เปิดงานกิจกรรม 12.12 วันประวัติศาสตร์แห่งการนวดไทย
โดยเครือข่ายอาสาสมัครนวดไทย (อสน.) ร่วมกับ เครือข่ายภูมิปัญญาการนวดไทย 4 ภาค
ขอเชิญชวนทำดีเพื่อพ่อ และร่วมเฉลิมฉลอดง ครบรอบ 1 ปี นวดไทยเป็นมรดกโลก
วันที่ 12 ธันวาคม 2563
คุณสมศักดิ์ กรีชัย ท่านผอ.สำนักงานการนวดไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ให้เกียรติร่วมกิจกรรมและวันประวัติศาสตร์แห่งการนวดไทย และ นพ. ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ ผู้ช่วยอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก
ได้ให้เกียรติเป็นประธานเปิดกิจกรรม
สมาคมนวดแผนไทยจังหวัดเชียงใหม่
ชมรมผู้ประกอบการนวดไทยล้านนา
ชมรมนวดแผนไทยเพื่อสุขภาพจ.กระบี่
ชมรมภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาชุมชน
ผู้แทนและคณะทำงานเมืองอันซานประจำประเทศไทย
บริษัท อิเกิล บิสซิเนส จำกัด
บริษัท พาวเสอร์ทีน จำกัด
บางกอกเนเชอรัลสปาแอนด์รีสอร์ต
ฒ.นันทาสปา
ร่วมกัน ขับเคลื่อนโครงการ อาสาสมัครนวดไทย(อสน.)เพื่อให้มีจิตอาสาทำงานในชุมชน ทั่วทุกภูมิภาคโดยมุ่งหวังสร้างการสร้างแรงบันดาลใจให้กับบุคลากรในวิชาชีพนวดไทยทั้งระบบ ให้มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาทักษะการนวดไทยเพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเอง คนในครอบครัว คนในชุมชน คนในองค์กรต่างๆในท้องถิ่นให้มีสุขภาพที่ดีถ้วนหน้าโดยพึ่งพานวดไทย
ยูเนสโก ประกาศขึ้นทะเบียน “นวดไทย” เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ
ที่ประชุมคณะกรรมการว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intergovernmental Committee for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage) ครั้งที่ 14 ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงโบโกตา ประเทศโคลัมเบีย ได้มีมติให้ขึ้นทะเบียน “นวดไทย” หรือ “Nuad Thai”, “Traditional Thai Massage” อยู่ในบัญชีรายชื่อมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity) ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการอนุรักษ์วัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ปี 2003 ขององค์การยูเนสโก
ยูเนสโก อธิบายความสำคัญต่อหนึ่งว่า “นวดไทย” คือศาสตร์ที่เป็นส่วนหนึ่งของศิลปะวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมของการดูแลสุขภาพแบบไทย ๆ ในรูปแบบที่ไม่ใช้ยาและเป็นการรักษาด้วยตนเอง นวดไทยเป็นศาสตร์เกี่ยวข้องกับบำบัดรักษาด้วยร่างกาย (bodily manipulation) ซึ่งผู้นวดจะช่วยปรับสมดุลพลังและร่างกายของผู้ป่วยเพื่อรักษาความเจ็บป่วยที่เชื่อว่าเกิดจากการอุดตันของการไหลของพลังงานตาม”เส้น”ต่างๆของร่างกาย นวดไทยมีรากฐานมาจากการดูแลตนเองในสังคมชาวนาไทยในอดีต ทุกหมู่บ้านมีหมอนวดซึ่งชาวบ้านจะหันไปหาเมื่อพวกเขาปวดกล้ามเนื้อจากการทำงานในทุ่งนา เมื่อเวลาผ่านไปประสบการณ์เหล่านี้ได้พัฒนาเป็นระบบความรู้อย่างเป็นทางการ ปัจจุบันศาสตร์การนวดไทยได้พัฒนากลายเป็นเป็นอาชีพที่สร้างรายได้อย่างหลากหลาย