ประเพณี ผ้าต่อ ภูเก็ต สืบบุญถึงบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ และวิญญาณเร่ร่อน ในเดือน 10 หรือ สารทจีน ที่ พิพิธภัณฑ์ไทยหัว ภูเก็ต 2020
โดยจัดประมาณ วันสารทจีน เป็นงานที่จัดขึ้นตามความเชื่อของชาวจีน ในประเทศไทยมีการจัดงานนี้ขึ้นในจังหวัดภูเก็ต โดยได้รับอิทธิพลจากชาวจีนที่เข้ามาตั้งรกรากเมื่อร้อยกว่าปีก่อน โดยจัดตั้งแต่วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ตามปฏิทินจันทรคติจีน (ตรงกับเดือน 9 ปฏิทินจันทรคติไทย) ในช่วงเทศกาลดังกล่าวผู้คนจะหาของมาเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ และวิญญาณเร่ร่อนทั้งหลาย
พ้อต่อก้ง กวนอิมไต่ซู ไต่สือเอี้ย พระผู้คุมวิญญาณในพิธีพ้อต่อเดือนเจ็ด
ไต่สือเอี้ย พ้อต่อก้ง กวนอิมไต่สือ คือพระผู้คุมวิญญาณภูตผีปีศาจในพิธีเดือนเจ็ด ประวัติก็สืบเนืองจากในพระสูตรมหายาน โยคะตันตระอัคนีชวาลมุขเปรตพลีโยคกรรม ซึ่งไต่สือเอี้ยก็คือเปรตที่พระอวโลกิเตศวร (เจ้าแม่กวนอิม) แปลงกายมาให้พระอานนท์เห็น นั้นเอง ในพิธีเลยบูชารูปไต่สือเอี้ยเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการเทกระจาด และในความเชื่อคนโบราณกล่าวว่า ไต่สือเอี้ย คือพระยายมราช เลยต้องมาตั้งบูชาเพื่อไม่ให้เหล่าภูตผีแย่งชิงอาหารหรือก่อกวนในปรัมพิธี เทวรูปของพระองค์ทำมาจากโครงไม้ไผ่ ประดับด้วยกระดาษสีสันต่าง ๆ พระวรกายกายสีน้ำเงิน ใส่ชุดเกราะทรงเครื่องแบบจีนเต็มยศ มีพระอวโลกิเตศวร (พระแม่กวนอิม) อยู่บนยอดศีรษะของ ข้างองค์ไต่สือเอี้ย จะมีเทวรูปที่ทำจากกระดาษของยมทูตขาว และยมทูตดำ (หรือบางท้องถิ่น จะเป็นยมทูตขาว กับเจ้าพ่อหลักเมืองแทน)