อุทยานฯทับลาน สร้างเม็ดพันธุ์ ผลิตคอนเทนท์ เปิดท่องเที่ยวธรรมชาติ วิถีชุมชน เปลี่ยนพรานสร้างไพร่ร่วมกับTNPC

นายประวัติศาสตร์ จันทร์เทพ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติทับลาน ประธานเปิด “โครงการสร้างคน สร้างภาพ” โดยอุทยานแห่งชาติทับลาน ร่วมกับชมรม Thailand Nature Photo CLUB (TNPC)
ชมรมถ่ายภาพธรรมชาติแห่งประเทศไทย ในระหว่างวันที่ 7-9 กรกฎาคม 2566 โดยมี ดร. ชวาล คูร์พิพัฒน์ ภาควิชาเทคโนโลยีทางภาพและการพิมพ์ จุฬาฯ พร้อมทีมช่างภาพจิตอาสา เจ้าหน้าที่อุทยานฯ นางเกษร ศรีจันทึก ประธานกลุ่มออมทรัพย์
บ้านมั่นคงชนบท ต.บุพราหมณ์ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี และนักเรียนจากโรงเรียนกม.80 และโรงเรียนวังน้ำเขียวพิทยาคม จำนวน 20 คน เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ณ อุทยานแห่งชาติทับลาน

หน.ประวัติศาสตร์ กล่าวว่าดีใจกับเจตนารมณ์ของกลุ่มช่างภาพจิตอาสา TNPC ที่นำความรู้ นำประสบการณ์ มาสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชน เพื่อนำเสนอเรื่องราวความสวยงามของธรรมชาติ ภูมิความรู้ท้องถิ่น ในบ้านเกิดของตัวเอง เพื่อจะสร้างโซเชียลธรรมชาติตัวเล็กที่จะสามารถผลิต เนื้อหาช่วยเป็นไฟฉายให้กับอุทยานฯ ทับลาน จากแนวคิดการปรับพรานให้เป็นพี่เลี้ยงนักท่องเที่ยวนำเอาความสมบูรณ์ของอุทยานฯ ให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยวได้ เกิดความรักษ์ ความหวงแหนและสืบทอดธรรมชาติต่อไป

การเดินทางครั้งนี้หน.ประวัติศาสตร์ มองมิติของความร่วมมืองจากจังหวัดนำร่อง เพื่อหมุนให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน เจ้าหน้าที่ นักท่องเที่ยว ระบบเศรษฐกิจ ที่จะช่วยส่งเสริม และกระตุ้นนักท่องเที่ยว ยิ่งได้รับความร่วมมือกับประชาชน คนในท้องถิ่น โดยเฉพาะเยาวชนที่เริ่มปลูกฝังเมล็ดแห่งความรักษ์ ความเข้าใจ ในธรรมชาติจะทำให้ชุมชนได้ร่วมเดินทางอย่างยั่งยืน

“อุทยานฯทับลาน ได้เตรียมบุคลากร ในการสำรวจสัตว์ป่า ปลูกหญ้า สร้างแหล่งอาหารสัตว์ป่า จัดทำโป่งสัตว์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของปราจีนบุรี โดยมีโครงการเปลี่ยนพราน สร้างไพร จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ขึ้นที่จุดชมวิวผาเม่น- เขาพอก อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี ซึ่งตั้งอยู่บนอุทยานแห่งชาติทับลาน เปลี่ยนจากผู้ล่าให้กลายเป็นผู้ปกป้อง โดยมีองค์กรนักอนุรักษ์ และเครือข่ายจิตอาสาภาคประชาชนเป็นแนวร่วม ในการร่วมกันพัฒนา เป็นแหล่งชมสัตว์ป่า ทั้งฝูงกระทิง โขลงช้างป่า รวมทั้งสัตว์อื่นๆ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจุดชมวิวผาเม่น-เขาพอก ในอดีตเป็นเส้นทางลาดตระเวนของอดีตผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ภายหลังมีการบุกรุกพื้นที่ เจ้าหน้าที่ได้จับกุมตรวจยึดกลับคืนมา และขณะนี้ยังมีการจัดเวรยามออกลาดตระเวน ไม่ให้นายพรานเข้ามาล่าสัตว์ป่า และจะนำพื้นที่มาพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ต่อไป”หน.ประวัติศาสตร์ กล่าว

ดร. ชวาล กล่าวว่าการนำคณะช่างภาพลงพื้นที่ 2 วันเก็บข้อมูลอุทยานฯ มีความพร้อม มีสิ่งที่สามารถต่อยอดให้กับนักท่องเที่ยวได้หลายมิติ แม้นจะติดปัญหาเรื่องแหล่งท่องเที่ยว กระจายพื้นที่กว้างระยะทางห่างกัน แต่ก็สามารถพัฒนาเชื่อมโยงจุดแข็งที่แตกต่างกัน ซึ่งทับลานมีความหลากหลายของธรรมชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเลือกเสพ ได้ตามวัยไม่ว่าจะเป็นเด็ก วัยรุ่น คนทำงาน และผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้รักในการถ่ายภาพจะมีโจทย์ให้มากมายเพราะความยิ่งใหญ่ของพื้นที่กว่าสามหมื่นไร่ อันดับ 2 ของประเทศ มีสัตว์มากมาย อาทิ เสือโคร่ง ช้าง กระทิง เลียงผา เก้ง กวาง, ลิง หมีป่า ที่เดินผ่านด้านบนอุโมงค์จากผืนป่าทับลานไปสู่ป่าเขาใหญ่ โดยเฉพาะหอคอยจุดชมวิวผาเม่น-เขาพอก จุดส่องสัตว์ หรือความสวยงานของน้ำตกสวนห้อม และจุดชมวิวผาเก็บตะวัน เป็นต้น

นอกจาก การช่วยสร้างเยาวชนผู้สร้างคอนเทนท์ท้องถิ่น และการแนะนำการเล่าเรื่องโดยพรานทับลานแล้ว ชมรมถ่ายภาพธรรมชาติฯ จะช่วยเข้ามาบันทึกภาพเพื่อเก็บฐานข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวให้กับอุทยานฯ จะได้นำมาเผยแพร่และเป็นคลังข้อมูลบนโซเชียลมีเดีย รวมทั้งมีเป้าหมายที่จะส่งภาพจัดทำนิทรรศการภาพในช่วงปลายปี 2566 ณ.อุทยานแห่งชาติทับลานต่อไป

@jaophoto2022 TNPC สร้างคน สร้างภาพ กับ อุทยานแห่งชาติทับลาน ครั้งที่ 1 #TNPC#ชมรมถ่ายภาพธรรมชาติแห่งประเทศไทย#อุทยานแห่งชาติทับลาน #ท่องเที่ยวทับลาน#บุพราหมณ์#เที่ยววิถีชุมชน #หน.ประวัติศาสตร์ ♬ เสียงต้นฉบับ - Thaweechai Jao