“หลวงปู่เจริญ ราหุโล” 94 ปี มอง ภพชาติที่มาของ กษัตริย์จากพุุทธกาลมาถึงปัจจุบัน

หลวงปู่เจริญ เล่าเรื่องการเกิด การเห็นในภพอดีตชาติ มองสถาบันยังสืบไปอีกยาวไกล เจ้าอาวาสวัดป่าพระธาตุเขาน้อย อ.บ้านคา จ.ราชบรี

หลวงปู่เจริญ ราหุโล พระกรรมฐานสายวัดป่า ปฏิบัติ อายุ 94 ปี เจริญวัตรด้วยการปฏิบัติ อย่างงดงาม ณ.วัดป่าพระธาตุเขาน้อย อ.บ้านคา จ.ราชบุรี พระเกจิ อีกรูปที่ ยังคงเมตตา และเมตตาสอนแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อการหลุดพ้น และปล่อยวาง

บ่ายของวันที่ 20 มิถุนายน 2564 ที่ หลวงปู่ได้เมตตาอธิบายธรรม การเห็น การเวียนภพชาติ ของกษัตริย์ และมนุษย์ ตั้งแต่ สมัยพุทธกาล มาจนถึง รัตนโกสินทร์ สมัยเป็นมุมมองที่ขอบันทึก เพื่อนำมาเตือนสติ และครองวิถีการดำรงชีวิต ว่าประเทศไทย ยังมีภูมิธรรม แห่งบรรพชน สถาบันพระมหากษัตริย์สืบไป.

 

“หลวงปู่เจริญ ราหุโล” 94 ปี มอง ภพชาติที่มาของ กษัตริย์จากพุุทธกาลมาถึงปัจจุบัน

หลวงปู่เจริญ เล่าเรื่องการเกิด การเห็นในภพอดีตชาติ มองสถาบันยังสืบไปอีกยาวไกล เจ้าอาวาสวัดป่าพระธาตุเขาน้อย อ.บ้านคา จ.ราชบรี

หลวงปู่เจริญ ราหุโล พระกรรมฐานสายวัดป่า ปฏิบัติ อายุ 94 ปี เจริญวัตรด้วยการปฏิบัติ อย่างงดงาม ณ.วัดป่าพระธาตุเขาน้อย อ.บ้านคา จ.ราชบุรี พระเกจิ อีกรูปที่ ยังคงเมตตา และเมตตาสอนแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อการหลุดพ้น และปล่อยวาง

บ่ายของวันที่ 20 มิถุนายน 2564 ที่ หลวงปู่ได้เมตตาอธิบายธรรม การเห็น การเวียนภพชาติ ของกษัตริย์ และมนุษย์ ตั้งแต่ สมัยพุทธกาล มาจนถึง รัตนโกสินทร์ สมัยเป็นมุมมองที่ขอบันทึก เพื่อนำมาเตือนสติ และครองวิถีการดำรงชีวิต ว่าประเทศไทย ยังมีภูมิธรรม แห่งบรรพชน สถาบันพระมหากษัตริย์สืบไป.

……………

ประวัติและปฏิปทา “หลวงปู่เจริญ ราหุโล”

วัดป่าพระธาตุเขาน้อย อ.บ้านคา จ.ราชบุรี

หลวงปู่เจริญ ราหุโล ท่านเคยไปศึกษาธรรมอยู่กับหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงปู่มหาปิ่น ชลิโต หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย เป็นต้น องค์ท่านทิ้งภาระหน้าที่ทางฝ่ายปกครอง ไปอยู่อย่างสันโดษที่วัดป่าพระธาตุเขาน้อย จ.ราชบุรี หลวงปู่เจริญท่านเป็นพระมหาเถระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบรูปหนึ่ง ท่านเป็นพระนักเทศน์ที่แสดงธรรมได้จับจิตจับใจ เป็นพระผู้มีเมตตาธรรมมาก

ชาติภูมิลำเนาเดิม
พระภัทรสีลคุณ (หลวงปู่เจริญ ราหุโล) เกิดเมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๒ ตรงกับวันพระ ที่ตำบลขนาบนาก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช บิดาชื่อ นายหนอน คุ้มขนาบ มารดาชื่อ นางแก้ว รัตนรัตน์ ท่านมีพี่น้อง ๕ คน หญิง ๓ ชาย ๒ ดังนี้ ๑.พี่สาวคนโตชื่อ จีบ ๒.พี่สาวชื่อ จู ๓.พี่สาวชื่อ ลิ้นจี่ ๔.พี่ชายชื่อ จำรูญ ๕.คนสุดท้องชื่อ เจริญ เป็นภิกษุ

โยมแม่เล่าว่าเกิดกลางวัน เวลาพระบิณฑบาต คราวตั้งท้องเกิดนิมิตฝันว่าได้มีดทองคำเล่มหนึ่ง สวยงามเหลืองอร่าม น่าจะได้บวชอยู่เป็นพระ อยู่ในผ้าเหลืองตลอดชีวิต แต่เมื่อเจริญเติบโตแล้ว กลับไม่มีนิสัยเด็กดีติดตัวเลย จนพี่สาวพูดว่า ถ้ามิใช่เป็นลูกแม่เดียวกัน จะไม่สนใจคบด้วยเลย

ท่านเข้าเรียนตามเกณฑ์ ป.๑ มิได้เรียน ป.๒ เรียน ป.๓ ป.๔ ไปเรียนต่อมัธยม ๑ มิได้เรียนมัธยม ๒ แต่เรียนมัธยม ๓ จบลาออกกลับไปอยู่กับบิดามารดา ทำไร่ทำนา

ออกบวช
คัดเลือกทหารแล้วไม่ถูก บิดาการพาไปฝากพระอาจารย์พระครูสังวราภิรัตน์ (สิน จนฺทวณฺโณ) เจ้าอาวาสวัดบางอุดมขณะนั้น ไม่มีแววว่าจะได้บวชอยู่ได้ในพุทธศาสนา จะเป็นเพราะเหตุใด ต้องเล่าความจริงของชีวิต จะบวชเพราะโยมพ่อบอกต้องบวชให้ได้ ๓ พรรษา ๓ ปี จึงลาสิกขาได้ และหาคู่ครองให้ เราต้องการคู่ครองจึงบวช

เจ้าอาวาสไม่รับฝากให้บวช อ้างว่าเด็กนิสัยไม่ดี อยู่ไปจะแหกพรรษา เสียชื่อวัดวาอาราม เสียชื่อพ่อแม่พี่น้อง จะบวชอาจารย์ไม่รับให้บวช พ่อแม่ก็หนักใจ จึงสมกับคำว่า “ตัดหางปล่อยวัด” ไม่ดีเสียหายอะไรก็ถวายวัด ทิ้งวัด แต่วัดมีดีอะไรก็เอาเข้าบ้าน

โยมพ่อ โยมแม่จึงอ้อนวอนว่า “ท่านพระครู นิมนต์รับไว้เถิด เสียหายอะไรค่อยว่ากัน”

ท่านพูดว่า “ถ้าอย่างนั้น จงท่องนวโกวาท และเจ็ดตำนานให้จำ จึงจะให้บวช”

ท่องตลอดก่อนบวช อยู่เป็นนาคเตรียมบวชกว่าเดือน และบังคับว่าเข้าวัดแล้วมิให้เข้าบ้าน นอกจากไปบิณฑบาต

บรรพชาอุปสมบท
ครั้นถึงวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๙๓ อุปสมบทในน้ำ (อุทกุกเขปสีมา) ใช้เรือสองลำต่อกันเอาไม้พาดทำเป็นแพห่างจากฝั่งระยะคนกวักน้ำไม่ถึงในคลองบางหรง ซึ่งแต่ก่อนคลองนี้กว้างใหญ่กว่าปัจจุบันมาก

โดยมี พระครูบริหารสังฆกิจ (เต้ง เขมงฺกโร) เป็น พระอุปัชฌาย์ พระพุทธิสารเถระ เป็น พระกรรมวาจาจารย์ และ พระครูปภัสสรเมธาภรณ์ เป็น พระอนุสาวนาจารย์

พอบวชแล้วเจ้าอาวาสก็ว่า “คุณไปอยู่ห้องนี้” เป็นห้องร้างใครๆ ไม่ชอบอยู่ ห้องร้างก็จริง แต่เคยเป็นห้องสมุดเก่าแก่ มีตู้หนังสือและหนังสือปกขาดอยู่บ้าง ก็เที่ยวเปิดดู

หนังสือเล่มแรก
หนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า มโหสถเผด็จ เป็นหนังสือชาดกเล่มหนาปกแข็ง พิมพ์ก่อนเราเกิด เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าได้เสวยพระชาติเป็นมโหสถ บำเพ็ญปัญญาบารมี ก็เปิดดูสารบัญเรื่องตั้งแต่มโหสถแรกเกิด เติบโต จนถึงพระเจ้าแผ่นดินทดลองสติปัญญาโดยตั้งปัญหาต่างๆ ให้แก้ พออ่านจบก็อ่านอีกราว ๑o เที่ยว ซาบซึ้ง เหลือเกิน

กลับไปบ้านเล่าให้แม่ฟัง แม่ถามว่า “อ้าว นี่เอาความรู้มาจากไหน”
ตอบว่า “ได้มาจากที่อ่านหนังสือในห้องที่อาจารย์ให้อยู่”

“ตอนเดินทางมาอยู่ที่วัดบุปผาราม ก็เอาหนังสือมโหสถเผด็จนี้มาด้วย เพราะกลัวจะลืม และได้เปิดดูอยู่บ่อยๆ แต่พอเที่ยวหลังมา ลืมสนิทเลย ไม่ได้เอามาด้วย หนังสือเล่มนี้หยิบจับไม่ได้แล้ว เป็นหนังสือที่รักมาก ไม่ใช่แค่เรื่องนี้เท่านั้น หนังสืออื่นขาดก็ปะ เหมือนผ้านุ่งผ้าห่มไม่ดีก็เย็บปักถักร้อย บางทีก็เอากาวทาไว้

บวชเรียนอยู่ได้ก็เพราะหนังสือเล่มนี้ ทำให้เกิดปัญญาขึ้นเยอะ รู้เยอะ แล้วก็จำแม่นด้วย จำเรื่องได้ตั้งแต่มโหสถเกิด ปิดตาเล่าได้เลยตั้งแต่เริ่มแรกจนเรื่องสุดท้าย เดี๋ยวนี้ก็ยังจำได้อยู่ ถ้าได้เล่าแล้วก็ต้องเล่ากันเป็นวันเป็นคืนเลย แม่นมาก หนังสือมโหสถทำให้ชีวิตบวชอยู่ได้

ความจริงสมองไม่ใช่ดีนะ อาศัยอ่านซ้ำซาก อย่างเดี๋ยวนี้กำลังอ่านเรื่องพระมาลัยเถระ เป็นของเก่าแก่สมัยนานดึกดำบรรพ์ อ่านมาเที่ยวหนึ่งแล้วที่กรุงเทพฯ มาอยู่ที่นี่ได้อ่านต่อ อ่านแล้วไม่ปล่อยเลยไปทีเดียว ตรงไหนที่ลึกๆ ก็ขีดเส้นแดงไว้ หมั่นทบทวนความจำศัพท์บางอย่างไพเราะ ผ่านหูผ่านตา เช่นว่า เทวคันธีมา (กลิ่นหอมของเทวดา) สวรรณภิงคาร (ที่อุทิศกรวดน้ำแผ่ส่วนบุญ)

หนังสือที่ควรจะศึกษาถือเป็นคลังปริยัติ คือ มิลินทปัญหา วิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรคนี้วิเศษเหลือเกิน ศีลนิเทศน์ สมาธินิเทศน์ ปัญญานิเทศน์

การอ่านหนังสือไม่เคร่งเครียดมากเกินไป พอเครียดก็เดินจงกรมไปมา แล้วก็อ่านต่อ พอเพลียก็นอน นอนก็ไม่ได้กะว่าจะนานเท่าไหร่ นอนหลับเต็มอิ่มก็ตื่นมาอ่านต่อทันที ไม่ได้เลือกเวลาไหน ยิ่งที่นี่สงบ อ่านได้ทั้งวัน อ่านหนังสือไม่ได้ตั้งว่าเช้าหรือเย็น แล้วแต่อารมณ์ ถ้าอารมณ์ดี สมองแจ่มใสก็อ่าน อ่านแล้วก็ต้องเตรียมสมุดเอาไว้”

ชาตินี้ไม่ลาสิกขา
ครั้นบวชได้ ๑ พรรษา รับกฐินแล้ว พี่ชายไปเยี่ยมและพูดว่า “ลาสิกขาได้แล้ว”
ตอบพี่ว่า “ลามิได้ เพราะโยมพ่อพูดไว้ว่าต้องบวชให้ได้ ๓ ปี ไม่ครบ ๓ ปี ลาสิกขาออกมา มิให้เหยียบบันไดบ้าน” และตอบกับพี่ว่า “จำไว้เถิด ชาตินี้จะไม่ลาสิกขา”

พี่ชายพูดว่า “ถอนคำพูดเสีย จะเสียสัจธรรม”
ตอบพี่ว่า “ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป ไม่ลาสิกขาแล้ว”
พี่ชายพูดต่อไปว่า “มรดกของลูกคนสุดท้อง ตกเป็นของท่าน”
ตอบพี่ว่า “พี่ๆ แบ่งกันเองเถิด เราไม่รับมรดก”

ตั้งแต่พรรษาแรกผ่านไปประมาณ ๓ ปี อาจารย์เจ้าอาวาสพูดกับโยมแม่ว่า “แม่แก้ว ฝ่ามือเป็นหลังมือไปแล้ว”

ฝ่ามือเป็นหลังมือ คือ ชั่วสุดๆ แล้วกลับเป็นดี นิสัยโลเลไม่ค่อยได้เรื่องได้ราว ไม่น่าจะบวชอยู่ได้ เหมือนองคุลิมาลไม่น่าจะกลับตัวได้ คนชั่วช้าสามานย์แต่กลับจิตกลับใจกลับตัวเป็นคนดีได้ ไม่น่าเชื่อ