“สุวัจน์” นำชาวราชภัฎโคราช ช่วยชาวโคราชกู้วิกฤติ โควิด-19
ผลิตพยาบาล พัฒนาอาชีพ และช่วยผู้ประกอบการ

เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2564

นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา ได้กล่าวกับคณาอาจารย์ และเจ้าหน้าที่บุคลากรของมหาวิทยาลัย ในโอกาสที่มีการประชุมบุคลากรของมหาวิทยาลัยประจาปีการศึกษา 2564 ร่วมกับ ผศ. ดร.อดิศร เนาวนนท์ อธิการบดี ในหัวข้อ “การปรับตัวของมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมาภายหลังโควิด- 19”
นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ได้กล่าวถึงภาพรวมของสถานการณ์โควิดของประเทศไทย และของจังหวัดนครราชสีมาว่า ความสาเร็จของการแก้ไข คือการที่จะต้องเร่งรัดการได้มาของวัคซีนที่มีจานวนเพียงพอจากทุกแหล่ง และด้วยความร่วมมือจากทุกฝ่าย เพื่อเร่งระดมฉีดให้กับประชาชนทั้งประเทศ เพื่อเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ ที่วางแผนไว้ประมาณ 100 ล้านโดสให้แล้วเสร็จโดยเร็วภายในปีนี้ ยิ่งวัคซีนฉีดเร็ว โควิดก็จะจบเร็ว โควิดจบเร็ว เศรษฐกิจก็จะฟื้นตัวเร็ว ขณะนี้ทุกประเทศทั่วโลกก็ระดมฉีดวัคซีนไปแล้วประมาณ 1,800 ล้านโดส เฉลี่ยวันละ 28 – 29 ล้านโดส ของไทยเราก็ฉีดไปแล้วกว่า 3 ล้านโดส คาดการณ์ไว้ว่าสถานการณ์ด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวกับโควิด-19 น่าจะคลี่คลายได้ภายในสิ้นปีนี้ หลังจากนี้ก็จะเป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับภัยโควิดในปัจจุบัน และปัญหาเศรษฐกิจที่ต้องแก้ไขหลังจากโควิด-19 จบ ซึ่งขณะนี้ก็มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่ใช้จ่ายเงินจาก พรก. กู้เงิน 1.9 ล้านล้านบาท รวมทั้ง พรก.กู้เงินฉบับใหม่อีก 5 แสนล้านบาท ปัญหาเศรษฐกิจขณะนี้ก็คือ ความเดือดร้อนและความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน การตกงาน ผู้ประกอบการขาดทุน เลิกกิจการ รวมทั้งความวิตกกังวลในเรื่องของโรคระบาด เรื่องความเจ็บป่วย การสูญเสียชีวิตต่างๆ

จึงขอให้ ชาวราชภัฎทุกท่านร่วมกันคิดและแสวงหาทางออกในสถานการณ์วิกฤตขณะนี้ และร่วมกันออกไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ประสบปัญหาเดือนร้อนตามบทบาทหน้าที่และเจตนารมณ์ของการก่อตั้งมหาวิทยาลัย เพื่อตอบสนองความต้องการและปัญหาของท้องถิ่น ที่ผ่านมาท่านอธิการบดีและผู้บริหารและนักศึกษาได้ออกไปทาประโยชน์ช่วยเหลือสนับสนุนการแก้ปัญหาโควิดให้กับชาวโคราชเป็นอย่างดี การออกไปช่วยเป็นจิตอาสาร่วมกับโรงพยาบาลมหาราชในการรับลงทะเบียนการฉีดวัคซีน การสนับสนุนคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊กให้กับบุคลากรทางการแพทย์ การออกไปมอบสิ่งเครื่องใช้ที่จาเป็นให้กับผู้ที่เดือดร้อน ในเรื่องเศรษฐกิจก็ออกไปช่วยให้คาแนะนำด้านวิชาการในการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ การออกไปช่วยพัฒนาแหล่งน้ำตกเหวเสมา น้ำตกหินทรายที่สีคิ้ว การจัดทำผังแม่บทของการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรมของวัดบ้านไร่ การเป็นแกนหลักรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยราชภัฎในการผลักดันให้โคราชเป็น GEO PARK เพื่อสร้างโคราชให้เป็นเมืองท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เมื่อโควิดจบพวกเราต้องพร้อมกันออกไปช่วยเรื่องเศรษฐกิจกันต่อ ช่วยคนตกงาน ช่วยสร้างอาชีพให้กับพวกเขา ช่วยเสริมสร้างทักษะและขีดความสามารถให้กับ SMEs และผู้ประกอบการ ให้ยืนอยู่ต่อสู้กับวิกฤตให้ได้ และนอกจากนั้นมหาวิทยาลัยโดยความ
เห็นชอบของสภามหาวิทยาลัยได้มีมติอนุมัติให้มีการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาการขนาดแคลนบุคลากรทางด้านสาธารณสุขให้เพียงพอ เพื่อต่อสู้กับปัญหาการโรคระบาดที่อาจเกิดขึ้นอีก และดูแลสุขภาพให้ชาวโคราช โดยจะเริ่มเปิ ดการเรียนการสอนในปี
การศึกษา 2565 นี้โดยจะรับรุ่นที่ 1 ได้ถึง 72 คน

“ผมขอเชิญชวนชาวราชภัฏโคราช ร่วมมือร่วมใจ ผนึกกำลังกันกับคนชาวโคราชตามบทบาทหน้าที่ของการเป็นสถาบันการศึกษาเพื่อฟันฝ่าวิกฤต COVID-19 ไปด้วยกัน เพื่อความอยู่ดี กินดี ของชาวโคราชตลอดไปครับ”