญหา SME ที่ผลิตชิ้นส่วนที่ไปป้อนให้กับยานยนต์ปกติ มันเป็น SME ที่ผลิตป้อนยานยนต์ที่เดินด้วยไฟฟ้า ในการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งจะต้องมีการแก้ไขปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมคือ Soving Cost หมายความว่าจะมีเงินจากการประหยัดพลังงานมาเยอะเพียงพอที่จะพัฒนาประเทศด้านอื่นๆ
โอกาสที่เราจะผลักดันเรื่องนี้และนี่ก็คือข้อคิดเห็นจาก “สมโภชน์
อาหุนัย (ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)
ส่วนคุณกรพจน์ อัศวินวิจิตร (อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงพาณิชย์) มองว่าโอกาสของประเทศไทยก็คือ เกษตรและอาหาร ทั่วโลกต้องการก็ควรจะมีการเกษตรและอาหารอย่างจริงจัง เรื่องการลดภาษีต้นทุนของวัตถุดิบพวกปู๋ย เพื่อส่งเสริมภาคเกษตรอย่างจริงจัง และผลจากการรวมมือของพี่น้องประชาชนชาวไทย ร่วมมือกันในเรื่องการจัดการโควิด มันจะนำไปสู่ความเชื่อมั่น ว่าเมืองไทยนี้ปลอดภัย เมืองไทย น่าอยู่ เมืองไทยต้องกลับมาเที่ยว บางท่านจะใช้คำว่า “จะโชติช่วงชัชวาล หลังจากที่จบโควิด เศรษฐกิจโดยเฉพาะในเรื่อง การท่องเที่ยว ในเรื่องของ medical hub การท่องเที่ยวของประเทศไทย เรื่องของการส่งออก ด้านเกษตร และอาหาร
นี้คือโอกาสเป็นเรื่องที่เราเสนอแล้วว่าเป็นโอกาส ก็ต้องเตรียมแผนการพัฒนาโอกาส การสร้าง infrastructure การสร้างแผนแม่บท ในต่างๆ และวิกฤตก็ต้องแก้ไขกันไป ก็มีรายละเอียดอีกเยอะ
“ผมคิดว่าเป็นแนวทางที่ดี ทางมูลนิธิและสถาบันฯ จะได้รวบรวม เป็นเอกสารและนำเสนอต่อสาธารณะ และนำเสนอต่อรัฐบาล ก็ถือว่าเป็นการช่วยกันวาระที่ประเทศมีวิกฤต มาช่วยกันทั้งความคิดและความอ่าน ในฐานะที่เราเป็นคนไทยด้วยกัน เพื่อให้ประเทศชาติได้ฝ่าวิกฤตไปด้วยกัน “สุวัจน์ กล่าว