ตำนานเรื่องเล่า จากกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เกี่ยวกับ สถานีรถไฟสูงเนิน ที่บอกว่า บ้านสูงเนิน เป็นหมู่บ้านที่ปิดทองหลังพระ ชาวบ้านจะช่วยกัน หาไม้ฟืนมา เติมเป็นเชื้อเพลิงให้กับรถจักรไอน้ำในสมัย แรก ที่ รัชกาลที่ 5 ได้สร้างขึ้น และยังเป็นจุดจอดเติมน้ำ เติมฟิื้น รถไฟทุกขบวนวิ่งมาอีสานยุคแรก จะมีเป้าหมายคือ สถานีรถไฟบ้านสูงเนินเชื่อมโยงกับคำตอบ ของครูเจี๊ยบ หรือ ครู พรนิภา ฉะกระโทก ครูประวัติศาสตร์ผู้จุดประกาย การอนุรักษ์ สถานีรถไฟอายุ 120 ปี จูงมือ ผู้ใหญ่บ้าน ต.สูงเนิน อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา น.ส. ประไพวรรณ จันดาพรโสภิต สะท้อน ความเปลี่ยนแปลง และ การเดินทาง อนุรักษ์ เรือนบ้านพัก คนรถไฟ เมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา และยังมั่นคง ต่อสู้ รวมพลังสร้างฝัน ชวนคนสูงเนิน และใกล้เคียง ร่วมกันอนุรักษ์ สถานีรถไฟสูงเนิน ต่อเพื่อนำมา สร้างเศรษฐกิจชุมชม ด้วยการเล่าเรื่อง ผ่านวิถีชุมชน ประวัติศาสตร์ โดยสถานีรถไฟสูงเนิน มี เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน เสด็จมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยรถไฟ และยิ่ง มีรถไฟความเร็วสูงที่กำลังจะเกิดขึ้น คุณรู้ไหมว่า หลักหมุด แรก ของรถไฟความเร็วสูงอยู่ที่ บ้านสูงเนิน ด้วยนะ และเราจะติดตาม นำมาเล่า เกร็ด ความงดงามของชุมชน บ้านสูงเนิน ต่อไป
………………

สถานีรถไฟสูงเนิน แห่งนี้ เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น ได้ดำเนินการก่อสร้างและเปิดให้บริการประชาชนที่ใช้บริการของการรถไฟแห่งประเทศไทยมีอายุกว่า 120 ปี ที่ผ่านมาสถานีรถไฟสูงเนิน เคยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสที่ทั้ง 2 พระองค์ได้เสด็จทางรถไฟพระที่นั่ง และเสด็จประทับ ณ สถานีรถไฟสูงเนิน เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2498 ในโอกาสที่เสด็จเยือน จ.นครราชสีมา เป็นครั้งแรก ซึ่งสร้างความปลาบปลื้มปีติแก่ชาว อ.สูงเนิน เป็นล้นพ้น

นอกจากนี้ความสำคัญของรถจักรไอน้ำขบวนเล็ก มีภารกิจบรรทุกเศษไม้มาใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับหัวรถจักรไอน้ำที่ต้องมาจอดรอต้มน้ำให้เดือด เพื่อใช้เป็นพลังไอน้ำขับเคลื่อนขบวนรถไฟ ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ดำเนินการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ซึ่งสถานีรถไฟสูงเนินแห่งนี้ ก็เป็นหนึ่งสถานีที่ต้องถูกรื้อถอน เพื่อดำเนินการขยายรางรถไฟและการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง ให้เป็นไปตามแผนงานดังกล่าว ต่อไปต้องมีการรื้อถอนอาคารสถานีรถไฟแห่งนี้ด้วย เพื่อเป็นการอนุรักษ์อาคารสถานีรถไฟสูงเนิน ซึ่งมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ทุกภาคส่วนช่วยกันอนุรักษ์สถานีรถไฟสูงเนินแห่งนี้ เพื่อเก็บไว้เป็นอนุสรณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ได้ทำหนังสือขออนุรักษ์อาคารสถานีรถไฟจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และขอใช้พื้นที่เรียบร้อยแล้ว