ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ออกนั่งบัลลังก์ เพื่ออ่านคำวินิจฉัยกรณีที่ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคไทยรักษาชาติ ตามพระราชบัญญติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 92 จากกรณีแจ้งรายชื่อบุคคลเพื่อเสนอแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี 1 รายชื่อ ซึ่งคือ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และเห็นว่า การดำเนินการดังกล่าวเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ทั้งนี้คำวินิจฉัยระบุว่า ศาลได้กำหนดประเด็นไว้ 3 ประเด็น

1.มีเหตุให้สั่งยุบพรรคตาม พ.ร.ป.พรรคการเมืองหรือไม่

2.คณะกรรมการบริหารพรรค จะถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่

3.ผู้เคยดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค จะไปจดทะเบียนพรรคใหม่ ไปจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่หรือไม่ ในกำหนดเวลา 10 ปี

ประเด็นที่ 1 พระบรมวงศานุวงศ์ ย่อมดำรงอยู่เหนือการเมืองตามพระประสงค์พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี 2575 โดยกรรมการร่างรัฐธรรมนูญเห็นชอบทุกประการ กล่าวโดยหลักการพระบรมวงศานุวงศ์ อยู่ในฐานะที่เคารพเพื่อควา มสมัครสมานของเจ้านายและราษฎร พระมหากษัตริย์ จึงอยู่เหนือการเมืองทั้งหลาย

“หลักการพื้นฐานดังกล่าวเป็นเจตนารมณ์ร่วมการสถาปนาการปกครองของไทยในรัฐธรรมนูญแต่เริ่มแรก”

ดังปรากฏในคำวินิจฉัยที่ 6/2543 กรณีกกต.อออกฎเกี่ยวกับการสมัครสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งเคยยื่นคำร้องว่ามีบุคคลใดอยู่ในข่ายยกเว้นกรณีไม่สามารถไปเลือกตั้งได้ โดยศาลวินิจฉัยว่า รัฐธรรมนูญทุกฉบับมีหมวดว่าด้วยพระมหากษัตริย์เป็นการเฉพาะ พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือการเมือง และเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยและธำรงไว้ซึ่งความเป็นกลางทางการเมือง และที่ผ่านมาไม่เคยทรงใช้สิทธิเลือกตั้ง และพระบรมวงศานุวงศ์ที่ใกล้ชิดปฏิบัติหน้าที่แทนพระองค์อยู่เป็นนิจ การไปใช้สิ?ธิเลือกตั้งจึงไม่อยู่ในหลักการอยู่เหนือการเมือง

ศาลรัฐธรรมนูญจึงวินิจฉัยว่า ม.68 ไม่ใช้กับพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์

และสอดคล้องกับหลักการว่าพระมหากษัตตริย์ทรงราชย์แต่ไม่ได้ทรงปกครอง คือเป็นประมุขของรัฐ เป็นบ่อเกิดของความชอบธรรม พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจผ่านสถาบันการเมือง การปกครองระบอบประชาธิไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทย ต่างจากระบอบอื่น เช่นระบอบราชาธิปไตย ที่ทรงใช้อำนาจตั้งพระบรมวงศานุวงศ์ไปปกครอง

การกระทำของพรรคไทยรักษาชาติในการเสนอชื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาฯ เป็นบุคคลที่จะเสนอเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นการกระทำที่เล็งเห็นว่า การปกครองจะเปลี่ยนเป็นการปกครองที่พระมหากษัตริย์เป็นประมุข และใช้อำนาจในการปกครองประเทศ ทำให้หลักการทรงราชย์ได้ทรงปกครองเซาะกร่อนไปโดยปริยาย

อย่างไรก็ตามการใช้สิทธิเสรีภาพต้องอยู่ใต้กฎเกณฑ์ และไม่ส่งผลบั่นทอนหลักการพื้นฐานของรัฐธรรมนูญ ด้วยเหตุนี้ระบอบประชาธิปไตยของนานาอารยะประเทศ จึงมีกลไกการป้องกันการใช้สิทธิเกินของเขตเสมอ

แม้พรรคไทยรักษาชาติจะมีสิทธิในการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่การใช้สิทธิต้องตระหนักว่า จะไม่มีผลกระทบทำลายหลักการของรัฐธรรมนูญ

และต้องระวังไม่ให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นคู่แข่งทางการเมือง และทำให้ความเป็นกลางเสียไป และไม่สามารถทำให้ทรงอยู่ในฐานะที่เป็นศูนย์รวมอีกต่อไป ทำให้การปกครองระบอบอประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อาจต้องเสื่อมโทรมหรือสูญสิ้น

มีความจำเป็นที่พระมหากษัตริย์ต้องอยู่เหนือการเมือง ไม่ให้ฝ่ายใดนำไปใช้ประโยชน์ทางการเมือง แม้ไม่มีบทบญญัติเฉพาะแต่ก็ต้องนำประเพณีมาพิจารณาด้วย

และเมื่อ กกต. มีหลักฐานอันควรเชื่อว่ามีการกระทำล้มล้างการปกครองระบอบอประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือทำให้ได้อำนาจมาโดยไม่ได้วิถีทางที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ หรือกระทำการอันเป็นปฏิปักษ์กับการปกครองระบอบอประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

การล้มล้างหมายถึงการมีเจตนาทำให้สูญสิ้น แต่การเป็นปฏิปักษ์อาจไม่ถึงมีเจตนาถึงทำลายให้สูญสิ้นไป หรือแค่การกระทำที่เซาะกร่อนบ่อนทำลายก็เข้าข่ายการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ได้แล้ว

และตามกฎหมายการเป็นปฏิปักษ์ก็เป็นผลแล้วโดยที่ไม่จำเป็นต้องมีเจตนา อันเป็นรัฐประศาสนนโยบาย เพื่อตัดไฟมิให้โหมกระหน่ำ

ทูลกระหม่อมหญิงฯเป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ และเป็นพระเชษฐภคิณี แต่ยังเป็นสมาชิกของพระบรมจักรีวงษ์

การที่ไทยรักษาชาติทำเช่นนั้น เป็นการกระทำที่วิญญูชนรู้สึกได้ว่านำสถาบันมาใช้ทางการเมืองและเป็นฝักฝ่ายทางการเมือง อันเป็นจุดเริ่มต้นของการเซาะกร่อนบ่อนทำลาย การล้มล้างหมายถึงการมีเจตนาทำให้สูญสิ้น แต่การเป็นปฏิปักษ์อาจไม่ถึงมีเจตนาถึงทำลายให้สูญสิ้นไป หรือแค่การกระทำที่เซาะกร่อนบ่อนทำลายการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีคำสั่งยุบพรรค

ประเด็นที่สอง เมื่อศาลรัฐธรรมนูญไต่สวนแล้วและเชื่อได้ว่าพรรคกระทำการตามวรรคหนึ่ง จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิการสมัครรับเลือกตั้งกรรมกาบริหารพรรคที่อยู่ในวันที่ 8 ก.พ.

เมื่อวินิจฉัยให้เพิกถอนสิทธิแล้ว เห็นว่าการกำหนดเวลาเป็นสิ่งสำคัญของคนที่เข้ามาจึงต้องได้สัดส่วน เมื่อพิจารณาแล้ว ผู้ถูกร้องจึงทำเพียงอาจเป็นปฏิปักษ์ ไม่ถึงขนาดมีเจตนา และเป็นเพียงขั้นตอนการได้มาซึ่งนายกฯ และมีการน้อมรับทันทีที่ได้รับทราบ จึงกำหนดเวลามีกำหนด 10 ปี

และให้กำหนดไม่ให้จดตั้งพรรคใหม่ หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคใหม่มีกำหนด

ขอบคุณข้อมูล / ภาพ / วีดีโอ https://www.facebook.com/PPTVHD36/