ลูกจ้างเฮ! กฎหมายคุ้มครองใหม่ ได้สิทธิเพิ่มเพียบ
อีกมีผล 30 วัน
หลังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ผ่านกฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ ให้สิทธิลูกจ้างเพิ่ม 7 ประเด็น ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 4 เมษายน และจะมีผลบังคับใช้ทันที หลังจากนี้ 30 วัน
โดยสาระสำคัญของพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานใหม่ ให้สิทธิลูกจ้างแรงงาน ประกอบด้วย
ข้อ 1 ลากิจธุระจำเป็นได้ค่าจ้าง 3 วันทำงานต่อปี ข้อ 2 ลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์ลาก่อนคลอด หลังคลอดได้ 98 วัน จากเดิม 90 วัน
ข้อ 3 กรณีนายจ้างมีการเปลี่ยนตัว เปลี่ยนนิติบุคคล หากลูกจ้างไม่ยินยอม ก็สามารถรับค่าชดเชยพิเศษโดยหากทำงานมาครบ 20 ปีก็ได้รับ 400 วัน หรือเป็นไปตามข้อที่ 4
ข้อ 4 กรณีเลิกจ้างจะได้รับค่าชดเชยใหม่ ที่เพิ่มเป็น 6 อัตราจาก 5 อัตราคือ
อัตราที่ 1 ลูกจ้างที่ทำงานมาครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปีได้ค่าชดเชย 30 วัน
อัตราที่ 2 ลูกจ้างหากทำงานครบ 1 ปีแต่ไม่ครบ 3 ปี ได้ค่าชดเชย 90 วัน
อัตราที่ 3 ลูกจ้างทำงานครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปีจะได้รับเงินชดเชย 180 วัน
อัตราที่ 4 ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ได้รับเงินชดเชย 240 วัน
อัตราที่ 5 ลูกจ้างทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี ได้เงินชดเชย 300 วัน
อัตราที่ 6 ลูกจ้างทำงานครบ 20 ปีขึ้นไปจะได้รับเงินชดเชย 400 วัน
ข้อ 5 กรณีย้ายสถานประกอบการไปที่อี่น หากลูกจ้างไม่อยากตามไป ก็สามารถบอกเลิกสัญญาจ้างได้ และได้สิทธิชดเชยตาม 6 อัตรา
ข้ 6 กรณีค่าตอบแทน หากนายจ้างไม่จ่ายค่าตอบแทน ในบางอาชีพ ที่ทำงานเกินวลาปกติ ลูกจ้างจะต้องฟ้องขอ โดยของเดิมดอกเบี้ยให้ร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่กฎหมายใหม่ให้ได้สูงสุดถึง 15 เปอร์เซ็นต์ต่อปี
และข้อ 7 ให้สิทธิเท่าเทียมระหว่างหญิงชาย โดยลูกจ้างมีสิทธิเท่าเทียมกันในเรื่องค่าจ้าง ค่าตอบแทน
ดูข้อมูลทั้งหมดได้ที่ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/043/T_0021.PDF?fbclid=IwAR0ZLyGzIYxCx0tSxjOVXs6t-H42JFPRD5gPICfw2kE9G457cHq2xpVo5Gc