“สุจินตนา” ยินดี “80 ปี กมล ทัศนาญชลี“ ณ หอศิลป์ราชดำเนิน

เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2567 นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน นิทรรศการผลงานศิลปะ 80 ปี กมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติ
“ 80 KAMOL TASSANANCHALEE RETRO SPECTIVE” จากอดีตถึงปัจจุบัน ว่ารู้สึกดีใจกับความสำเร็จของอาจารย์กมล ท่านเป็นศิลปินแห่งชาติ เป็นศิลปินร่วมสมัย ทำงานเพื่อประเทศชาติ พัฒนาวงการศิลปะไทยก้าวสู่เวทีโลก มีผลงานหลากหลายมากมาย วันนี้จัดแสดงงาน “80 ปี กมล ทัศนาญชลี “ศิลปินแห่งชาติ”อดีตถึงปัจจุบันจัดได้ยิ่งใหญ่สมกับเป็นศิลปินระดับโลก

ด้าน ดร.กมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติ ปี 2540 วัย 80 ปี
กล่าวว่า ในโอกาสที่ปีนี้ อายุครบ 80 ปี มีความตั้งใจจัดแสดงผลงานทั้งหมดที่ทำมา 60 กว่าปี ภายใต้ชื่อ “ 80 KAMOL
TASSANANCHALEE RETRO SPECTIVE” จากอดีตถึงปัจจุบัน
โดยจัดแสดง 3 แห่ง คือ 1.หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน วันที่ 9 มกราคม – 11 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นการแสดงงานย้อนอดีตจนถึงปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะเป็นงานปติมากรรม ชิ้นใหญ่ๆ
2.หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 16 มกราคม – 18 มีนาคม 2567 เป็นงานประติมากรรม งานที่สะสมไว้ของศิลปินดังของโลก มาร่วมแสดงด้วยบริเวณชั้นล่าง ส่วนชั้นบนจะมีผลงานของศิลปินแห่งชาติที่ผมสะสมไว้และทำงานร่วมกัน ที่ยังไม่เคอยออกแสดงที่ไหน นอกนั้นก็เป็นงานของผมแต่ละยุคสมัย จิตกรรม ประติกรรม ภาพพิมพ์ สื่อผสม เซรามิค และอื่นๆ รวมทั้งภาพถ่าย และ 3. MATDOT ART CENTER วันที่ 19 มกราคม – 19 กุมภาพันธ์ 2567 โดยทั้ง 3 แห่ง จัดแสดงผลงานไม่ซ้ำกัน และจะมีการเวิร์คช้อป ให้นักเรียน นักศึกษา ได้เข้ามาเรียนรูั มีการบรรยายจากศิลปินแห่งชาติ ศิลปินที่มีชื่อเสียง มาสร้างแรงบันดาลใจ

“การจัดแสดงงานครั้งนี้ เป็นผลงานของตนแต่ละยุคสมัยทั้งจิตกรรม ประติกรรม ภาพพิมพ์ สื่อผสม เซรามิค และอื่นๆ รวมทั้งภาพถ่าย เพื่อสะท้อนให้เห็นการเดินทางของศิลปะกว่า 60 ปี เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้เยาวชน นักเรียน นักศึกษา หรือผู้ที่สนใจงานศิลปะได้เรียนรู้และศึกษางานศิลปะต่อไป“อาจารย์กมล กล่าว

ด้าน คุณสุจินตนา จรรยาทิพย์สกุล ประธานมูลนิธิเก้า ยั่ง ยืน กล่าวว่าอาจารย์กมล เป็นศิลปินร่วมสมัยเจอกันเมื่อปี 1985 เวลาผ่านไปเร็วมาก 40 ปี สิ่งที่ประทับใจ คือ อาจารย์เป็นผู้ให้ พยายามสอนเด็กให้ความรู้ เพื่อคนรุ่นใหม่ พยายามสร้างซอฟต์พาวเวอร์ ที่แท้จริงมาตลอด 40 ปี เราร่วมกันสร้างซอฟต์พาวเวอร์ ที่เป็นศิลปะให้มีอยู่คู่ประเทศไทย แล้วก็สร้างเด็กให้มีความคิด ความอ่าน รู้จักงานศิลปะไทย โดยเราช่วยกันให้รู้จักงานนอกและงานใน เมื่อก่อนเรื่องศิลปินไทย ไม่เป็นที่รู้จัก จำได้ว่าตอนนั้นครั้งแรกที่นิวยอร์ก กับหม่อมหลวงตรีทศยุทธ เทวกุล ก็ได้รู้จักศิลปินไทยคนแรกคือ อาจารย์ประเทือง เอมเจริญ ศิลปินแห่งชาติ สมัยนั้นยังหนุ่มๆ อยู่ก็บอกให้เราช่วยโปรโมทงานศิลปะ นี่คือ จุดเริ่มต้นที่จะอยากจะช่วยศิลปินไทย แล้วก็ได้เจอ อาจารย์กมล ซึ่งเป็นศิลปินที่อยู่อเมริกา ก็ได้มีโอกาสคุยกันก่อนที่กระทรวงวัฒนธรรมจะตั้งกระทรวงใหม่ๆ ยังไม่รู้ว่าจะทําอะไรก็เลยมีความคิดว่า อาจารย์อยากจะสร้างเยาวชนให้รู้จักงานศิลปะหรือเรียนรู้งานศิลปะมากขึ้น ให้ไปดูงานเมืองนอกบ้างจะได้มีความคิดความอ่านที่สามารถที่จะทําให้วงกว้างขึ้น หรือมีความคิดกว้างไกลขึ้น
อยู่แต่ในประเทศไทยก็ไม่ค่อยจะรู้ว่าต่างชาติให้ความสัมพันธ์สําคัญกับศิลปะไทยมากแค่ไหน

“ศิลปะที่เจริญรุ่งเรือง นั่นหมายถึงประชาชนที่เจริญรุ่งเรือง ประเทศนั้นเป็นอันดับต่อไป ถ้าเรามีประชาชนที่เข้าใจงาน
ศิลปะสมัยก่อนเราจะเข้าใจว่าต้องเป็นคนมีฐานะถึงจะรู้จักงานศิลปะจริงๆ ไม่ใช่ งานศิลปะควรจะอยู่ในจิตใจของมนุษย์ทุกคนตั้งแต่เกิดจะใช้ศิลปะในการดํารงชีพอย่างไรกับการที่วัฒนธรรมเปลี่ยน ยุคสมัยเปลี่ยน พ่อแม่เข้าใจเรามั้ย ทั้งหมดเป็นศิลปะการใช้ชีวิตและการอยู่ร่วมกัน คือเหมือนกับศิลปะร่วมสมัยที่กําลังพยายามอธิบายว่าศิลปะนั้นอยู่คู่กับเราเสมอ ถ้าเรารู้จักและทําความเข้าใจกับเขา เราจะรู้ว่าทุกคนมีศิลปะในตัวตนเอง แต่เราจะหยิบออกมาใช้อย่างไรนั้น แล้วแต่บุคคลปัจเจก พระพุทธเจ้าที่สําเร็จนั้นท่านก็เป็นปัจเจก งานศิลปะก็เป็นการค้นคว้าชนิดหนึ่ง เหมือนนักวิทยาศาสตร์ สิ่งที่อาจารย์กมล ค้นคว้าทั้งสองซีกโลก คือ ตะวันออกและตะวันตกแล้วมาผสมผสาน รวมเป็นหนึ่งเดียวในตัวของอาจารย์
ก็ขอให้ทุกท่านได้มาชมว่าซีกโลกทั้งสองซีกนี้ คือ โลกทั้งใบของ กมล 80 ปี “

คุณสุจินตนา กล่าวว่า อาจารย์กมล พยายามรวมพระพุทธศาสนาและศาสนาทั่วโลกมาอยู่ในภาพของอาจารย์เหมือนเราจะเห็นความแตกต่างของงานศิลปะที่หลากหลายมาก ซึ่งอาจารย์กมล เป็นผู้หนึ่งที่สร้างงานศิลปะแบบหลากหลาย และสื่อผสมที่น่าตื่นตาตื่นใจ คือ อาจารย์กมล ทําด้วยกําลังใจ กําลังทรัพย์ กําลังกาย ทุกอย่างด้วยตัวตนของท่านเอง ถือว่าเป็นบุคคลที่น่ายกย่อง

“ขอให้อาจารย์กมล ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนา คือ อยากให้ซอฟต์พาวเวอร์ของเมืองไทย ที่แท้จริงนั้นคือ มีศิลปะอยู่ในหัวใจที่งดงาม คือ ศิลปะไทย และศิลปะในซีกโลกตะวันออก ตะวันตกนั้น สามารถรวมเป็นหนึ่งเดียวคือ สุดยอดของศิลปะซึ่งเราสามารถที่จะรวมเป็นหนึ่งเดียวได้ ในการพัฒนาประเทศชาติ เราต้องการเด็กหรือคนรุ่นใหม่ที่ต้องการพัฒนาตัวตนของตัวเองที่แท้จริง เป็นความรัก ความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมในสิ่งในตัวตนที่เกิดมา ในที่อยู่ที่อาศัยทั้งหมด เป็นศิลปะที่เราควรนําเอามาศึกษา และค้นคว้าด้วยตัวเอง อยากให้ทุกท่านได้มีโอกาสมาชื่นชมงานของอาจารย์กมล ที่ทํามาทั้งชีวิตตั้งแต่อายุ 10 กว่าปี ซึ่งตอนนี้อายุ 80 ยังไม่ล้าสมัย ยังคงผลิตผลงานศิลปะร่วมสมัยได้งดงาม”ประธานมูลนิธิฯ กล่าว