“ชัยวัฒน์ วงค์เบญจรัตน์”นครชัยทัวร์
มาตรงเวลากับกู้วิกฤตโคราช

นายชัยวัฒน์ วงศ์เบญจรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท นครชัยทัวร์ จำกัด ให้สัมภาษณ์ว่าธุรกิจรถโดยสารประจำทาง ช่วงโควิดถือว่าหนักหนาสาหัสมาก เพราะจำนวนผู้โดยสารน้อยลง และหยุดการเดินทาง เราต้องปรับตัวและลดต้นทุนให้น้อยที่สุด มิติที่เราคิดจะอยู่รอดได้ก็ต่อเมื่อจำนวนเที่ยววิ่งมันสัมพันธ์กับความต้องการลูกค้า การปรับจำนวนพนักงาน และจำนวนเที่ยววิ่ง

วันนี้เราวิ่ง 30 กว่าเปอร์เซ็นต์ ถ้าเทียบก่อนโควิด ถือว่ายังต่ำมาก ถ้าจะเทียบก่อนโควิดและถ้าจะหวังให้กลับไปถึง 100 เปอร์เซ็นต์ เป็นไปไม่ได้ เนื่องจาก 2 ปีกว่า มีการเปลี่ยนแปลง เรื่องการเดินทางไปมาก เพราะผู้โดยสารปัจจุบัน มีความคิดว่ามีการเดินทางยากลำบาก บางคนก็ซื้อรถเอง และบางบริบท การขนส่งอื่นๆ เข้ามาทดแทนในบางประเด็น ซึ่งเราหวังว่าจะกลับไปให้ได้ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ และเราต้องมีการปรับตัว ด้วยการปรับทรัพยากรที่เรามี และการปรับปรุงขบวนการ การและใช้ตัวรถที่เหลือไปในแนวทางอื่นๆบ้าง ที่เกิดประโยชน์ ซึ่งหลังโควิดเราจะต้องมีการปรับด้วยพฤติกรรมที่เปลี่ยนต้องใช้เวลา ช่วงที่มีการปรับตัวดีขึ้น ก็จะมีหลายตัวมาทดแทน ไม่ว่าทางอากาศ หรือระบบราง ธุรกิจโดยสารประจำทางจะกลับไปเต็มไม่น่าจะได้

สำหรับประเด็นผลกระทบจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นนั้น นายชัยวัฒน์ บอกว่าธุรกิจรถโดยสาร พอน้ำมันขึ้นก็จะไปยื่นขอเรื่องต่อรัฐบาลจริงๆมีสูตรในการคำนวณอยู่แล้ว แต่เหตุผลที่ไปพบภาครัฐ เพราะสูตรไม่ได้บังคับใช้เป็นกิจวัตร เช่นเราเคยคุยกันว่า 6 เดือนปรับทีหนึ่ง หรือ ปีหนึ่งปรับทีหนึ่ง แต่รูปแบบปัจจุบัน ซึ่งบ้านเรารถโดยสายสาธารณะ เป็นเหมือนกับของพี่น้องประชาชนรากหญ้า เป็นความมั่นคงในอดีต ภาครัฐจึงมีการกำกับเป็นพิเศษ เวลาที่จะเปลี่ยนแต่ละครั้ง ก็จะมีการกระทบต่อค่าครองชีพ ก็จะมีการเจรจาต่อรอง ซึ่งในปัจจุบันถ้ามีการปล่อยให้มีการขึ้นลงตามอิสระตามสูตรขึ้นลงที่ถูกต้อง เป็นระยะๆ น่าจะเหมาะสมที่สุด ประชาชนก็น่าจะมีความเข้าใจ

ปัจจุบันเส้นทางในประเทศไทย รถไฟทางคู่ เส้นทางโดยสาร ที่ทับซ้อนกับระบบราง จะได้ผลกระทบแน่นอน แต่ไม่ตาย ซึ่งระบบรางก็ไม่ได้ตอบสนองทุกเวลาเหมือนกับพาหนะทางถนน ซึ่งจะมาเติมเต็มช่วงเวลา ที่ระบบรางตอบสนองไม่ได้
ขนส่งอย่างอื่น ต้องหันมาเป็นการรับช่วงต่อ จากระบบราง ที่เข้าไม่ถึง ซึ่งผมไม่คิดว่า ระบบขนส่งคงไม่ไปสู้กับระบบราง ซึ่งสู้ไม่ได้

นายชัยวัฒน์ กล่าวถึงบทบาทขององค์กรธุรกิจ ว่าปัจจุบันได้พูดคุยและพยายามตกผลึกไปในทิศทางเดียวกัน ผมเชื่อว่าโคราช จะไปได้เร็วและดีกว่าเดิม ซึ่งองค์กรเอกชนก็จะมีนโยบายต่างๆ แต่ในการทำธุรกิจปัจจุบัน เราพยายามที่จะคุยกันเพื่อให้สอดรับกับข้อมูล ว่าธุรกิจอะไรที่มันจะเกิดคือ ธุรกิจอะไร
ส่วนที่สอง เมื่อภาคเอกชนเข็มแข็ง เหนี่ยวแน่น และนโยบายข้อมูลต้องตรงกัน ถ้าไม่ตรงกันก็จะทำให้ช้า หน่วยงานภาครัฐ ก็รับเรื่องจากการตกผลึกจากองค์กรธุรกิจ แล้วคอยผลักดัน
ส่วนที่สาม คือ ภาคการเมืองซึ่งเป็นผู้ควบคุมนโยบาย ซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยผลักดันได้เยอะ อนาคตโคราชจะเติบโต ซึ่งปัจจุบันได้มีการพัฒนาการขนส่ง เข้ามา เราต้องปรับระบบของเราให้กระชับขึ้น

โดยส่วนตัวผมมองว่าก่อนที่เราจะคุยกับใครก็แล้วแต่ ภาคเอกชนต้องมีความชัดเจน และการคุยกันก่อน เช่น ไดร์พอต มีการพูดคุยตั้งสามพื้นที่หลายปีแล้ว บางคนว่าควรจะอยู่บ้านกระโดน ว่าควรจะอยู่ที่ไหน แต่วันนี้ใช้เวลาแค่ 2 เดือนจบ คนที่ชำนาญมากที่สุดคือ สภาอุตสาหกรรม ซึ่ง 10 องค์กรคุยกันว่า ยกให้สภาอุตสาหกรรม เป็นคนหาข้อมูล แล้วกลับมาพูดคุยกับ 10 องค์กร และหอการค้าก็กลับไปคุยกันในส่วนของหอการค้า แล้วกลับมาตกผลึกกันใหม่ และสุดท้ายก็ได้ตัดสินใจว่า จะเป็นที่ไหนที่จะเกิดประโยชน์สูงสุด และผลสุดท้ายเราก็ไปผลักดันที่เดียวกันเลย ไปจังหวัดเราก็จะพูดที่เดียวกัน ไม่เหมือนกับเมื่อก่อน ว่าเก่ง 3 เก่ง 4 เก่งมาพูดไม่เหมือนกัน ปัจจุบันในภาคเอกชน อันนี้แหละดีที่สุด
ส่วนจังหวัดได้รับเรื่องและช่วยผลักดัน
เช่น บางเรื่องที่ผู้ว่าได้ช่วยช่วงโควิด เช่น ศคบ.ได้สั่งมาแบบนี้ จังหวัดน่าจะออกคำสั่งแบบไหน มีข้อกังวลของภาคเอกชนไหม เช่น ที่เราได้รับการนำร่องการเป็นพื้นที่สีฟ้า ทำให้อำเภอเหล่านี้ สามารถขายของได้ หรือเรื่องการฉีดวัคซีนในอำเภอมีความปลอดภัย ท่านผู้ว่าก็ได้ช่วย ซึ่งบรรยากาศปัจจุบันมีบรรยากาศดีขึ้น

นายชัยวัฒน์ กล่าวว่าการพัฒนาเมือง ไม่ว่าเราคุยกันเรื่อง ของ smart city หรือเรื่องการลงทุน ในฐานะผมทำงานในหอการค้า ผมคิดว่าเศรษฐกิจต้องดีเป็นหลัก ถ้าเศรษฐกิจดี ทุกอย่างมันจะกลับมาเอง ซึ่งเงินหมุนเวียนภายจังหวัดมันต้องดีมาก ถ้ามีมากเศรษฐกิจดี ใครก็อยากมาลงทุน ซึ่งวันนี้ภาครัฐสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง เราอยากเป็นเศรษฐกิจพิเศษ เราก็ไปผลักดัน เค้าก็จะกำหนดพื้นที่ และใส่อินฟาสตรัทเจอร์ เข้ามา อันนี้คือ การลงทุนภาครัฐ
ส่วนเอกชนก็ต้องสร้างเศรษฐกิจตัวเองให้ดี ถ้าคนโคราช ค้าขายดี กินดี อยู่ดี มีรายได้เพียงพอ ผมว่าอย่างอื่นก็ดีไปด้วย ส่วนการเติบเต็ม มันคือเติมเรื่องของเทคนิค ความรู้วิชาการต่างๆ เพื่อลดคุณค่า คุณภาพสูงขึ้น

“ไม่ต้องพุดเรื่อง smart city ใน 10 ปีข้างหน้า ไม่ต้องพูด เอาวันนี้ระยะสั้นเราทำให้เศรษกิจเคลื่อนไหวให้ดี โคราชเป็นจังหวัดน่าลงทุนอยู่แล้ว เวลามีงบประมาณอะไร ก็จะมาก่อน ซึ่งโคราชเป็นจังหวัดใหญ่และเป็นประตูสู่อีสาน
ทำยังไงให้เงินไหลเข้ามา

“การท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่ง ที่นำเม็ดเงินเข้ามา คนมาเที่ยวโคราช ทำยังไงให้เค้าใช้มากกว่า 20 บาท ซึ่งเรามีสินค้าที่มีชื่อเสียง เราต้องมีการผลักดัน เราต้องมีวิธีอะไรให้เค้าใช้เงิน 500 บาท เค้าก็ต้องมีการพักคืนหนึ่ง ต้องทำอย่างไร อะไรทำให้เค้านอนคืนหนึ่ง ข้อสอง คนมาเที่ยวเขาใหญ่มากสุดแล้วทำอย่างไร ที่จะให้เค้ามาฝั่งตะวันออก ของอำเภอเมือง ทำยังไงให้ได้รายได้ต่อจากด้านตะวันตก คือ ภาคท่องเที่ยวนำรายได้เข้าสู่โคราช แต่มูลค่ายังต่ำไป ซึ่งเรายังมีการนำสตอรี่น้อยไป
ยิ่งช่วงฟื้นฟูหลังโควิด เราอยากได้เงินจากข้างนอก แล้วทำยังไงให้คนข้างใน มีการใช้จ่ายให้สะพัด ซึ่งหน่วยงานราชการ ช่วยได้ ซึ่งงบประมาณการจัดซื้อจัดจ้างภายในจังหวัดปัจจุบัน มีเท่าไหรและภายนอกเท่าไหร่ วันนี้อยากให้เราใช้จัดซื้อจัดจ้างภายในจังหวัด เพิ่มอีก 30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งพูดคุยของ 10 องค์กร พยายามพูดคุยและผลักดันในเรื่องนี้”นายชัยวัฒน์ กล่าว