นายกฯแถลง 5พันบาท มีจ่ายแค่เดือนเดียว ต้องรอลุ้นพ.ร.ก.เงินกู้1ล้านล้านบาท

วันที่ 15 เมษายน 2563 เวลา 13.25 น. ที่ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ ครั้งที่ 3 โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกนัฐมนตรี นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ส่วนรัฐมนตรีคนอื่นๆ ประชุมผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ประจำแต่ละกระทรวง

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงใจความตอนหนึ่งว่า รัฐบาลเป็นห่วงคนไทยในสภาวะการแพร่ระบาดของไวรัสฌควิด-19 หลายคนเริ่มนำทองคำมาขายเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง แต่ขอให้ทยอยนำทองมาขาย เนื่องจากเรายังไม่รู้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะอยู่กับประเทศไทยอีกนานแค่ไหน

นายกฯ กล่าว ถึงมาตรการเยียวยาประชาชนแต่ละสาขาอาชีพทีไ่ดรับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ว่า ประชาชนเกิดความสับสนเกรงว่าจะไดม่าได้รับเงินเยียวยา จำนวน 5,000 บาท จนเกิดความอลหม่านที่กระทรวงการคลัง รัฐบาลเป็นห่วงและให้ความสำคัญกับทุกอาชีพทีไ่ด้รับผลกระทบ แต่เรามีแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบจำนวน37 ล้านคนมีแรงงานทำอาชีพอิสระ 9 ล้านคน แรงงงานในระบบประกันสังคม จำนวน11 ล้านคน และเกษตรกรอีก17 ล้านคนนี่นังไม่นับรวม นิสิต นักศึกษาที่ได้รับกระทบดังกล่าวด้วย

“ผมเห็นใจและสงสาร ผมร้อนใจมากกว่าท่าน คณะกรรมการทีกำกับดูแลและติดตาม ได้บูรณาการข้อมูล ตรวจสอบการเยียวยา เพื่อให้ทั่วถึง แต่ต้องยอมรับความจริง เงินที่รัฐบาลจะนำมาเยียวยานั้นมาจากงบกลางจำนวน 50,000 ล้านบาท เดิมจะเยียวยา 3 ล้านคน ซึ่งจะเยียวยาได้ 3 เดือน หรือ 15,000 บาทต่อคน แต่เมื่อจำนวนผู้ที่ลงทะเบียนเราไม่ทิ้งกัน.com มีมากถึง 9 ล้านคน ทำให้รัฐบาลมีเงินเยียวยาได้เพียงเดือนเดียว ในจำนวน 9 ล้านคน ” นายกฯ กล่าว

นายกฯ กล่าวอีกว่ากลไลการเข้าถึงการเยียวยาของรัฐบาลเพื่อให้ได้รับเงินจำนวน5,000บาทนั้น รัฐบาลจำเป็นนต้องใช้เงินหลายส่วนส่วนแรก จากการเจียดเงินงบประมาณแต่ละกระทรวงร้อยละ 10 นั้น ต้องเข้าสภาผู้แทนราษฏร และวุฒิสภาคาดว่าประมาณเดือนมิถุนายน 2563จะได้งบประมาณในส่วนนี้100,000ล้านบาท

ส่วนที่2 รัฐบาลออกพ.ร.บ.เงินกู้1ล้านล้านบาท ซึ่งตามขั้นตอนต้องเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ และวุฒิสภา ใช้เวลาหลายเดือน แต่คาดว่าประมาณปลายเดือนเมษายน หรือเดือนพ.ค. 2563

“ยอมรับว่า เรามีแค่ตัวเลขในการเยียวยา แต่ไม่มีเม็ดเงินที่แท้จริง จำเป็นต้องออกกฏหมายมารองรับในการนำมาใช้จ่ายเยียวยาประชาชน