เทวัญ ประธานเปิดติวเข้มแกนนำโคราช ป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด

เทศบาลนครโคราช ติมเข้มแกนนำสุขภาพเสริมทักษะป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด ยาสูบ  และเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ 

วันที่ 30 เม.ย.67 ที่โรงแรมโคราชโฮเตล  อ.เมือง  จ.นครราชสีมา  นายเทวัญ ลิปตพัลลภ  ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี  เป็นประธานเปิดอบรมเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด  ยาสูบ  และเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์  ซึ่งจัดขึ้นโดยทศบาลนครนครราชสีมา  เพื่อให้แกนนำสุขภาพและภาคีเครือข่าย  มีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด ยาสูบ  และเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์  เพื่อคัดกรอง  ค้นหา  ป้องกัน  บำบัด  ฟื้นฟู  และติดตามผู้เสพยาเสพติด  ยาสูบ  และเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์  และเพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพและภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด  ยาสูบ  และเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ 

นายเทวัญ ลิปตพัลลภ  ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี   กล่าวว่า  ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติด ยังคงมีความรุนแรงต่อเนื่อง   รัฐบาลจึงกำหนดให้การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เป็นนโยบายที่สำคัญและเร่งด่วน โดยยึดหลัก “ผู้เสพ คือ ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษา”และ “ผู้ค้า คือ  ผู้ที่ต้องรับโทษตามกระบวนการยุติธรรม ” ซึ่งกำหนดให้เร่งรัดปราบปรามการค้าและป้องกันไม่ให้กลุ่มเสี่ยงเข้าไปเป็นเหยื่อของยาเสพติด โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนในชุมชนและสังคม ให้ร่วมดำเนินการในลักษณะบูรณาการควบคู่กับมาตราการทางกฎหมาย ซึ่งจากสถานการณ์ยาเสพติดในประเทศไทยพบว่าเด็กเยาวชนและประชาชนจำนวนไม่น้อยที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดทั้งเกิดจากความตั้งใจและเกิดจากการหลงผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อีกทั้งปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะทำให้เด็ก เยาวชนและประชาชน มีโอกาสเข้าไปติดยาเสพติดเพิ่มมากขึ้น จากข้อมูลสถิติการก่อเหตุอาชญากรรมของสถานีตำรวจภูธรเมืองนครราชสีมาซึ่งดูแลพื้นที่เขตเทศบาลนครนครราชสีมา ในปีพ.ศ. 2563 (ก่อนสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19) พบว่าสถิติในเรื่องยาเสพติดสูงที่สุดถึง 543 คดี จากทั้งหมด 841 คดี ข้อมูลผู้ป่วยจากกระทรวงสาธารณสุข สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ปี 2564 พบผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ร้อยละ 34.9 เป็นมะเร็งปอดและมะเร็งตับอยู่ใน 5 อันดับแรกของประเทศ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการปฏิบัติตนในการดำเนินชีวิต อิทธิพลทางสังคมสื่อโซเชียลที่เข้าถึงง่ายหลากหลายช่องทางรวมถึงค่านิยมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ทำให้เกิดผลกระทบทางสุขภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจเศรษฐกิจและสังคม.