ห้อง ICU โควิด-19 “ลมหายใจเดียวกัน” จากรพ.สนามปิยะเวท สู่ รพ.ราชบุรี มูลค่า 35 ล้านบาท

กลุ่มปตท.ร่วมกับมูลนิธิรพ.บางประกอก รพ.ปิยะเวท ส่งมอบอุปกรณ์การแพทย์ (ห้อง ICU โควิด-19)ให้รพ.ราชบุรี มูลค่า 35 ล้านบาท จำนวน 36 ห้อง

วันที่ 6 กรกฎาคม 2565 เวลา 14.00 น.นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปตท.จำกัด(มหาชน) นายแพทย์วิทิต อรรถเวชกุล กรรมการผู้จัดการ โรงพยาบาลเครือปิยะเวท เป็นประธานพิธีมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ในโครงการ”ลมหายใจเดียวกัน” ให้แก่โรงพยาบาลราชบุรี มูลค่า 35,715,446.98 บาท จำนวน 36 ห้อง รับมอบโดยนายวรวิทย์ กังศศิเทียม ประธานศาลรัฐธรรมมนูญ และนายแพทย์นิคม มะลิทอง รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชบุรี

นายอรรถพล กล่าวว่า กลุ่มปตท.จัดตั้ง”โครงการลมหายใจเดี่ยวกัน” เพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาวิกฤตโควิด-19 ของประเทศ ร่วมเป็นพลังต่อลมหายใจของประชาชน รวมถึงเศรษฐกิจของประเทศให้เดินหน้าต่อไป โดยในระยะแรกได้ส่งมอบเครื่องช่วยหายใจ เครื่องให้ออกซิเจนอัตราไหลสูง กว่า 400 เครื่องพร้อมสนับสนุนออกซิเจนเหลวแก่โรงพยาบาลในพื้นที่วิกฤตในกรุงเทพฯ ปริมณฑลและต่างจังหวัด รวม 300 แห่ง
ต่อมาในเดือนพฤษภาคม 2564 สถานการณ์โควิด-19 ระลอก 3 รุนแรงมาก บริษัทปตท.ฯและบริษัทในกลุ่ม จึงได้ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขและพันธมิตรทางการแพทย์ ได้แก่ มูลนิธิโรงพยาบาลในเครือบางประกอกฯ โรงพยาบาลปิยะเวท จัดตั้ง”หน่วยคัดกรองและโรงพยาบาลสนามครบวงจร (End-to-End) ภายใต้”โครงการลมหายใจเดียวกัน กลุ่มปตท.) ขึ้นเพื่อรองรับจำนวนผู้ป่วยที่ยังคงมีตัวเลขสูงขึ้น กับการตรวจรักษาแบบครบวงจร เป็นต้นแบบภาคธุรกิจจับมือกับภาครัฐ ประกอบด้วย 4 จุดหลักได้แก่ 1.อาคาร EnCo Terminal ถ.วิภาวดี 2.โรงพยาบาลสนาม ผู้ป่วยสีเขียว 3.โรงพยาบาลสนามผู้ป่วยสีเหลือง 4.โรงพยาบาลสนาม ICU ผู้ป่วยสีแดง จัดสร้างบนพื้นที่ 4 ไร่ ด้านหน้าโรงพยาบาลปิยะเวท รองรับผู้ป่วย จำนวน 120 เตียง ลักษณ์ห้องความดันลบ (Negative pressu room) ใช้เทคโนโลยีระบบดิจิตอล สามารถสังเกตอาการผู้ป่วยได้ตลอดเวลา บุคลากรทางการแพทย์พร้อมอุปกรณ์ครบครัน

ดังนั้น เมื่อสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายรัฐบาลประกาศเป็นโรคประจำถิ่น เราจึงเห็นสมควรส่งมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ดังกล่าว ให้กับโรงพยาบาลราชบุรี และโรงพยาบาลอื่นๆ ที่มีความต้องการ เพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ต่อไป

ด้าน นายวรวิทย์ กล่าวว่า ในนามของศาลรัฐธรรมนูญ รู้สึกชื่นชมอย่างยิ่ง ว่าโครงการ “ลมหายใจเดียวกัน” ของ บริษัท ปตท.ร่วมกับมูลนิธิเครือบางประกอก และ รพ.ปิยะเวท ที่จัดโครงการนี้ เป็นการช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ในภาวะที่ยากลำบากถ้าจำได้ในปี 2564 ช่วงโควิด-19 ระบาด มีการขาดแคลน รพ.และอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ขอชื่นชมอย่างยิ่ง เพราะเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระ ดูแลประชาชน ได้ทั่วถึงมากขึ้น เมื่อเสร็จสิ้นโครงการก็ได้มีจิตกุศล ส่งมอบคุรุภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ให้กับโรงพยาบาลต่างๆ เรียกว่า “ธรรมะจัดสรร”

นายวรวิทย์ กล่าวว่าเมื่อ 3 ปีก่อนสถานการณ์โควิด ในฐานะที่ผมได้รับการคัดเลือกจากศาลปกครองสูงสุด ให้มาเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ก็ได้ร่วมกับศาลปกครอง จัดผ้าป่าหาซื้อเครื่องมือแพทย์ให้ รพ.ราชบุรี ขณะนั้นได้เงิน 6 ล้านบาท ได้มอบถวายให้กับ สมเด็จพระสังฆราช ซึ่งท่านประสูติที่จ.ราชบุรี ท่านก็ได้ส่งมอบต่อให้กับรพ.ราชบุรี และมีสถาการณ์โควิดได้หยุดดำเนินการ เมื่อกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งรัฐบาลได้ประกาศให้โควิดเป็นโรคประจำถิ่น ในเดือนกรกฎาคมนี้ ซึ่งผมคิดคำนึงและติดค้างที่รพ.ราชบุรี ที่ยังทำไม่เสร็จครึ่งๆ กลางๆ และคิดว่าอยากจะทำต่อ หลังจากนั้น 2 วัน ทางคุณนก ได้ประสานงานมาช่วยดำนเนินารต่อ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ผมได้พูดคุยและได้ประสานกับคุณหมอวิทิต ภายใน 3 วัน งานนี้ก็สำเร็จ ลุล่วงไปด้วยดี

“เมื่อ 24 มิ.ย.2565 ผมได้พาคณะตุลาการ ไปกราบสักการะสมเด็จพระสังฆราช วันคล้ายวันประสูติ และได้เล่าเรื่องนี้ให้ฟัง ท่านบอกว่ายินดี อย่างยิ่ง และเมื่อเร็วนี้ได้มอบ เครื่องสแกนสมอง มูลค่าเกือบ 6 ล้าน ให้รพ.ราชบุรี ซึ่งสิ่งที่เราได้ทำก็เป็นส่วนหนึ่งที่ตั้งใจทำให้รพ.ราชบุรี และขอบคุณทางมูลนิธิเก้ายั่งยืนด้วย ที่ได้มารับผิดชอบและรับช่วงรับไม้ต่อ ไปติดตั้ง ซึ่งจะเป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายต่างๆ” นายวรวิทย์ กล่าว