ครม.อนุมัติเยียวยาสู้โควิด แจกเดือนละ 5 พัน ลูกจ้าง-อาชีพอิสระไม่อยู่ในระบบ นาน 3 เดือน
โควิด -เยียวยา / เมื่อวันที่ 24 มี.ค. นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลัง นายลวรณ แสงสนิท ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง และนายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร ร่วมกันเปิดเผยถึงมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) ต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ระยะที่ 2
การระบาดของเชื้อไวรัสขยายวงกว้างขึ้น โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของจํานวนผู้ติดเชื้อในประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งมาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 การสั่งปิด สถานที่เป็นการชั่วคราว
เช่น ห้างสรรพสินค้า การระงับการให้บริการของสถานบริการต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และในอีกหลายพื้นที่ การงดกิจกรรม อาทิ การแข่งขันกีฬา งานบันเทิง งานอบรมสัมมนา การแสดงสินค้า เป็นต้น ซึ่งส่งผลกับการดําเนินชีวิตของประชาชน
คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 17 มี.ค.2563 เห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกระทรวงการคลังจัดทํามาตรการให้ความช่วยเหลือเยียวยาที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรเทา ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และให้เศรษฐกิจไทยขับเคลื่อนต่อไปได้
กระทรวงการคลัง รับผิดชอบดูแลเศรษฐกิจไทยในภาพรวม ตระหนัก รับทราบ และเข้าใจถึงความยากลําบากของประชาชนชาวไทยทุกภาคส่วนและไม่นิ่งดูดาย จึงออกมาตรการดูแลและเยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบทั้งประชาชนและผู้ประกอบการอย่างเร่งด่วน โดยยึดหลักการเดิม “ทันการณ์ ตรงเป้าหมาย และชั่วคราวตามจําเป็น” เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชน รวมถึงบรรเทาผลกระทบและเสริมสภาพคล่องให้ ผู้ประกอบการ สามารถผ่านพ้นวิกฤตความยากลําบากไปได้
และเมื่อวันที่ 24 มี.ค.2562 คณะรัฐมนตรีมีมติ เห็นชอบเรื่องมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ระยะที่ 2 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.มาตรการดูแลและเยียวยา “แรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบ ประกันสังคม” ซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ประกอบด้วย 8 มาตรการ ดังนี้
1.1มาตรการชดเชยรายได้แก่แรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบ ประกันสังคมหรือผู้ได้รับผลกระทบอื่นๆ ของการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพื่อช่วยเหลือเยียวยา ให้กับกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวที่ได้รับผลกระทบจากการหยุดประกอบกิจการของสถานประกอบการที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีคนแออัด เบียดเสียด ง่ายต่อการแพร่เชื้อ
เช่น สนามมวย สนาม กีฬา ผับ สถานบันเทิง โรงมหรสพ นวดแผนโบราณ สปา ฟิตเนส สถานบริการอื่น ๆ เป็นต้น หรือผู้ได้รับผลกระทบอื่นๆ
ทั้งนี้ ไม่รวมผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่มีคุณสมบัติครบตามเงื่อนไขการได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจาก สํานักงานประกันสังคม ไม่รวมข้าราชการและข้าราชการบํานาญ และไม่รวมเกษตรกร (กลุ่มเกษตรกรได้รับความ ช่วยเหลืออื่น ๆ จากรัฐบาลอยู่แล้ว)
ทั้งนี้ ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) จะเป็นผู้รับลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการ เป้าหมายรวมทั้งสิ้น 3 ล้านคน โดยการสนับสนุนเงินช่วยเหลือรายละ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน (เม.ย. – มิ.ย.2563) ผ่านการลงทะเบียนแสดงความจํานงตรวจสอบคุณสมบัติและการโอนเงินผ่านระบบ อิเล็กทรอนิกส์ เช่น พร้อมเพย์ตามเลขบัตรประจําตัวประชาชน โอนเข้าบัญชีธนาคาร กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ส่วนวิธีการขอรับความช่วยเหลือจะเป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงการคลังกําหนด
1.2โครงการสินเชื่อฉุกเฉิน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องชั่วคราวในการดํารงชีวิตแก่ประชาชนที่ได้รับ ผลกระทบจากโควิด-19 โดยไม่จําเป็นต้องมีหลักประกัน โดยธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนสินเชื่อวงเงินรวม 40,000 ล้านบาท (ธนาคารออมสิน 20,000 ล้านบาท และ ธ.ก.ส. 20,000 ล้านบาท) วงเงินต่อรายไม่เกิน 10,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ไม่เกินร้อยละ 0.10 ต่อเดือน ระยะเวลากู้ ไม่เกิน 2 ปี 6 เดือน ปลอดชําระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือนรับคําขอสินเชื่อถึงวันที่ 30 ธ.ค.2563
1.3โครงการสินเชื่อพิเศษเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มสภาพคล่องชั่วคราวในการดํารงชีวิตแก่ประชาชน ที่มีรายได้ประจํา โดยมีหลักประกัน โดยธนาคารออมสินสนับสนุนสินเชื่อวงเงินรวม 20,000 ล้านบาท วงเงินต่อรายไม่เกิน 50,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ไม่เกินร้อยละ 0.35 ต่อเดือน ระยะเวลากู้ไม่เกิน 3 ปี รับคําขอสินเชื่อถึงวันที่ 30 ธ.ค.2563
1.4 โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสําหรับสํานักงานธนานุเคราะห์เพื่อช่วยเหลือประชาชน ฐานรากที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการระบาดของโควิด-19 เพื่อช่วยเหลือประชาชน ฐานรากที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 โดยธนาคารออมสินสนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำวงเงินรวม 2,000 ล้านบาท ให้แก่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในนามของสํานักงานธนานุเคราะห์ (สธค.) โดยคิด ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 0.10 ต่อปี และ สธค. คิดดอกเบี้ยจากประชาชนในอัตราไม่เกินร้อยละ 0.125 ต่อเดือน ระยะเวลา 2 ปี
1.5 มาตรการเสริมความรู้ พิจารณาดําเนินการจัดฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะ เสริมอาชีพ เพื่อเสริมสร้างความรู้ให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 หรือผู้ที่สนใจ พร้อมทั้งจัดทํา กิจกรรมเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR)
1.6 มาตรการเลื่อนเวลาการชําระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยเลื่อนเวลาการชําระภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย.2563 เป็นสิ้นสุดวันที่ 31 ส.ค.2563 เพื่อบรรเทาภาระให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น
1.7 มาตรการเพิ่มวงเงินหักลดหย่อนค่าเบี้ยประกันสุขภาพ โดยเพิ่มวงเงินหักลดหย่อน ค่าเบี้ยประกันสุขภาพจากเดิมตามจ่ายจริงไม่เกิน 15,000 บาท เป็นไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับการหัก ลดหย่อนค่าเบี้ยประกันชีวิตและเงินฝากประเภทสงเคราะห์ชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งนี้ ตั้งแต่ปีภาษี 2563 เป็นต้นไป เพื่อให้ประชาชนมีหลักประกันสุขภาพเพิ่มขึ้นและมีภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพลดลง และรัฐสามารถ นํารายจ่ายด้านสาธารณสุขที่ลดลงจากการทําประกันสุขภาพของประชาชนไปช่วยเหลือประชาชนกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ทั้งในด้านสาธารณสุขและด้านอื่น ๆ ได้มากขึ้น
1.8 มาตรการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสําหรับค่าตอบแทนในการเสี่ยงภัยของบุคลากร ทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสําหรับ (1) ค่าตอบแทนเสี่ยงภัยในการเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน ควบคุม และรักษาผู้ป่วยจากโควิด-19 (2) ค่าตอบแทนบุคคลที่มิใช่ข้าราชการหรือข้าราชการ ที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในการให้คําปรึกษาด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อรับมือกับ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ได้รับแต่งตั้งจากกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินที่ ได้รับในปีภาษี 2563 เพื่อสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่มีภาระภาษีสําหรับค่าตอบแทนพิเศษจากการปฏิบัติงานดังกล่าวและมีขวัญกําลังใจในการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น