ตามที่ ค.ร.ม.ได้รับทราบแนวทางการแก้ไขปัญหายางพาราตกต่ำด้วยมาตรการสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐใช้ยางพาราไปดำเนินการ เช่นทำถนน สนามกีฬา อุปกรณ์เครื่องนอน เป็นต้น โดยขอความร่วมมือทุกหน่วยงานทำให้มาตรการเกิดประสิทธิภาพประสบผลสำเร็จ เพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรและประชาชนได้ผลจริง

ซึ่งการดำเนินงานตามโครงการทำถนนงานยางพาราแอสฟัลต์ติกคอนกรีต หรือ ถนนงานดินซีเมนต์ผสมยางพารา ในพื้นที่องค์กรปกครองท้องถิ่น(อปท.)ของแต่ละจังหวัด และ กยท.จัดเตรียมเอกสารรายละเอียดและระเบียบของทางราชการที่เกี่ยวกับโครงการ เช่นรูปแบบ ประมาณการโครงสร้างถนน ประกาศราคากลางของกระทรวงการคลัง สูตรผสมยางพาราที่ใช้สำหรับทำถนน ส่งให้ กยท.จังหวัด เพื่อมอบหรือชี้แจงรายละเอียดให้ ผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่นทราบโดยให้พิจารณาใช้งบประมาณจ่ายขาดเงินสะสมของแต่ละ อปท.มาใช้ในการดำเนินงาน

โดยอนุมัติโครงการ 1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร โดยการสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำน้ำยางพาราไปใช้สร้างถนนพาราซอยด์ซีเมนต์ ทั่วประเทศจำนวน 75,032 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 กิโลเมตร รวมระยะทาง 75,032 กิโลเมตร

– จะทำให้มีการดูดซับน้ำยางออกจากตลาดในปริมาณมาก และจะทำให้ราคายางมีเสถียรภาพมากขึ้นในระยะยาว

– โดยแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการ 1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร จัดทำแผนปฏิบัติงานโครงการ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การยางแห่งประเทศไทย

– ดำเนินโครงการโดยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ตามแผนปฏิบัติงานโครงการปรับปรุงถนนภายในหมู่บ้าน ให้เป็นถนนที่มีการนำยางพารามาเป็นส่วนผสม

– เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของดินให้ดีขึ้น เป็นการกระตุ้นให้เกิดการใช้ยางภายในประเทศ

ทั้งนี้ การสร้างถนนดังกล่าวตามโครงการฯ จะใช้น้ำยางสดปริมาณ 1,440,614.4 ตัน หรือคิดเป็นน้ำยางข้น 720,320.2 ตัน คิดเป็นมูลค่าน้ำยางสดกว่า 1.6 หมื่นล้าน
ขอบคุณ กรมประชาสัมพันธ์